น้ำมันไฮดรอลิก \ Hydraulic Oil




น้ำมันไฮดรอลิก

น้ำมันไฮดรอลิก (Hydraulic Oil) ระบบ ไฮดรอลิกเป็นระบบที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุก ประเภท รวมทั้งในงานก่อสร้าง เช่น เครื่องอัดขึ้นรูป เครื่องพับม้วนและตัดแผ่นเหล็ก เครื่องกลึงและเจียระไน เครื่องฉีดพลาสติกและอลูมิเนียม รถตัก รถยก รถขุด ปั้นจั่น และรถแทรกเตอร์ต่างๆ เป็นต้น ระบบนี้จะใช้น้ำมันไฮดรอลิกเป็นสารตัวกลางในการถ่ายทอดหรือเปลี่ยนแปลง พลังงานของของไหลให้เป็นพลังงานกลได้ดีมาก ทั้งในรูปของการเคลื่อนที่ในแนวเชิงเส้นหรือในแนวหมุนเมื่อเปรียบเทียบกับ ระบบอื่นๆ เช่น สามารถหยุดชะงักเมื่อมีการรับโอเวอร์โหลดนานทำงานในลักษณะที่มีโหลดเปลี่ยน แปลง หรืองานที่ต้องการแรงม้ามากๆได้ดี ง่ายต่อการควบคุม และสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของกระบอกสูบหรือมอเตอร์ไฮดรอลิกได้ง่ายและได้ ทุกระดับ เป็นต้น ระบบนี้จะประกอบด้วยส่วนประกอบและอุปกรณ์พื้นฐาน 7 อย่างคือ

 1. ถังพักน้ำมันไฮดรอลิก ทำหน้าที่เก็บน้ำมัน ปรับสภาพน้ำมันให้สะอาดและมีอุณหภูมิพอเหมาะ
ถังน้ำมันไฮดรอลิค
ถังน้ำมันไฮดรอลิค


 2.  ออยล์คูลเลอร์ ทำหน้าที่ระบายความร้อนของน้ำมันในถังพัก เพื่อให้อยู่ในอุญหภูมิที่เหมาะสมกับการใช้งาน มีทั้งที่มีพัดลม กับ สามารถใช้ลมรอบๆตัวเป็นตัวช่วยดึงความร้อนออกจากตัวออยล์คูลเลอร์
ไฮดรอลิค ออยล์คูลเลอร์
ไฮดรอลิค ออยล์คูลเลอร์ / Hydraulic Oil cooler

3. ปั๊มไฮดรอลิก ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานของของไหล
4. วาล์วควบคุมชนิดต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมความดัน ทิศทางการไหล และปริมษรการไหลของน้ำมันไฮดรอลิกในระบบ
5. อุปกรณ์ทำงาน ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานของของไหลให้เป็นพลังงานกล เช่น กระบอกสูบหรือมอเตอร์ไฮดรอลิก
ถังน้ำมันไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค

6. ท่อทางไฮดรอลิก ทำหน้าที่เป็นทางไหลของน้ำมันไฮดรอลิกในระบบ
7. น้ำมันไฮดรอลิก
น้ำมัน ไฮดรอลิกถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของระบบ ถ้าเลือกใช้น้ำมันไฮดรอลิกผิดประเภทหรือไม่เหมาะสมกับอุปกรณ์ในระบบตามที่ บริษัทผู้ผลิตกำหนดก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้และถึงแม้ว่าเราจะเลือใช้ชนิด ของน้ำมันไฮดรอลิกได้อย่างถูกต้องแล้วก็ตาม ในขณะใช้งานก็ยังต้องดูแลบำรุงรักาน้ำมันไฮดรอลิกให้อยู่ในสภาพดี คือสะอาด มีอุณหภูมิพอเหมาะ และเปลี่ยนใหม่เมื่อถึงอายุการใช้งาน รวมทั้งควรตรวจสอบให้มีน้ำมันไฮดรอลิกอยู่ในระดับที่พอเพียงสำหรับการใช้งาน ในระบบอย่างสม่ำเสมอ ระบบจงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำมันไฮดรอลิกเป็นหัวใจของระบบไฮดรอลิก ทำหน้าที่หลักๆ 4 ประการคือ
        1. การ ส่งผ่านกำลัง น้ำมันไฮดรอลิกจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังงานจากจุดหนึ่งไปสู่ อีกจุดหนึ่งในระบบ เพื่อเปลี่ยนแปลงกำลังงานของของไหลให้เป็นกำลังงานกลโดยไม่เกิดความต้านทาน การไหลในระบที่มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการสูญเสียกำลังงานมาก และน้ำมันไฮดรอลิกจะต้องไม่ยุบตัวตามความดันมากเกินไปในขณะทำงาน
        2. การ หล่อลื่น น้ำมันไฮดรอลิกจะต้องทำหน้าที่เป็นตัวช่วยหล่อลื่นและลดแรงเสียดทานระหว่าง ชิ้นส่วนต่างๆ ที่สัมผัสกัน เช่น ฟิล์มของน้ำมันไฮดรอลิกช่วยหล่อลื่นและลดการเสียดสีของผิวสัมผัสระหว่างแกน วาล์วกับผนังภายในตัววาล์ว แผ่นฟิล์มน้ำมันดังกล่าวจะต้องมีความข้นใสพอเหมาะที่จะแทรกซึมเข้าไปใน รเล็กๆ และบริเวณรอยต่อของชิ้นส่วนภายในอุปกรณ์ได้ และสามารถรบน้ำหนักของชิ้นส่วนที่กดทับกันหรือรับแรงกดได้มากนั่นเอง นอกจากนี้ยังต้องมีคุณสมบัติในการลื่นไหลที่ดีด้วย เพื่อช่วยให้การเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเคลื่อนที่ไปได้อย่างคล่องตัว
        3. การ ซีล น้ำมันไฮดรอลิกจะทำหน้าที่เป็นซีลป้องกันการรั่วซึมภายในให้เกิดน้อยที่สุด เมื่อมีความดันเกิดขึ้นในระบบ เนื่องจากอุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิกส่วนมากจะออกแบบให้มีการซีลแบบโลหะต่อโลหะ (Metal to Metal หรือ Metal Seal) และการทำหน้าเป็นตัวซีลนี้จะขึ้นอยู่กับความข้นใสของน้ำมันไฮดรอลิกแต่ละชนิดด้วย
        4. การ ระบายความร้อน น้ำมันไฮดรอลิกจะช่วยระบายความร้อนของระบบโดยการไหลเวียนในขณะทำงาน ซึ่งจะรับการถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ต่างๆ อันเนื่องมาจากการสูญเสียกำลังงานในระบบเข้าสู่ตัวมัน และแผ่กระจายความร้อนนั้นผ่านผนังของถังพักเมื่อไหลลงสู่ถังพัก
คุณสมบัติที่จำเป็นในน้ำมันไฮดรอลิกมีดังนี้
1. มี ความข้นใสพอเหมาะและค่าดัชนีความข้นใสสูง น้ำมันไฮดรอลิกที่มีคุณภาพดีจะต้องมีคาความข้นใสคงที่แม้ว่าอุณหภูมิในการทำ งานจะเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ค่าความข้นใสของน้ำมันไฮดรอลิกยังมีผลต่อการหล่อลื่นระหว่างผิว สัมผัสของอุปกรณ์ต่างๆ กล่าวคือถ้าความข้นใสมากจะป้องกันการสึกหรอได้ดี อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีความข้นใสมากเกินไปก็ไม่เป็นผลดีต่อการหล่อลื่น เนื่องจากทำให้การเคลื่อนตัวของน้ำมันไหลไปมาไม่สะดวก
2. มี จุดข้นแข็งต่ำ น้ำมันไฮดรอลิกที่ดีควรมีจุดข้นแข็งต่ำกว่าอุณหภูมิที่ระบบไฮดรอลิกทำงานและ จุดข้นแข็งนี้จะมีปัญหาก็ต่อเมื่อระบบไฮดรอลิกต้องทำงานในที่ที่มีอุณหภูมิ ต่ำกว่าปกติ
3. คุณภาพของน้ำมันจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงมากนักถึงแม้อุณหภูมิในการทำงานจะสูง
4. มีคุณภาพการหล่อลื่นที่ดี
5. ต้านทานการเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่นได้ดีเยี่ยม
6. มีความคงที่และช่วยให้ไม่สิ้นเปลืองในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันบ่อยๆ
7.  มีคุณภาพคงที่ถึงแม้อุณหภูมิในการทำงานจะเปลี่ยนแปลงมาก
8. สามารถต้านทานการเกิดสนิม
9. ช่วย ป้องกันการกัดกร่อนโลหะ เนื่องจากชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบไฮดรอลิกส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะ ดังนั้นน้ำมันไฮดรอลิกจะต้องไม่มีคุณสมบัติของความเป็นกรดซึ่งจะมีอันตราย ต่ออุปกรณ์ได้
10.  สามารถเข้ากับยาง ซีล ปะเก็น และสีได้เป็นอย่างดี
11. ต้านทานต่อการเกิดฟอง
12. มีความสามารถแยกตัวจากน้ำได้ดี
13. ทนไฟ
14. มีค่าความสามารถในการอัดตัวต่ำ คือน้ำมันไฮดรอลิกต้องไม่ยุบตัวตามความดันเมื่อถูกอัดตัว
15.ไม่จับตัวเป็นก้อนหรือยางเหนียว
16. มีความเสถียร คือไม่เกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่นและไม่เสื่อสลายเพราะความร้อนได้ง่าย
17. สามารถผ่านไส้กรองขนาดละเอียดมากได้ดีโดยไม่เกิดการอุดตัน
น้ำมัน ไฮดรอลิกมีให้เลือกใช้มากมายหลายชนิด การเลือกใช้ให้ถูกต้องจะต้องพิจารณาถึงวิธีการทำงานของระบบเป็นหลัก รวมทั้งสภาพการทำงานของเครื่องด้วย โดยทั่วไปน้ำมันไฮดรอลิกถูกจัดแบ่งตามลักษณะการผลิตตามวัตถุประสงค์การใช้ งานได้ 2 ประเภทคือ ประเภทน้ำมันปิโตรเลียมหรือน้ำมันแร่และประเภทน้ำมันมนไฟ น้ำมันไฮดรอลิกที่กลั่นจากน้ำมันแร่จะมีความข้นใสใกล้เคียงกับน้ำมัน เทอร์ไบน์และประกอบด้วยส่วนผสมที่มีคุณสมบัติที่จำเป็นและต้องการในน้ำมัน ไฮดรอลิก ดังนั้นน้ำมันแร่และน้ำมันเทอร์ไบน์จึงเหมาะสำหรับระบบไฮดรอลิกทั่วไป แต่สำหรับระบบที่อยู่ในสภาพที่มีการรั่วและทำงานในอุณหภูมิสูงหรือน้ำมัน ระเหยได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเผาไหม้ได้ ก็ควรจะใช้น้ำมันไฮดรอลิกประเภทน้ำมันทนไฟ ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์แตกต่างจากน้ำมันปิโตรเลียม ส่วนความสามารถในการทนไฟนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันทนไฟที่ใช้กับระบบ
ชนิดต่างๆ ของน้ำมันไฮดรอลิกดังต่อไปนี้
1. น้ำมันปิโตรเลียม (Petroleum Base Fluids) เป็นน้ำมันที่นิยมใช้กับระบบไฮดรอลิก คุณสมบัตของน้ำมันปิโตรเลียมขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ
- ชนิดของน้ำมันดิบ
- วิธีการและระดับการกลั่น
- สารประกอบที่ใช้
โดย ทั่วไปน้ำมันไฮดรอลิกชนิดนี้มีคุณสมบัติในการหลื่อดีเยี่ยม โดยเฉพาะน้ำมันดิบบางชนิดมีคุณสมบัติในการต้านทานการสึกหรอ ต้านทานการเกิดสนิม ในอุณหภูมิสูงๆทีค่าดัชนีความข้นใสสูงและมีความสามารถในการซีลดีมากอย่างไร ก็ตามข้อเสียที่สำคัญของน้ำมันปิโตรเลียมก็คือเป็นน้ำมันที่ติดไฟ ดังนั้นจึงไม่เหมาะชะใช้กับงานที่อยูใกล้เปลวไฟ เช่น เครื่องหล่อแบบพิมพ์ เตาเผาเหล็ก เพราะถ้าเกิดท่อทางของน้ำมันไฮดรอลิกชนิดดังกล่าวเกิดการแตกหรือรั่ว น้ำมันอาจลุกติดไฟได้
2. น้ำมันทนไฟ (Fire Resistance Fluid) น้ำมัน ไฮดรอลิกชนิดนี้จะใช้ในกรณีที่ระบบต้องทำงานในที่ที่อุณหภูมิสูง หรือในที่ที่อาจจะมีการติดไฟได้ง่ายเมื่อมีการรั่วซึมของน้ำมันในระบบ น้ำมันทนไฟแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ น้ำมันที่ผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์ และน้ำมันที่มีน้ำผสมอยู่
        1. น้ำมันทนไฟประเภทผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์ (Synthetic Fluids) น้ำมันไฮดรอลิกที่ผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์นี้มีอยู่ 2 ประเภทคือ ฟอสเฟตเอสเทอร์ (Phosphate Ester) และโพลีเออร์เอสเทอร์ (Polyor Ester)
คุณสมบัติ ของน้ำมันที่ผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์นี้จะไม่มีส่วนผสมของน้ำอยู่เลย จึงสามารถใช้ได้ดีในขณะอุณหภูมิสูงๆ โดยไม่ทำให้สารประกอบระเหยไป และใช้ได้ดีในระบบที่มีความดันสูงๆ น้ำมันชนิดนี้มีค่าความถ่วงจำเพาะสูงที่สุด (น้ำหนักจึงมากที่สุด) ดังนั้นจึงต้องระวังรักษษท่อดูดของปั๊มให้อยู่ในสภาพดี น้ำมันชนิดนี้มีค่าดัชนีความข้นใสต่ำ คือประมาณ 80 VI ดังนั้นจึงควรใช้ในระบบที่มีอุณหภูมิการทำงานค่อนข้างคงที่เท่านั้น
นอก จากนี้ราคาของน้ำมันชนิดนี้ยังจัดว่าสูงที่สุดในบรรดาน้ำมันที่ใช้ในระบบ ไฮดรอลิก แต่น้ำมันชนิดนี้ไม่เหมาะกับซีลชนิดบูน่าร์-เอ็นและนีโอพรีน ดังนั้นถ้าเปลี่ยนมาใช้น้ำมันประเภทนี้จะต้องเปลี่ยนซีลที่มีอยู่เสียก่อน
ข้อแนะนำในการใช้น้ำมันประเภทสารเคมีสังเคราะห์มีดังนี้คือ
1.1      ฟอสเฟตเอสเทอร์ มีข้อสังเกตในการใช้งานดังนี้
        - ใช้ปั๊มที่เหมาะกับน้ำมันชนิดนี้
        - ความเร็วระบบที่ขับปั๊มไม่ควรเกิน 1200 รอบต่อนาที
        - ใช้สเตรนเนอร์ในท่อดูดที่มีอัตราการไหลตั้งแต่ 3 เท่าขึ้นไปของอัตรจ่ายของปั๊ม
        - ระดับน้ำมันในถังพักควรต่ำกว่าช่องต่อทาวเข้าปั๊มประมาณ 80 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แรงต้านทานการไหลในท่อดูดของปั๊มเพิ่มขึ้น
        - หลีก เลี่ยงการใช้ข้องอหรือข้อต่อแบบ 90 องศาในท่อทางดูดของปั๊ม เพื่อป้องกันไม่ให้แรงต้านทานการไหลในท่อดูดของปั๊มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ท่อดูดควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับช่องทางออกของปั๊มด้วย
         - ไม่ควรใช้สีทาภายในถังพัก
        - ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เคลื่อนไหวในระบบไม่ควรทำจากอะลูมิเนียม
        - ต้องระวังไม่ให้น้ำปะปนลงในน้ำมัน
1.2 โพลีเออร์เอสเทอร์ มีข้อสังเกตในการใช้งานดังนี
        -  ไม่ควรใช้สีประเภทฟีโนลิกเรซิน (Phenolic resin) ทาภายในถังพัก
        -   ห้ามใช้สารที่ทำจากยางบิวทิล (butyle)
2. น้ำมันทนไฟประเภทน้ำมันที่มีน้ำผสมอยู่ (water containing fluids) น้ำมันประเภทนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ ประเภทน้ำมันผสมไกลคอล (water-glycol type fluids) ประเภทมีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าน้ำมัน (water in oil type emulsions) และประเภทมีน้ำอยู่น้อยกว่าน้ำ (oil in water type emulsions)
2.1 น้ำมัน ประเภทน้ำผสมไกลคอล น้ำมันประเภทนี้ประกอบด้วยน้ำ 35-40 เปอร์เซนต์เพื่อเป็นสารต้านการติดไฟ ไกลคอลและสารประกอบจากน้ำที่เป็นยางเหนียวจะทำให้เกิดความหนืด นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่นที่ช่วยป้องกันการเกิดฟอง การเกิดสนิม การผุกร่อน และช่วยในการหล่อลื่น
น้ำมัน ประเภทนี้โดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติที่ดีในการต่อต้านการผุกร่อน แต่เนื่องจากมีน้ำหนักมากจึงทำให้เกิดการสุญญากาศมากในท่อดูดของปั๊ม จึงไม่เหมาะที่จะใช้กับระบบที่มีอุปกรณ์ทำด้วยสังกะสี แคดเมียม และแมกนีเซียม ส่วนซีลที่ไม่เหมาะสมกับน้ำมันประเภทนี้คือซีลที่ทำจากหนังและไม้ก๊อก ซึ่งจะดูดซึมน้ำที่อยู่ในน้ำมันได้ ดังนั้นจึงควรใช้ซีลที่ทำจากสารประกอบทางเคมีแทน
ข้อเสียของน้ำมันประเภทนี้ ได้แก่
        - ในระหว่างการใช้งาน จะต้องคอยตรวจสอบปริมาณของน้ำในน้ำมันให้อยู่ในระดับพอเหมาะเพื่อรักษาค่าความข้นใสของน้ำมันให้คงที่อยู่เสมอ
        - การระเหยของน้ำในน้มันอาจทำให้สารประกอบบางอย่างระเหยไปด้วย ซึ่งจะทำให้น้ำมันและอุปกรณ์บางอย่างมีอายุการใช้งานสั้นลง
         - อุณหภูมิในการทำงานจะต้องอยู่ในระดับต่ำ
         - มีราคาสูง
สำหรับ ระบบที่ใช้น้ำมันปิโตรเลียมมาก่อนแล้วจะเปลี่ยนมาใช้น้ำมันประเภทนี้ จะต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ทั้งหมดให้ดี รวมทั้งเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ทำจากสังกะสีหรือแคดเมียมด้วย
ข้อแนะนำในการใช้น้ำมันประเภทน้ำผสมไกลคอลมีดังนี้
- ใช้ปั๊มชนิดพิเศษที่เหมาะกับน้ำมันที่มีน้ำผสมอยู่
-  ความเร็วรอบที่ใช้ขับปั๊มไม่ควรเกิน 1,200 รอบต่อนาที
- อุณหภูมิของน้ำมันในขณะทำงานต้องไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส
- ใช้สเตรนเนอร์ในท่อดูดที่มีอัตราการไหลมากกว่า 4 เท่าของอัตราจ่ายของปั๊ม
-  ความต้านทานการไหลในท่อดูดของปั๊ม จะต้องต่ำกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท
-  ห้ามทาสีชนิดใดๆภายในถังพัก
-  ห้ามใช้อุปกรณ์ที่ทำจากอะลูมิเนียม แคดเมียม และสังกะสี
- ห้ามใช้สารที่ทำจากยางโพลียูรีเทน (polyurethane)
2.2  น้ำมัน ประเภทที่มีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าน้ำมัน น้ำมันประเภทนี้จัดว่ามีราคาถูกที่สุดในบรรดาน้ำมันประเภททนไฟ นอกจากน้ำและน้ำมันแล้วยังประกอบด้วยสารเคมีที่ช่วยให้น้ำกับน้ำมันผสมกลม กลืนกัน น้ำมันชนิดนี้นิยมใช้กันมากกว่าชนิดที่มีน้ำมันผสมอยู่น้อยกว่าน้ำ เนื่องจากมีค่าความข้นใสสูงกว่าและมีคุณสมบัติในการหล่อเย็นดีพอใช้ นอกจากนี้ยังอาจเติมสารประกอบที่ช่วยต้านทานการเกิดสนิมและการเกิดฟองได้ ด้วย โดยทั่วไปน้ำมันชนิดนี้จะประกอบด้วยน้ำประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อใช้ในระบบอาจเติมน้ำได้อีกเพื่อช่วยรักษาความข้นใสให้คงที่
ข้อสังเกตในการใช้น้ำมันประเภทที่มีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าน้ำมันมีดังนี้
-  ใช้ปั๊มชนิพิเศษที่เหมาะสมกับน้ำมันที่มีน้ำผสมอยู่
- ความเร็วรอบที่ใช้ขับปั๊มไม่ควรเกิน 1,200 รอบต่อนาที
-  อุณหภูมิของน้ำมันในขณะทำงานต้องไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส
-  สเตรนเนอร์ที่ใช้ในท่อดูดควรมีอัตราการไหลมากกว่า 3-4 เท่าของอัตราจ่ายของปั๊ม
-  ระบายน้ำที่แยกตัวออกมาที่ก้นถังอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
-  ความต้านทานการไหลในท่อดูดของปั๊มจะต้องต่ำกว่า 120 มิลลิเมตรปรอทล
-  ห้ามใช้อุปกรณ์ที่ทำจากอะลูมิเนียม แคดเมียม และสังกะสี
-   ห้ามใช้สารที่ทำจากยางโพลียูรีเทน
3. น้ำมัน ประเภทมีน้ำมันผสมอยู่น้อยกว่าน้ำ ประกอบด้วยน้ำมันน้อยกว่าน้ำจึงมคุณสมบัติคล้ายน้ำ สามารถต้านทานการลุกไหม้ได้ดี มีความข้นใสต่ำ และมีคุณสมบัติในการหล่อเย็นดีมาก แล้วยังมีส่วนประกอบของสารเคมีที่ช่วยทำให้น้ำกับน้ำมันผสมกันได้ดี น้ำมันชนิดนี้ก็จัดว่าเป็นน้ำมันทนไฟที่ทีราคาถูกที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้ยังอาจเติมสารประกอบที่ช่วยเพิ่มความหล่อลื่นและป้องกันการเกิด สนิมให้ดีขึ้น แต่ก่อนนิยมใช้น้ำมันประเภทนี้ในปั๊มขนาดใหย๋ที่มีความเร็วต่ำ ปัจจุบันสามารถใช้ได้กับปั๊มทั่วๆ ไป
ข้อแนะนำในการใช้น้ำมันประเภทมีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าน้ำมีดังนี้
- ใช้ปั๊มน้ำ
-  สำหรับวาล์วควบคุมทิศทาง ควรใช้แบบป็อปเป็ต (poppet)
- สำหรับวาล์วปลดความดันควรมีอะไหล่สำหรับเปลี่ยน
-  ห้ามใช้สารที่ทำจากยางโพลียูรีเทน
คุณสมบัติ อื่นๆ ของน้ำมันประเภทมีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าน้ำมันและประเภทมีน้ำมันผสมอยู่น้อย กว่าน้ำ คือ น้ำมันทั้งสองประเภทนี้เหมาะสำหรับระบบที่มีอุณหภูมิต่ำเพื่อป้องกันการ ระเหยและการเกิดออกไซด์ในน้ำมัน ข้อควรระวังในการใช้งานคือ ระบบการกรองจะต้องดีมาก และควรมีแม่เหล็กสำหรับดูดเศษโลหะที่ปนอยู่ในน้ำมันด้วย น้ำมันทั้งสองประเภทนี้ใช้ได้ดีกับซีลและโลหะทุกชนิดที่ใช้ในระบบไฮดรอลิก ที่ใช้น้ำมันปิโตรเลียม ถ้าต้องการเปลี่ยนน้ำมันในระบบมาใช้น้ำมัน 2 ประเภทนี้ จะต้องระบายและล้างอุปกรณ์ทั้งหมดให้สะอาด รวมทั้งเปลี่ยนซีลที่เป็นแบบเคลื่อนที่เสียก่อน
 การ ใช้งานของน้ำมันไฮดรอลิก น้ำมันไฮดรอลิกและปั๊มไฮดรอลิกเป็นหัวใจในการทำงานของระบบไฉดรอลิก การที่ระบบจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตัวปั๊มต้องอยู่ในสภาพดี และต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่สำคัญของน้ำมันไฮดรอลิกที่จะมีผลต่ออายุการ ใช้งานของปั๊มไฮดรอลิกด้วยดังต่อไปนี้
        - สภาพ ของน้ำมันไฮดรอลิกในขณะใช้งานมีความสำคัญต่ออายุการใช้งานของปั๊ม หากมีการปะปนของน้ำ ฝุ่น และเศษของแข็งจะทำให้ปั๊มสึกก่อนเร็วมาก
        - ชนิด ของน้ำมันไฮดรอลิก การเลือกใช้น้ำมันไฮดรอลิกให้เหมาะสมกับชนิดและการออกแบบของปั๊มไฮดรอลิก เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัณมาก เช่น น้ำมันไฮดรอลิกที่ผสมสารป้องกันการสึกหรอประเภทสังกะสีจะไม่เหมาะกับปั๊มที่ มีชิ้นส่วนทำด้วยเงินและทองบรอนซ์บางประเภท เพราะจะทำให้เกิดการกัดกร่อน เป็นต้น
        - อุณหภูมิ ของน้ำมันในระบบ ระบบไฮดรอลิกส่วนใหญ่มีการระบายความร้อนด้วยน้ำ ดังนั้นจึงต้องดูแลให้ระบบระบายความร้อนทำงานได้ดีเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิ ของน้ำมันไฮดรอลิกในระบบไม่ให้สูงเกินไป เพราะหากอุณหภูมิสูงมากน้ำมันจะเสือมสภาพเร็ว ซึ่งจะมีผลเสียต่อการหล่อลื่นและป้องกันการสึกหรอของปั๊มด้วย
        - การ หล่อลื่นปั๊ม จะทำได้ดีต้องได้น้ำมันที่ถูกชนิด สะอาดปราศจากสิ่งเจือปน และมีความข้นใสในระดับที่เหมาะสม และระดับน้ำมันในอ่างต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้
        - ความ ข้นใสของน้ำมันไฉดรอลิกต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการออกแบบของระบบไฮดรอลิก โดยเฉพาะปั๊มไฮดรอลิก หากน้ำมันข้นเกินไปเวลาเริ่มเดินปั๊มจะเกิดเสียงดังอันเนื่องมาจากการเกิด โพรงที่ว่างในเรือนปั๊มทำให้ปั๊มเกิดการสึกหรอและเสียหายได้ และในระหว่างการใช้งาน ฟองอากาศที่ปะปนในน้ำมันแยกตัวแกได้ช้าเนื่องจากน้ำมันข้น ก็จะเกิดเสียงและทำให้ปั๊มเสียหายเร็ว วาล์วเกิดการสึกกรอนเร็วด้วย และหากน้ำมันใสเกินไปประสิทธิภาพของปั๊มและระบบไฮดรอลิกจะต่ำลงเพราะเกิดการ รั่วกลับในเรือนปั๊ม โดยทั่วไปสำหรับระบบที่ใช้น้ำมันแร่เป็นน้ำมันไฮดรอลิก ความข้นใสที่ใช้จะอยู่ในระดับเบอร์ ISO 32, 46, 68 หรือ 100 ในขณะการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ อุณหภูมิการใช้งานควรจะอยู่ในราว 49-54 องศาเซลเซียส และไม่ควรเกิน 66 องศาเซลเซียส ความข้นใสจะอยู่ระหว่าง 13-54 เซนติสโตก ณ อุณหภูมิการใช้งาน
       - น้ำมันไฮดรอลิกคุณภาพดีมักเติมด้วยสารป้องกันการสึกหรอ จะเป็นสารซิงค์ไดไธโอฟอสเฟต (zinc dialkyl dithiophosphaste) (ZDDP) ซึ่งเป็นประเภทมีเถ้า หรือสารพวกไตรครีซิลฟอสเฟต (TCP) ซึ่งเป็นสารประเภทไม่มีเถ้าก็ได้
       - มีค่าดัชนีความข้นใสสูง และค่าความข้นใสไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมือ่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปมาก

ขอบคุณข้อความดีๆ จาก http://www.miller-thai.com

คุณสมบัติของน้ำมันไฮดรอลิค

คุณสมบัติของน้ำมันไฮดรอลิค

ระบบไฮดรอลิค คือ การใช้ของเหลวภายใต้แรงดันสูงๆ เพื่อส่งถ่ายกำลังจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งและในเวลาเดียวกันก็จะให้แรง เป็นเท่าทวีคูณด้วย ใช้กันแพร่หลายทั้งในอุตสาหกรรมและยานยนต์

น้ำมันไฮดรอลิค

น้ำมันไฮดรอลิค


 ของเหลวไฮดรอลิค

   1. น้ำ
   2. น้ำมันปิโตรเลียม
  3. ของเหลวอื่นๆ (สังเคราะห์) 

คุณสมบัติของน้ำมันไฮดรอลิค

1. ความหนืดพอเหมาะ และดัชนีความหนืดสูง
2. มีจุดข้นแข็งต่ำ (Pour Point)
3. คุณภาพของน้ำมันจะต้องไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงถึงแม้อุณหภูมิในการทำงานจะสูง
4. มีคุณภาพการหล่อลื่นที่ดี และไม่ทำปฏิกิริยากับยาง ซีล ปะเก็น และสี
5. ต้านทานการเกิดออกซิเดชั่นได้ดีเยี่ยม
6. ต้านทานการเกิดสนิม
7. ต้านทานการเกิดฟอง
8. มีความสามารถในการแยกตัวจากน้ำได้ดี
9. มีความสามารถในการอัดตัวต่ำ
10. ไม่จับตัวเป็นก้อนหรือยางเหนียว

ชนิดของน้ำมันไฮดรอลิก

1. น้ำมันปิโตรเลียม
 1.1 น้ำมันไฮดรอลิกทั่วไป (HYDRAULIC AW)
 1.2 น้ำมันเทอร์ไบน์
 1.3 น้ำมันไฮดรอลิกชนิดพิเศษ (HYDRAULIC  HVI)
 1.4 น้ำมันเครื่องเบอร์ SAE 10W หรือ SAE 30

2. น้ำมันทนไฟ
 2.1 ประเภทผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์ (Synthetic Fluids)
 2.2 ประเภทน้ำมันที่มีน้ำผสมอยู่ (Water Containing Fluids)



ข้อมูลดีๆจาก http://hydraulic-motor-circuit.blogspot.com

เพิ่มเติม

วิธีการเลือกใช้น้ำมันไฮดรอลิคและการดูแล


น้ำมันไฮดรอลิคอุตสาหกรรม (Hydraulic Fluid)
ประเภทน้ำมันไฮดรอลิคแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1. น้ำมันไฮดรอลิคแบบทั่วไป(Mineral oil Hydraulic Fluid)
2.น้ำมันไฮดรอลิคกันไฟ (Fire resistance Hydraulic Fliud)
3.น้ำมันไฮดรอลิคสังเคราะห์(Synthetic Hydraulic Fluid)
น้ำมันไฮดรอลิคส่วนใหญ่ที่นิยมใช้เป็น น้ำมันไฮดรอลิคแบบ Mineral Oil มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย น้ำมันมีราคาถูก แต่มีข้อจำกัดในการใช้งานเสี่ยงต่อการติดไฟ ส่วนการใช้งานที่มีการเสี่ยงต่อการติดไฟสามารถเลือกใช้น้ำมันไฮดรอลิคกันไฟ ได้ แต่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องเลือกประเภทไฮดรอลิคกันไฟ ซึ่งพบว่าน้ำมันไฮดรอลิคกันไฟมี 3 ประเภทคือ แบบแรก Water Base แบบที่2 Water Glycol แบบที่ 3 น้ำมันสังเคราะห์
น้ำมันไฮดรอลิคกันไฟ เป็นน้ำมันที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้งานและดูแลรักษา เพราะประสิทธิภาพการกันไฟจะเป็นผลจากสภาพการดูแล
เช่นหากใช้งานน้ำมันโดยไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันอาจมีสภาพความเป็นกรด กัดกร่อน อุปกรณ์ไฮดรอลิคเกิดความเสียหายได้
อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ประเภทของน้ำมันนั้น ผู้ใช้งานควรเลือกจากคู่มือการใช้ของเครื่องจักรที่แนะนำ
น้ำมันไฮดรอลิคมีค่าความหนืดหลายเบอร์ให้เลือก ตั้งแต่ ISO VG 32 , 46, 68,100  และ ISO VG 150
อายุการใช้งานของน้ำมัน  น้ำมันควรมีสีเหมือนน้ำมันใหม่ สีใส ไม่มีสีขุ่น ไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้ หากระหว่างใช้งานน้ำมันมีสีขุ่น หรือสีคล้ำและมีกลิ่นเหม็นไหม้ ควรพิจารณาเปลี่ยนทันที เพื่อป้องกันการเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น น้ำมันไฮดรอลิคโดยทั่วไป ควรพิจารณาเปลี่ยนทุกปี เพื่อป้องกันคราบยางเหนียวที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากใช้งานนานโดยไม่มีการ เปลี่ยนถ่าย

ข้อมูลดีๆจาก http://www.lubetools.com