การบำรุงรักษาหม้อน้ำ (ระบบหล่อเย็น)




           วิธีการบำรุงรักษาหม้อน้ำหรือระบบหล่อเย็น หม้อน้ำ ถือว่าเป็นหัวใจสำคั­อีก ตัวหนึ่งของรถยนต์ เพราะหม้อน้ำจะช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์่ร้อนจัด การระบายความร้อนของรถยนต์โดยทั่วไปจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน ทำให้ต้องมีการเช็คระดับน้ำอยู่เสมอว่าลดลงไปมากเท่าใด ถ้าลดลงมากจนแห้งอาจจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงหรือโอเวอร์ฮีท  และสร้างความเสียหายตามมาได้   

            ในหน้าปัดรถของเรานั้นจะมีสั­­าณเตือนหรือเป็นเข็มบอก โดยจะใช้สั­ลักษณ์เป็นตัว C ย่อมาจาก Cool คือเย็น และ H ย่อมาจาก HOT คือร้อน ปกติแล้วถ้าระดับน้ำถูกต้องเข็มวัดความร้อนจะอยู่ในระดับปานกลางระหว่างกับ H แต่ถ้าขาดการดูแลจนระดับน้ำแห้งความร้อนจะมีมากขึ้นจนเข็มชี้ไปที่นั้น แปลว่ารถเกิดความร้อนมากต้องรีบจอดรถและหาน้ำมาเติม  การเติมน้ำจะต้องรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน ที่สำคั­ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อนจัดเพราะอาจจะได้รับอันตราย  จากไอน้ำที่พุ่งออกมาได้

            ดังนั้น เพื่อให้หม้อน้ำรถยนต์อยู่คู่กับรถยนต์ของท่านไปนานๆ ก็ควรดูแลรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหม้อน้ำเกิดปั­หาขึ้นมา เครื่องยนต์จะเป็นส่วนที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดเป็นลำดับต่อไป เครื่องยนต์อาจจะร้อนจัดขนาด OVER HEAT สิ่ง ที่ต้องเสียตามมาติดๆ คือเงินในกระเป๋าสตางค์ของท่าน ต้องถูกควักจ่ายเพิ่มขึ้นนั่นเอง ดังนั้นรักคุณ รักรถจะมาบอกวิธีในการดูแลรักษาหม้อน้ำโดยมีดังนี้

    1. ควรตรวจดูระดับน้ำทุกๆ ครั้งก่อนสตาร์ตเครื่องยนต์ หรืออย่างน้อยทุกๆ 2-3 วัน สำหรับรถที่มีอายุเกิน 5 ปี และอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สำหรับรถใหม่อายุไม่เกิน 5 ปี ซึ่งปรกติระดับน้ำควรอยู่ตรงคอหม้อน้ำพอดี หรืออยู่ระหว่างกึ่งกลางขีด MAX และ MIN สำหรับรถที่มีหม้อพักน้ำ 

    2. ควร เติมน้ำที่สะอาดลงไปในหม้อน้ำเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้หม้อน้ำ หรือทางเดินของหลอดรังผึ้งหม้อน้ำเกิดการอุดตัน ถ้าเป็นไปได้ น้ำที่เราใช้ดื่มดีที่สุดสำหรับใช้เติมหม้อน้ำ

    3. หมั่นตรวจดูรอยรั่วตามที่จุดต่างๆ อย่างเช่น  ท่อยางหม้อน้ำ ครีบรังผึ้ง ปั๊มน้ำ  ฯลฯ  หากพบรอยรั่วซึม ควรทำการซ่อมทันที

    4. ตรวจดูสายพานหน้าเครื่อง ไม่ควรให้หย่อนหรือตึงเกินไป ตามปรกติเมื่อใช้มือกดลงบนสายพานควรยุบตัวลงประมาณ 1 นิ้ว

    5. ตรวจดูครีบรังผึ้ง (FIN) ของหม้อน้ำ อย่าให้พับงอปิดช่องทางผ่านของลม ไม่ควรให้สกปรกด้วยดินโคลนและคราบน้ำมัน เพราะจะทำให้ระบายความร้อนได้ยาก เครื่องยนต์อาจร้อนจัด และหากครีบพับงอ ให้ใช้ใบเลื่อยหรือโลหะบางๆ ดัดให้ตรง หรือถ้าครีบสกปรกมากให้ทำความสะอาดโดยใช้ลมเป่าหรือน้ำร้อนที่มีความดันสูง พอพ่นย้อนทิศทางลมเข้า

    6. พัดลม ระบายความร้อนควรอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แตกหัก หรือบิดงอเสียศูนย์ เพราะจะทำให้ปั๊มน้ำชำรุดได้ แต่ถ้าเป็นพัดลมไฟฟ้า ต้องคอยตรวจเช็คว่าพัดลมหมุนด้วยความเร็วเท่าเดิมหรือไม่ เพราะถ้าพัดลมหมุนด้วยรอบที่ช้าลง การระบายความร้อนให้หม้อน้ำรถยนต์ก็จะด้อยตามไปด้วย              

    7. ไม่ ควรติดเครื่องยนต์โดยไม่ได้ปิดฝาหม้อน้ำเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดตะกรันในหม้อน้ำและภายในเครื่องยนต์ เนื่องจากน้ำในรังผึ้งหม้อน้ำระเหย
ออกมา เมื่อเกิดตะกรันในหม้อน้ำ หรือบริเวณท่อทางเดินน้ำในเครื่องยนต์มาก ๆ จะเป็นผลให้เครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะการระบายความร้อนไม่ดีพอ

    8. เกจวัดความร้อนต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หากเสียใช้การไม่ได้ให้เปลี่ยนใหม่ทันที

    9. หากน้ำในหม้อน้ำแห้ง ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน และมีอุณหภูมิสูง ไม่ควรดับเครื่องยนต์และเติมน้ำในทันที  ให้ติดเครื่องเดินเบาๆ สักระยะหนึ่ง พอให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ลดลง แล้วค่อยๆ เติมน้ำที่สะอาดลงไปทีละน้อยด้วยความระมัดระวัง

    10 ควรถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุกๆ 4-6 เดือน หรือเมื่อเห็นว่าน้ำในหม้อน้ำสกปรกมากแล้ว เช่น มีสนิมหรือคราบน้ำมัน

            10 วิธีง่ายๆ ที่จะให้คุณดูแลรถสุดที่รักของคุณให้อยู่กับคุณไปนานๆ

ข้อมูลจาก http : / / www.carmarket. in. th

หม้อนํ้า ปัญหาหม้อนํ้ารั่วซึม

หม้อนํ้า และปัญหาหม้อนํ้ารั่ว


ในอดีตรถยนต์รุ่นเก่าๆนั้น มีประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ตํ่า เครื่องยนต์มีขนาดเล็ก และแรงม้าน้อย
การระบายความร้อน
ด้วยอากาศ ก็นับว่าเพียงพอ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางวิศว-
กรรมยานยนต์มีความรุดหน้าอย่างรวดเร็ว เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูง แรงม้ามาก การระบายความ
ร้อนของเครื่องยนต์ก็ต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าเก่า



การระบายความร้อนด้วยนํ้า ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆดังต่อไปนี้ คือ

1. หม้อนํ้า
2. ท่อนํ้าเข้า - ออก/เข็มขัดรัด
3. ปั๊มนํ้า/สายพานปั๊มนํ้า
4. เทอร์โมสตาร์ท
ในส่วนของหม้อนํ้านั้นมีหน้าที่ คือ
1. เก็บและรวบรวมนํ้าในระบบ
2. สร้างความดันอากาศให้สูงกว่าความดันบรรยากาศ
3. ระบายความร้อนของนํ้าหล่อเย็น

ระบบการระบายความร้อนด้วยนํ้า คือ การใช้ปั๊มนํ้าสร้างแรงขับดันนํ้าเข้าสู่เครื่องยนต์ แล้วพาความ
ร้อนออกจากเครื่องยนต์ด้วยวิธีการ Heat Convection แล้วนํ้าก็จะออกจากเครื่องยนต์มาที่หม้อนํ้า
ซึ่งนํ้าตอนขาออกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าตอนก่อนเข้าเครื่อง นํ้าร้อนนี้ก็จะถูกถ่ายเทความร้อนให้กับ
อากาศภายนอกที่หม้อนํ้านั่นเอง เมื่อนํ้าหล่อเย็นมีการถ่ายเทความร้อนออกสู่บรรยาอากาศ ที่หม้อนํ้าแล้ว
ก็จะมีอุณหภูมิตํ่าลงอีกครั้ง แล้วก็หมุนเวียนเข้าสู่เครื่องยนต์อีกเพื่อถ่ายเทความร้อนเป็นวัฏจักร เครื่องยนต์ขณะทำงานมีอุณหภูมิบริเวณห้องเผาไหม้จะสูงถึงกว่า 100 องศาเซลเซียส แน่นอนว่านํ้าที่ออกจากเครื่องยนต์จะมี อุณหภูมิหลายร้อยองศา แต่ทำไมนํ้าในหม้อนํ้าจึงไม่เดือดและระเหยออกจากระบบ ถ้าคุณเคยต้มนํ้าในสภาวะความดันบรรยากาศปกติ นํ้าจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส แต่ถ้าคุณต้มนํ้าบนยอดเขาสูง ซึ่งมีความดันบรรยากาศตํ่ากว่าความดันบรรยากาศ ที่ระดับพื้นดิน จุดเดือดของนํ้าจะ
ตํ่ากว่า 100 องศาเซลเซียส (นํ้าเดือดเร็ว) แต่ถ้าคุณต้มนํ้าที่บรรยากาศสูงๆ จุดเดือดของนํ้าก็จะสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส (นํ้าเดือดช้า)จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ภายในหม้อนํ้าจะถูกออกแบบให้มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศหลายเท่า นํ้าหล่อเย็นในระบบจะมีอุณหภูมิขณะที่เครื่องยนต์ทำงานเกิน100 องศาเซลเซียส แต่จะไม่เดือด เพราะจุดเดือดของนํ้าก็จะสูงขึ้น ภายใต้ความดันบรรยากาศสูงๆ


เมื่อเราทราบแล้วว่าระบบระบายความร้อนด้วยนํ้านี้ อยู่ภายใต้สภาวะความกดดันสูงๆ ก็มีข้อควรระวัง คือ

1. อย่าเปิดฝาหม้อนํ้าขณะที่เครื่องยนต์ เพราะความดันสูง ภายในระบบจะดันนํ้าให้พุ่งออกมาสู่ความดันบรรยากาศ ทันทีที่เปิดฝาหม้อนํ้า
2. ท่อยางนำนํ้าเข้า - ออก ต้องขันแหวนรัดให้แน่นขึ้น มิฉะนั้นนํ้าจะรั่วซึมออกมา ควรขันในขณะที่เครื่องเย็น เพราะเหล็กและท่อยางจะหดตัว ทำให้ขันได้แน่นขึ้น
3. อย่าเติมนํ้ามากเกินปริมาณที่กำหนด เพราะนํ้าเดือดจะขยายตัวดันหม้อนํ้าแตกได้

หม้อนํ้ายุโรปมีความแตกต่างกับของรถญี่ปุ่นมาก ในรถญี่ปุ่นหม้อนํ้าจะมีถังพักนํ้าเป็นพลาสติกใสๆ เมื่อนํ้าในหม้อนํ้าเดือด ขยายตัวล้นออกมาก็จะมาอยู่ในถังพักนํ้าพลาสติกนี้ พอเครื่องยนต์เย็นหม้อนํ้าก็จะเกิดสูญญากาศดูดเอานํ้าจากถังพักนํ้าจนเต็ม ระบบเช่นเดิม ในรถยุโรป จะไม่มีถังพักนํ้าเช่นรถญี่ปุ่น แต่จะมีเพียงตัวหม้อนํ้าเท่านั้น ถ้าเติมนํ้ามากเกินกำหนดขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน นํ้าหล่อเย็นจะมีอุณหภูสูง และเกิดการขยายตัวดันหม้อนํ้าให้แตกได้ นอกจากนี้หม้อนํ้ารถยุโรปรุ่นใหม่จะทำจากอะลูมิเนียมแทน หม้อนํ้าแบบทองเหลือง ของรถทั่วๆไป เพราะหม้อนํ้าอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติในการถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่ามาก และมีนํ้าหนักเบาช่วยลดนํ้าหนักโดยรวมของรถลงได้และยังสามารถ Recycle ได้ แต่ก็มีข้อเสียก็คือ แตกง่าย การซ่อมแซมทำได้ยาก และมีราคาแพง เรื่องจุกจิกเกี่ยวกับหม้อนํ้านั้นก็มีเกิดขึ้นได้มากมายหลายสาเหตุ บางอาการก็ชวนปวดหัว หาสาเหตุรอยรั่วไม่เจอ บางคราวก็ยังทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัดจนเครื่องยนต์พังได้


การรั่วซึมตามจุดต่างๆ เช่น

1. ท่อยางต่างๆ ตามรอยต่อ ซึ่งรัดเข็มขัดไม่แน่น
2. ท่อยางแตก
3. ปะเก็นปั๊มนํ้า
4. รังผึ้งหม้อนํ้า
5. น๊อตถ่ายนํ้า
ตามจุดต่างๆ ที่กล่าวมานี้ สามารถตรวจสอบได้ง่าย โดยใช้ Radiator Tester ซึ่งจะเป็นตัวสร้างความดันให้กับระบบหล่อเย็น เมื่อระบบหล่อเย็นมีความดันสูงขึ้นนํ้าก็จะพุ่งฉีดออกมาตามรอยต่อรอยรั่ว ให้มองเห็นได้ชัดเจน หรือสังเกตจากคราบนํ้าที่เปื้อนอยู่ตามจุดต่างๆ ด้วยสายตาได้ง่าย



การรั่วซึมบางจุดยากจะตรวจพบและต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมนาน เช่น

1. รอยรั่วที่เป็นตามดเล็กๆ บริเวณรังผึ้ง เมื่อเครื่องยนต์ร้อน และหม้อนํ้าร้อนขึ้น โลหะขยายตัว นํ้าจะรั่วออกมา ซึ่งจะมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเครื่องเย็นจะไม่รั่วเพราะโลหะเกิดการหดตัวกลับสู่สภาพปกติ ซึ่งข้อบกพร่องนี้จะไม่เป็นปัญหาใหญ่โตถึงขนาดทำให้ เครื่องยนต์ร้อนจัด แต่ผู้ใช้จะต้องเติมนํ้าบ่อยกว่ารถปกติ ซึ่งจะสร้างความรำคาญใจ และการใช้ Radiator Tester ตรวจสอบก็ยากที่จะหาสาเหตุนี้พบ
2. การรั่วซึมที่รังผึ้งของ Heater ระบบทำความร้อนภายในห้องโดยสาร (Heater) จะใช้นํ้าหล่อเย็นจากเครื่องยนต์เป็นตัวทำความร้อน ภายในห้องผู้โดยสาร ซึ่งถ้าระบบหล่อเย็นเกิดการรั่วซึมขึ้นที่รังผึ้งของ Heater การใช้ Radiator Tester ตรวจสอบก็จะไม่พบสาเหตุนี้ เพราะขณะทำการทดสอบด้วย Radiator Tester เราไม่ได้สตาร์ทเครื่อง และเปิด Heater ดังนั้นวาล์วนํ้าจะเปิดทำให้ Radiator Tester ไม่สามารถสร้างแรงดันเข้ามาถึงระบบของ Heater ที่เกิดการรั่วซึมได้ จึงหาสาเหตุนี้ได้ยาก แต่ก็สามารถสังเกตได้จากกลิ่นของนํ้ยาหล่อเย็น ซึ่งจะส่งกลิ่นของนํ้าหล่อเย็นออกมาในจังหวะที่เปิด Heater แต่รถที่ใช้นํ้าเปล่าๆ หล่อเย็นโดยไปเติมนํ้ายาหล่อเย็นหรือนํ้ายากันสนิทนี้ก็จะไม่ทราบถึงกลิ่น นี้ และหาสาเหตุตรงจุดนี้ไม่พบ
3. การรั่วซึมที่หม้อนํ้า บริเวณส่วนที่ติดกับห้องนํ้ามันเกียร์ ในรถยนต์รุ่นใหม่ ที่ใช้เกียร์อัตโนมัตินํ้ามันเกียร์อัตโนมัติ จะถูกส่งผ่านท่อมายังหม้อนํ้า ซึ่งจะแบ่งเป็นห้องสำหรับนํ้ามันเกียร์ไว้ส่วนหนึ่ง แล้วใช้นํ้าในหม้อนํ้าไหลผ่านผนังกั้นห้องนํ้ามันเกียร์ (ไปรวมตัวกับนํ้ามันเกียร์) แล้วทำให้นํ้ามันเกียร์เย็นลง เพื่อให้อายุการใช้งานของเกียร์และนํ้ามันเกียร์นานขึ้น ถ้าผนังกั้นห้องนํ้ามันเกียร์เกิดรอยรั่ว นํ้าก็จะเข้ารวมตัวกับนํ้ามันเกียร์ ทำให้นํ้าหล่อเย็นพร่องบ่อย และนํ้ามันเกียร์ก็จะเปลี่ยนจากสีปกติ คือ แดงทับทิมเป็นสีคล้ายชาเย็น เมื่อเกิดการรวมตัวกับนํ้าที่รั่วเข้ามา อันนี้สามารถรู้ได้จากการดูสีของนํ้ามันเกียร์เท่านั้นการใช้ Radiator Tester จะตรวจสอบไม่พบเพราะรอยรั่วอยู่บริเวณภายในหม้อนํ้า ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตา
4. การรั่วซึมที่ปะเก็นฝาสูบ ไม่สามารถใช้ Radiator Tester ตรวจสอบได้เพราะรอยรั่วไม่ได้อยู่ในบริเวณที่มองเห็นได้ด้วยตา แต่สาเหตุนี้นํ้าจะแห้งอย่างรวดเร็วและเครื่องยนต์จะร้อนจัด ถ้าเครื่องยนต์ร้อนจัดจนเครื่องดับ ให้ทิ้งไว้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ให้ดับเครื่องยนต์เสียก่อน จึงจะเดิมนํ้าเข้าไปได้ การเติมนํ้าขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัดทันที จะทำให้ฝาสูบโก่งได้ ซึ่งจะต้องเสียเวลาปาดฝาสูบใหม่ แทนที่จะแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนปะเก็นฝาสูบเพียงอย่างเดียวที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นข้อควรระวังและวิธีการบำรุงรักษาหม้อนํ้า รวมทั้งปัญหาจุกจิกต่างๆ ของหม้อนํ้าซึ่งถ้าเราแก้ไขอย่างถูกต้อง และมีความเข้าใจเพียงพอ การใช้รถก็จะไม่ใช้เรื่องจุกจิกกวนใจแต่อย่างใด โดยเฉพาะเรื่องหม้อนํ้าที่หลายๆ คนวิตกกังวลกันอยู่ขณะนี้


ข้อมูลดีๆที่อยากแบ่งปันให้พี่น้องได้เพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับหม้อน้ำครับ

ออยล์คูลเลอร์มีไว้ทำอะไร สำคัญอย่างไร จำเป็นมั้ย?




ออยล์คูลเลอร์ ( OIL COOLER )

แปลตรงตัวเลยมันก็คือ ตัวระบายความร้อนน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันไฮดรอลิค ที่เราเห็นรถพวกรถแต่งทั้งหลาย มักหามาใส่กัน หรือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องบอกว่าออยล์คูลเลอร์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด แต่การติดตั้งที่ผิดวิธี ผิดทิศทางลม ผิดตำแหน่งการเรียงลำดับ หรือการติดตั้งไม่ถูกหลักต่างๆ มันก็อาจจะกลายเป็นส่วนที่ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยอะไรเลย เรามารูจักหน้าที่การทำงานและประโยชน์กันก่อนดีกว่าน้ำมันเครื่องที่เราใช้อยู่มีหน้าที่ในการลดการเสียดสีของชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ เครื่องยนต์มีการสึกหรอน้อยที่สุดโดยอาศัยฟิล์มบางๆของน้ำมันเครื่องเข้าไป แทรก
Gear Oil Cooler
ตัวอย่าง หนึ่งในรูปแบบของ ออยล์คูลเลอร์
ในช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนต่างๆเช่น เพลาข้อเหวี่ยง แหวนสูป ก้านสูป เพลาราวลิ้น แคมชาร์ป และส่วนอื่นๆอีก น้ำมันเครื่องที่ดีจะมีสารในการยึดเกาะโลหะได้ดี แต่ก็จะทำงานได้ที่อุณหภูมิที่กำหนดเท่านั้น น้ำมันเครื่องที่มีราคาแพงจะสามารถทำหน้าที่ในการหล่อลื่นที่ อุณหภูมิสูงๆได้ดีและใช้ได้ยาวนานกว่าเพราะมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติน้อย น้ำมันเครื่องที่มีราคาถูกจะทำงานได้ดีที่อุณหภูมิที่กำหนดแต่พออุณหภูมิสูง ขึ้นก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเหลวใสขึ้นในขณะที่เครื่องต้องทำงาน หนักขึ้น ความร้อนเกิดขึ้นสูง โลหะในเครื่องยนต์เกิดการขยายตัว ดังนั้นโอกาสที่โลหะจะเกิดการกระทบกันเป็นไปได้มากและเกิดความเสียหายขึ้น ในระบบเกียร์ก็เช่นกัน ออยล์คูลเลอร์น้ำมันเกียร์ก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญที่ทำให้รถนั้นยังวิ่งได้อย่างราบรื่น

หน้าที่ของออยล์คูลเลอร์


ออยล์คูลเลอร์มีหน้าที่ในการช่วยระบายความร้อนของน้ำมันเครื่องที่หมุนเวียนอยู่ในเครื่องยนต์ของเรา ให้เย็นลง ในอยู่ในระดับความร้อนที่พอดี ไม่เย็นจนเกินไปเพราะเมื่อเย็นไปก็ไม่เป็นผลดี เพราะจะทำให้ ตัวน้ำมันเหนียวเกินไป ภายในท่อภายในออยล์คูลเลอร์จะมีครีบเล็กๆให้น้ำมันเครื่องไหลผ่าน และอาศัยอากาศจากภายนอกไหลมากระทบกับท่อน้ำมันซึ่งจะมีครีบบางๆเพื่อนำพา ความร้อนออกมาระบายให้เย็นตัวลง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีออยล์คูลเลอร์ อยู่สองแบบ คือ

1. แบบที่เรียกกันว่าเป็นแบบลามิเน็ต ซึ่งหมายถึงตัวออยล์คูลเลอร์น้ำมันชนิดต่างๆ ซึ่งตัวรังผึ้งนั้นจะเป็นลักษณะการนำแผ่นอลูมิเนียมที่เป็นหยักๆคล้ายรูปตัว V แล้วก็วางซ้อนกับแผ่นอลูเนียมเรียบ แล้วก็ตามด้วยแผ่นคลีบเล็กๆที่จะอยู่ภายในท่อสำหรับให้น้ำมันวิ่งผ่านแล้วก็ซ้อนกันอย่างนี้ไปเรื่องๆ ตามขนาด สูง x กว้าง ที่ต้องการ ข้อดีคือระบายความร้อนได้ดี แต่จะรับแรงดันได้ไม่ค่อยมาก และมักจะแตกง่ายตามรอยตะเข็บต่างๆ เพราะมันเป็นแผ่นๆซ้อนกันดังนั้นโอกาสรั่วซึ่งของออยล์คูลเลอร์จึงมีเยอะ และเวลาซ่อมก็พอซ่อมได้บ้างเป็นใบๆไป เพระาส่วนใหญ่แล้วออยล์คูลเลอร์ลักษณะนี้จะทำจากวัสดุอลูมิเนียมที่ค่อนข้างบาง เพื่อประหยัดต้นทุน จึงทำให้มันยากเวลาที่มีการต้องรื้อมันออกแล้วซ่อมด้วยการเชื่อมปิดรูรั่ว และประกบแท๊งค์กลับที่เดิม เหตุที่มันมักจะเกิดขึ้นคือ รอยแตกร้่ว มันจะลามไปเรื่อยๆ และยากที่จะซ่อม ยิ่งถ้าเป็นออยล์คูลเลอร์ที่ใช้กับระบบน้ำมันไฮดรดลิคแล้วด้วย เป็นปัญหาที่ร้านซ่อมออยล์ เจอเยอะที่สุด และบางที่จะแนะนำให้สั่งทำออยล์คูลเลอร์ไฮดรอลิคใบใหม่เลยจะง่ายกว่า

2. แบบที่เป็นท่อน้ำมันแบบฉีดมา แล้วนำมาประกอบเป็นใบ คล้ายกับหม้อน้ำ ซึ่งภายในก็มีการแบ่งเป็นช่องเล็กๆเหมือนกันเพื่อจะให้น้ำมันวิ่งกระทบกับขอบให้มากที่สุด เพื่อจะช่วยให้คลีบภายนอกสามารถดึงความร้อนออกไปได้มากที่สุด ขอเสียของออยล์คูลเลอร์ลักษณะนี้คือ มันจะถึงกำหนดขนาดความหนาด้วยขนาดของท่อที่ฉีดมา ซึ่งจะสั่งขนาดพิเศษต่างๆก็ต้องขึ้นพิมพ์ฉีดใหม่ ซึ่งค่าใช้จ่ายก็เหยียบแสนบาท แต่ข้อดีก็มี คือ มันทนแรงดันได้เยอะ เพราะลักษณะท่อเป็นท่อแบบฉีดมา จึงทำให้ไม่มีรอยต่อระหว่างทางและแถมยังเสียบไว้กับจานของออยล์ จึงทำให้โอกาส แตก รั่ว เกิดขึ้นได้ยาก เวลาซ่อมง่าย แค่เปิดแท๊งค์แล้วก็เชื่อมปิดรูเป็นอันใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นออยล์คูลเลอร์สำหรับน้ำมันเครื่อง หรือ น้ำมันเกียร์ หรือ น้ำมันไฮดรอลิค


การระบายความร้อนของออยล์คูลเลอร์

มีอยู่ 2 วิธี
1. ชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ พวกนี้จะติดตั้งมาจากโรงงาน มักจะติดอยู่กับกรองน้ำมันเครื่องโดยทำเป็นอแดปเตอร์ ต่อขึ้นมาก่อนแล้วใช้น้ำจากหม้อน้ำไหลผ่านมาระบายความร้อนหรือติดตั้งอยู่ กับเสื้อสูปในเครื่องที่ออกแบบมาในจุดที่มีน้ำและน้ำมันเครื่องไหลผ่าน
พวกนี้มักทำด้วยสแตนเลสเพื่อทนต่อการกัดกร่อนของน้ำแต่ระบายความร้อนได้ไม่ค่อยดี

2. ชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศ มี 2 แบบ ที่ทำด้วยทองแดงโดยท่อภายในและภายนอกทำด้วยทองแดงทั้งสิ้นพวกนี้ จะทนทานกว่า มีน้ำหนักมากกว่า แต่การระบายความร้อนจะระบาย ได้น้อย และแบบที่สองทำด้วยอลูมิเนียม พวกนี้มีน้ำหนักน้อยกว่า ความแข็งแรงน้อยกว่า แต่การระบายความร้อนดีกว่ามาก


การติดตั้งออยล์คูลเลอร์


ส่วน มากแล้วในเครื่องยนต์ดีเซลมักจะมีการติดตั้งมาอยู่แล้วเพราะเครื่องยนต์ ดีเซลเป็นเครื่องที่มีความร้อนสูง และในเครื่องเทอร์โบส่วนมากก็มักจะติดตั้งมาให้แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นแบบ ระบายความร้อนด้วยน้ำและถ้าแบบระบายความร้อน ด้วยอากาศมักจะมีขนาดเล็กเครื่องยนต์ที่ติดตั้งแบบระบายความร้อนด้วยอากาศมา แล้ว เราสามารถหาซื้อแบบที่ดีกว่าและใหญ่กว่ามาติดตั้งแทนได้เลย
แต่ใน เครื่องที่ระบายความร้อนด้วยน้ำมักต้องถอดของเดิมออกก่อนและหาอแดปเตอร์มา ต่อในจุดที่เคยใส่กรองน้ำมันเครื่อง และต่อสาย มายังตัวใส่กรองน้ำมันเครื่องด้านนอก แล้วในตัวอแดปเตอร์จะมีสายแยกแพื่อจะเข้าไปยังออยล์คูลเลอร์อีกทีการติดตั้ง ต้องอยู่ในจุดรับลมที่จะมาระบายความร้อนได้ดี ไม่เสียงต่อการกระแทกกับพื้น ล้อรถยนต์ ทำความสะอาดง่าย หรือสามารถเพิ่มพัดลมไฟฟ้ามาระบายความร้อนได้ยิ่งดี ท่อยางควรใช้สายทนแรงดัน จำพวกสายไฮโดรลิค หรือสายสแตนเลสถัก หัวต่อต้องเป็นหัวสายแบบทนแรงดันสูง
เท่านั้น การเดินสายต้องระวังจุดหมุนหรือจุดเสียดสีทุกจุดหรือมีวัสดุมาป้องกันเพื่อ ป้องกันการฉีกแตก หรือติดตั้งเกจ์วัดแรงดันไว้คอยเตือนเมื่อเกิดการแตกรั่ว
อีกอย่างที่สำคัญคือ ถ้าติดตั้งตัวออยล์ที่เป็นการระบายด้วยลม จะต้องติดตั้งไว้หน้าหม้อน้ำ เพราะจะได้ลมที่เย็นที่สุดที่เข้ามาห้องเครื่อง ผ่านออยล์คูลเลอร์ก่อน เพราะว่าน้ำมัน ถ้ามันยังไม่ร้อนก็ถือว่ายังดี แต่พอมันร้อนแล้วมันจะเย็นยากกว่าน้ำ ดังนั้นให้มันเย็นไว้ก่อนเป็นดี เอาไว้หน้าหม้อน้ำเลยดี่ที่สุด แต่อย่าให้ปิดทั้งหน้าหม้อน้ำนะ เดี๋ยวหม้อน้ำหายใจไม่ออก อิอิ

สรุป ข้อดีของการติดออยล์คูลเลอร์


ช่วย ระบายความร้อนของน้ำมันภายในของเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี มีความสำคัญน้อยกว่าหม้อน้ำ แต่ถ้าไม่มีมันหม้อน้ำก็ทำงานหนักหน่อย หรือบางทีอาจจะระบายความร้อนได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของเรา เพราะถ้าน้ำมันเครื่องเย็นมีผลทำให้อุณหภูมิโดยรวมของเครื่องยนต์เย็นลงด้วย ช่วยยืดอายุของน้ำมันเครื่องให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น และจะทำให้หม้อน้ำไม่ต้องทำงานหนักมาก ก็จะช่วยยืดอายุของตัวหม้อน้ำไปในตัวด้วย

ข้อควรระวัง
ต้อง คำนึงด้วยว่าปั้มน้ำมันเครื่องของเรามีเเรงดันเพียงพอหรือไม่เพราะจะทำให้ แรงดันน้ำมันเครื่องลดลงอาจต้องเปลี่ยนปั้มน้ำมันเครื่อง การติดตั้งต้องใช้วัสดุอย่างดีและจุดที่ปลอดภัยที่สุดถ้าเกิดการแตกรั่ว น้ำมันเครื่องจะถูกดันออกจากเครื่องอย่างรวดเร็วจนเราไม่ทันรู้ตัวเครื่องก็ พังเสียแล้ว เมื่อติดตั้งแล้วควรวัดระดับน้ำมันเครื่อง เพราะต้องเพิ่มน้ำมันเครื่องอีก 1 – 2 ลิตร


เขียนโดย
ธวัช สุธิรังกูร


หม้อน้ำทองแดงทองเหลือง กัน หม้อน้ำอลูมิเนียม อันไหนดีกว่ากัน

หม้อน้ำในโลกเรานี้สำหรับ ใช้ในรถยนต์และอุตสาหกรรมต่างๆ นั้น เราจะใช้อยู่ไม่กี่รูปแบบ คือ หม้อน้ำที่ผลิตจากทองเหลืองทองแดง และ หม้อน้ำอลูมิเนียม ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าอะไรมีดีกว่ากัน อย่างไร ขอเน้นสำหรับรถยนต์ก่อนนะครับ ส่วนพี่ๆท่านใด ต้องการทราบสำหรับเครื่องจักรกลต่างๆ รออีกสักหน่อยนะครับ

หม้อน้ำ
ตัวอย่างหม้อน้ำจาก โรงงานหม้อน้ำ ชลประสิทธิ์ กรุ๊ป จำกัด

ตารางเปรียบเทียบหม้อน้ำทองแดงทองเหลืองกับหม้อน้ำอลูมิเนียม


หม้อน้ำ ทองแดง ทองเหลือง หม้อน้ำ อลูมิเนียม
ความทนทาน ทนมากใช้งานได้หลายปี
เพราะมีตะกั่วเป็นตัวประสาน
ตามแนวบัดกรี
อายุการใช้งานสั้นกว่า
เพราะฝาบนล่างใช้แบบหนึบ
กับฝาบนล่างที่เป็นพลาสติก
จึงทำให้มีโอกาสรั่วซึม
และแตกได้สูง
ยกเว้นที่เป็นอลูมิเนียมทั้งใบ
แบบนั้นยังถือว่าดี ใช้ได้
รูปภาพ
การระบายความร้อน ระบายความร้อนได้ดี ระบายความร้อนได้ดีมาก
การซ่อมแซม
บำรุงรักษา
ง่ายและมีร้านซ่อมหม้อน้ำ
มากมายที่ซ่อมได้
ซ่อมไม่ได้ เปลี่ยนลูกใหม่อย่างเดียว
ราคา ถูกกว่า
ยกเว้นขนาดใหญ่ๆจะแพง
แพงกว่าในรุ่นปรกติ

จากตารางด้านบนนี้เป็นเพียงความคิดเห็นของผมเอง ซึ่งเป็นผู้ผลิตทั้งหม้อน้ำอลูมิเนียมและหม้อน้ำทองแดงทองเหลือง ก็แล้วแต่ว่าคุณๆท่านๆจะชอบแบบไหน

ใครที่ชอบเดิมๆแบบของศูนย์ก็เข้าศูนย์เปลี่ยนครับ แต่ถ้าใครเน้นประหยัดๆหน่อยก็ใช้หม้อน้ำทองเหลืองทองแดง เพราะเวลามีปัญหา หรือรั่วซึม ก็จะได้เข้าร้านหม้อน้ำที่มีอยู่ทั้วประเทศ ซ่อมให้ได้สบายมากใช้เวลาก็ไม่นาน (ถ้ามีของอยู่) จะเป็นการเปลี่ยนเฉพาะรังผึ้งหม้อน้ำก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งใบ แต่อย่าลืมมองหา หม้อน้ำยี่ห้อ CPS นะครับ อันนี้แตกต่างเพราะว่า หม้อน้ำทองแดงทั้วไปจะเคลือบดีบุกหรือตะกั่วแค่ด้านนอกของท่อน้ำ แต่ของ CPS ท่อน้ำในหม้อน้ำจะเคลือบทั้งด้านในด้านนอก เหตุผล เพื่อจะช่วยกันการกัดกร่อนภายในท่อน้ำ ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น

Written by
Tawat Suthirangkoon