หม้อน้ำ CBR หาสั่งทำได้ที่ไหน

หม้อน้ำรถมอเตอร์ไซค์ ฮอนด้า CBR นั้นปรกติจะเป็นงานที่หลายๆท่านมีปัญหาเวลาต้องการใบใหม่มาแทนที่ หรือ ต้องการหาซื้อที่เป็นใบใหม่จริงๆ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเจอแบบย้อมแมวมา และอีกอย่างจะเป็นหม้อน้ำลักษณะเป็นการเชื่อมในเตาอบมา ดูแล้วไม่ค่อยแมนเหมือนกับหม้อน้ำที่มีรอยเชื่อมอากอน ซึ่งทำให้ตัวหน้ารถดูเป็นเหมือนรถแข่งมากขึ้น อันนี้ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละท่าน บางท่านก็ต้องการแบบที่เหมือนติดรถมาหรือต้องการแบบ ราคาถูก หรือ บางท่านก็เน้นงานคุณภาพ

ส่วนพี่ๆที่ผมรู้จักรแล้วนำหม้อน้ำ CBR มาให้ทางบริษัท ชลประสิทธิ์ ผลิตให้ เป็นงานสั่งทำ ก็ส่วนใหญ่จะนำตัวหม้อน้ำเก่ามา ซึ่งบางใบก็ชนมา โดนใบพัดมาบ้าง หม้อน้ำรั่วใต้จานบ้าง แท๊งค์บวม แท๊งค์ผุ และอีกหลายอาการ ทางบริษัทจะดูสภาพงาน ถ้าเป็นใบใหม่ ก็สามารถแค่เปลี่ยนรังผึ้งหม้อน้ำใบใหม่ แล้วก็เชื่อมแท๊งค์เดิม โดยการเชื่อมอากอน กลับเข้าไปที่เดิม ก็เป็นอันจบเหมือนได้หม้อน้ำมอเตอร์ไซค์ CBR ใบใหม่เลย หรือในกรณีที่หม้อน้ำเก่ามากแล้ว ก็จะแนะนำให้ทำใหม่ทั้งใบจะง่ายกว่า แล้วงานออกมาก็งามเหมือนกัน

ก็ท่านใดสนใจ หรือติดปัญหา หาที่ทำไม่ได้ หรือ หาซื้อไม่ได้ ก็ขอเชิญมานั่งคุยที่ร้านกันก่อนได้

หรือโทรสอบถามได้ที่ 038 272 646


วิธีดูรถมือสองหลังน้ำท่วม


รถมือสองหลังน้ำท่วม

ก่อนที่จะเข้าเรื่องการดูรถมือสองหลังน้ำท่วมก็ขอท้าวความจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปีที่แล้วกันก่อน

ในช่วงที่ผ่านมานั้นทั่วโลกรวมถึงเมืองไทย เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายรูปแบบ อย่างหนึ่งที่โดนกันแทบทุกปี ไม่เลือกว่าเป็นต่างจังหวัดหรือกรุงเทพฯ ก็คือน้ำท่วม อย่างเด็กๆ ก็คือระบายน้ำไม่ทัน ท่วมขังกันอยู่เป็นหย่อมๆกันอยู่สักพัก ยิ่งในกรุงเทพฯพอน้ำท่วมก็จะตามมาด้วยการจราจรที่เป็นอัมพาตแล้วน้ำที่ท่วมอยู่มันก็จะหายท่วมไป หนักขึ้นมาหน่อยมักเกิดในต่างจังหวัด ยิ่งในภาคที่มีป่าไม้ หรือภูเขาสูงเยอะๆ คือ น้ำป่าไหลหลากเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว เสียหายกันทั้งชีวิต ไร่นา สัตว์เลี้ยง และทรัพย์สินมากมาย

ปี2554 เมืองไทยก็มีข่าวน้ำท่วมให้ เห็นกันค่อนข้างหนาตา ในภาพข่าวบางทีก็จะเห็นรถลอยไปตามน้ำบ้าง หรือบางคันก็จมน้ำท่วมซะเกือบมิด โผล่มาแค่หลังคา เลยทำให้เกิดเป็นคำถามว่า...หลังจากน้ำลดระดับลงแล้ว รถหลังน้ำท่วมเหล่านั้นไปอยู่ที่ไหนกันบ้าง แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่ารถมือสองที่กำลังจะซื้อนั้นไม่ได้เป็นหนึ่งในรถที่โดนน้ำท่วมมา?

คำตอบ ส่วนหนึ่งเจ้าของรถน้ำท่วมพวกนั้นซ่อมแซมบูรณะมันไว้ใช้งานต่อ แต่ก็มีรถที่ถูกน้ำท่วมจำนวนไม่น้อยที่ แปรสภาพไปเป็น ‘รถมือสอง’ และ ‘กระจายไปตามเต็นท์รถต่างๆทั่วประเทศ’ โดยเฉพาะในจังหวัดใกล้เคียงพื้นที่ๆถูกน้ำท่วมขัง ทำให้ผู้ที่กำลังจะซื้อรถมือสองมีโอกาสเจอรถมือสองที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งอาจมีปัญหาจุกจิกกวนใจตามมาแบบไม่รู้จบอย่างแน่นอน แล้วก็ไม่รู้จะไปโวยวายกับใครด้วย

คงเป็นเรื่องลำบากที่จะระบุชี้ชัดถึงความเสียหายของรถที่ถูกน้ำท่วม แต่โดยส่วนใหญ่แล้วน้ำนั้นจะสร้างความเสียหายให้กับระบบหลักๆของรถ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้รถคันนั้นๆมีปัญหาโน่นนี่ไปตลอดอายุการใช้งานที่เหลืออยู่ เช่น ระบบอิเล็กทรอนิกส์ลัดวงจร, ระบบหล่อลื่นมีการปนเปื้อน และระบบกลไกต่างๆขัดข้อง ซึ่งสิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ไม่สามารถสังเกตจากภายนอกได้ บางอาการที่ทุกท่านน่าจะพอทราบคือ สนิม ซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นเดือนกว่ามันจะเริ่มแสดงกายออกมาให้เราเจ็บใจ

เมื่อพูดถึงรถที่หลังจาก แช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ หนึ่งในปัญหาหลักที่มักเกิดขึ้นคือ ‘เชื้อรา’ โดยเฉพาะที่ๆมันชอบ เช่น เบาะและพื้นพรม จะเริ่มเผยโฉมหน้าเมื่อเริ่มจะแห้งหมาดๆ สิ่งที่มาพร้อมเชื้อรา คือ กลิ่นเหม็นอับ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะขจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์นี้ออกไปให้หมดอย่างหมดจด

ที่สำคัญ น้ำท่วมนับเป็นภัยธรรมชาติที่ ‘กรมธรรม์ประกันรถ ยกเว้นไว้ ไม่คุ้มครอง’ เจ้าของต้องรับภาระค่าซ่อมแซมเอง พอซ่อมเสร็จแล้วก็ไม่ค่อยได้ดี จึงตัดสินใจขายเป็นรถมือสองกันซะส่วนใหญ่

ผู้ที่กำลังหาซื้อรถมือสอง เมื่อรู้เรื่องราวต่างๆ อย่างนี้แล้ว ก็ต้องหา วิธีดูรถมือสองที่ถูกน้ำท่วมเพื่อแก้ทางกัน ซึ่งมีวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้

• เปิดดูใต้พรมว่ามีรอยเปียกชื้นหรือขี้โคลนหรือไม่ ดูดีๆไม่ต้องรีบ
• ตรวจสอบหัวนอตยึดเบาะว่ามีร่องรอยถูกถอดหรือไม่ เพราะถ้าจะทำความสะอาดหรือทำให้พรมแห้ง ต้องถอดเบาะออก สังเกตดูถ้ามันดูใหม่ผิดปรกติ ก็สันนิฐานกันไว้ก่อนได้เลยว่ากำลังเจอของดี รึเปล่า?
• ตรวจสอบระบบไฟส่องสว่างทั้งคน รวมทั้งหลอดไฟและโคมไฟทั้งด้านหน้าและหลัง ซึ่งถ้าเป็นรถหลังน้ำท่วมอาจมีคราบน้ำอยู่ภายในบริเวณเลนส์หรือจานฉาย
• ให้ความสนใจเป็นพิเศษในจุดที่ ‘ยากต่อการทำความสะอาด’ เช่น ผนังห้องเครื่อง อาจมีคราบน้ำโคลนหรือเศษทรายติดอยู่
• สำรวจหาโคลนหรือฝุ่นทรายในที่เท้าแขน หรือตามซอกแผงหน้าปัด หรือในซอกเล็กซอกน้อยที่ทำความสะอาดได้ยากในจุดอับที่น้ำระเหยได้ช้า อาจเห็นคราบน้ำติดอยู่
• สังเกตหัวนอตยึดต่างๆ ว่าไม่ได้ผ่านการทำสีใหม่ ไม่มีรอยถลอกหรือรอยเยินจากการถอด-ใส่ ที่สำคัญต้องไม่มีคราบสนิมเกาะ
• ตรวจสอบจุกพลาสติกสำหรับระบายน้ำ บริเวณด้านล่างของบานประตู ถ้าพบว่ามีร่องรอยการถอด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า...รถคันนี้อาจถูกน้ำท่วมมาแล้ว และถ้าไม่เกรงใจพนักงานขาย ก็ให้ถอดแผงประตูออก ถ้าเป็นรถที่ถูกน้ำท่วมมาจริงๆ ก็จะเห็นร่องรอยได้ชัดขึ้น อันนี้ต้องอาศัยความกล้าของเรานิดนึง เพื่อความไม่ประมาท

ถ้า ไม่รีบ ร้อนใช้รถจริงๆ ควรรอให้พ้นช่วงน้ำท่วมไปสักระยะ ให้รถน้ำท่วมหมดไปจากตลาดรถมือสองเสียก่อน ระหว่างรอก็ทบทวนบทความนี้ไปพลางๆ เมื่อถึงเวลาก็ไปเดินเลือกซื้อรถมือสองได้อย่างมั่นใจ ซื้อรถมาแล้วก็อย่าลืมภาวนา ‘ขอให้น้ำอย่าท่วมอีกเลย’

บทความดีๆจาก Thaidriver Online Magazine   www.thaidriver.com

หม้อน้ำคืออะไร มีไว้ทำอะไร

หม้อน้ำคืออะไร?

   หม้อน้ำคือตัวแลกเปลี่ยนความร้อน ใช้ในการระบายพลังงานความร้อนจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง เพื่อจะทำช่วยในการทำให้ระบบเย็นลง หรือ ร้อนขึ้น แล้วแต่ระบบนั้นๆจะใช้งาน หลักๆแล้วหม้อน้ำจะใช้กับ
  1. อุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น หม้อน้ำด้านหน้ารถยนต์ รถบบรทุก รถประจำทาง รถมอเตอร์ไซค์ 
  2. ตัวอาคาร เช่นการใช้งานในส่วนของเครื่องปั่นไฟ ซึ่งแล้วแต่ตัวขนาดอาคารว่าเล็กหรือใหญ่ และจะใช้ขนาดของเครื่องปั่นไฟที่แตกต่างกันไป หรือ ในกรณีที่ต่างประเทศ หม้อน้ำจะใช้ในการทำความร้อนให้กับตัวอาคาร ในช่วงฤดูหนาว
  3. ระบบอีเลคทรอนิค เช่น หม้อน้ำในระบบระบายความร้อนของน้ำจากหัวเครื่องเชื่อม หรือการระบายความร้อนในระบบอีเลคทรอนิค ที่มีการใช้การประมวลผลมากๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนมาก และการใช้แค่อากาศนั้นไม่เพียงพอสำหรับการทำความเย็นให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยกับตัวระบบ จึงต้องน้ำหม้อน้ำและปั้มน้ำเข้ามาช่วยในการระบายความร้อนของระบบ

หม้อน้ำมอเตอร์ไซค์ CPS
ตัวอย่างหม้อน้ำที่ติดอยู่ด้านหน้ารถมอเตอร์ไซค์
หม้อน้ำขนาดใหญ่ สำหรับเครื่องปั่นไฟ CPS
หม้อน้ำสำหรับเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่


หม้อน้ำนั้นส่วนหนึ่งของการระบายความร้อน หรือทำความร้อนในสภาพแวดล้อมที่มันอยู่ ในที่นี้หมายถึงการใช้หม้อน้ำในการช่วยทำให้สภาพแวดล้อมนั้นๆ ร้อนขึ้น หรือการทำให้ของเหลวหรือน้ำยาทำความเย็นที่อยู่ในตัวมัน เย็นลง เพื่อจะทำการระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ ตามชื่อมันแล้วในภาษาอังกฤษนั้น หม้อน้ำ หรือ radiator มันกับไม่ได้ทำงานตรงกับชื่อมันคือการไม่ได้ใช้หลัการแผ่รังสี (Radiation) แต่มันเป็นการแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยการสัมผัส (convection) ในที่นี้อาจจะหมายถึงการที่หม้อน้ำสัมผัสน้ำภายใน และระบายความร้อนออกมาสัมผัสกับอากาศภายนอก ซึ่งก็คือการแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดหนึ่งเหมือนกัน

ระบบการทำความร้อนหรือระบายความร้อนด้วยหม้อน้ำนั้น ถูกคิดค้นโดย Franz San Galli ซึ่งเป็นนักธุรกิจชาวรัสเซียที่เกิดในโปแลนด์ อาศัยอยู่ที่ เซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ในช่วงปี 1855 และ 1857

ด้านบนนี้เป็นข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับหม้อน้ำ เพื่อให้ทุกท่านได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ท่านได้ WOW ว้าว ไม่ส่วนใดก็ส่วนหนึ่งของเนื้อหานะครับ


เขียนโดย ธวัช สุธิรังกูร

การบำรุงรักษาหม้อน้ำ (ระบบหล่อเย็น)




           วิธีการบำรุงรักษาหม้อน้ำหรือระบบหล่อเย็น หม้อน้ำ ถือว่าเป็นหัวใจสำคั­อีก ตัวหนึ่งของรถยนต์ เพราะหม้อน้ำจะช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์่ร้อนจัด การระบายความร้อนของรถยนต์โดยทั่วไปจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน ทำให้ต้องมีการเช็คระดับน้ำอยู่เสมอว่าลดลงไปมากเท่าใด ถ้าลดลงมากจนแห้งอาจจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงหรือโอเวอร์ฮีท  และสร้างความเสียหายตามมาได้   

            ในหน้าปัดรถของเรานั้นจะมีสั­­าณเตือนหรือเป็นเข็มบอก โดยจะใช้สั­ลักษณ์เป็นตัว C ย่อมาจาก Cool คือเย็น และ H ย่อมาจาก HOT คือร้อน ปกติแล้วถ้าระดับน้ำถูกต้องเข็มวัดความร้อนจะอยู่ในระดับปานกลางระหว่างกับ H แต่ถ้าขาดการดูแลจนระดับน้ำแห้งความร้อนจะมีมากขึ้นจนเข็มชี้ไปที่นั้น แปลว่ารถเกิดความร้อนมากต้องรีบจอดรถและหาน้ำมาเติม  การเติมน้ำจะต้องรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน ที่สำคั­ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อนจัดเพราะอาจจะได้รับอันตราย  จากไอน้ำที่พุ่งออกมาได้

            ดังนั้น เพื่อให้หม้อน้ำรถยนต์อยู่คู่กับรถยนต์ของท่านไปนานๆ ก็ควรดูแลรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหม้อน้ำเกิดปั­หาขึ้นมา เครื่องยนต์จะเป็นส่วนที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดเป็นลำดับต่อไป เครื่องยนต์อาจจะร้อนจัดขนาด OVER HEAT สิ่ง ที่ต้องเสียตามมาติดๆ คือเงินในกระเป๋าสตางค์ของท่าน ต้องถูกควักจ่ายเพิ่มขึ้นนั่นเอง ดังนั้นรักคุณ รักรถจะมาบอกวิธีในการดูแลรักษาหม้อน้ำโดยมีดังนี้

    1. ควรตรวจดูระดับน้ำทุกๆ ครั้งก่อนสตาร์ตเครื่องยนต์ หรืออย่างน้อยทุกๆ 2-3 วัน สำหรับรถที่มีอายุเกิน 5 ปี และอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สำหรับรถใหม่อายุไม่เกิน 5 ปี ซึ่งปรกติระดับน้ำควรอยู่ตรงคอหม้อน้ำพอดี หรืออยู่ระหว่างกึ่งกลางขีด MAX และ MIN สำหรับรถที่มีหม้อพักน้ำ 

    2. ควร เติมน้ำที่สะอาดลงไปในหม้อน้ำเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้หม้อน้ำ หรือทางเดินของหลอดรังผึ้งหม้อน้ำเกิดการอุดตัน ถ้าเป็นไปได้ น้ำที่เราใช้ดื่มดีที่สุดสำหรับใช้เติมหม้อน้ำ

    3. หมั่นตรวจดูรอยรั่วตามที่จุดต่างๆ อย่างเช่น  ท่อยางหม้อน้ำ ครีบรังผึ้ง ปั๊มน้ำ  ฯลฯ  หากพบรอยรั่วซึม ควรทำการซ่อมทันที

    4. ตรวจดูสายพานหน้าเครื่อง ไม่ควรให้หย่อนหรือตึงเกินไป ตามปรกติเมื่อใช้มือกดลงบนสายพานควรยุบตัวลงประมาณ 1 นิ้ว

    5. ตรวจดูครีบรังผึ้ง (FIN) ของหม้อน้ำ อย่าให้พับงอปิดช่องทางผ่านของลม ไม่ควรให้สกปรกด้วยดินโคลนและคราบน้ำมัน เพราะจะทำให้ระบายความร้อนได้ยาก เครื่องยนต์อาจร้อนจัด และหากครีบพับงอ ให้ใช้ใบเลื่อยหรือโลหะบางๆ ดัดให้ตรง หรือถ้าครีบสกปรกมากให้ทำความสะอาดโดยใช้ลมเป่าหรือน้ำร้อนที่มีความดันสูง พอพ่นย้อนทิศทางลมเข้า

    6. พัดลม ระบายความร้อนควรอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แตกหัก หรือบิดงอเสียศูนย์ เพราะจะทำให้ปั๊มน้ำชำรุดได้ แต่ถ้าเป็นพัดลมไฟฟ้า ต้องคอยตรวจเช็คว่าพัดลมหมุนด้วยความเร็วเท่าเดิมหรือไม่ เพราะถ้าพัดลมหมุนด้วยรอบที่ช้าลง การระบายความร้อนให้หม้อน้ำรถยนต์ก็จะด้อยตามไปด้วย              

    7. ไม่ ควรติดเครื่องยนต์โดยไม่ได้ปิดฝาหม้อน้ำเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดตะกรันในหม้อน้ำและภายในเครื่องยนต์ เนื่องจากน้ำในรังผึ้งหม้อน้ำระเหย
ออกมา เมื่อเกิดตะกรันในหม้อน้ำ หรือบริเวณท่อทางเดินน้ำในเครื่องยนต์มาก ๆ จะเป็นผลให้เครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะการระบายความร้อนไม่ดีพอ

    8. เกจวัดความร้อนต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หากเสียใช้การไม่ได้ให้เปลี่ยนใหม่ทันที

    9. หากน้ำในหม้อน้ำแห้ง ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน และมีอุณหภูมิสูง ไม่ควรดับเครื่องยนต์และเติมน้ำในทันที  ให้ติดเครื่องเดินเบาๆ สักระยะหนึ่ง พอให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ลดลง แล้วค่อยๆ เติมน้ำที่สะอาดลงไปทีละน้อยด้วยความระมัดระวัง

    10 ควรถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุกๆ 4-6 เดือน หรือเมื่อเห็นว่าน้ำในหม้อน้ำสกปรกมากแล้ว เช่น มีสนิมหรือคราบน้ำมัน

            10 วิธีง่ายๆ ที่จะให้คุณดูแลรถสุดที่รักของคุณให้อยู่กับคุณไปนานๆ

ข้อมูลจาก http : / / www.carmarket. in. th

หม้อนํ้า ปัญหาหม้อนํ้ารั่วซึม

หม้อนํ้า และปัญหาหม้อนํ้ารั่ว


ในอดีตรถยนต์รุ่นเก่าๆนั้น มีประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ตํ่า เครื่องยนต์มีขนาดเล็ก และแรงม้าน้อย
การระบายความร้อน
ด้วยอากาศ ก็นับว่าเพียงพอ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางวิศว-
กรรมยานยนต์มีความรุดหน้าอย่างรวดเร็ว เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูง แรงม้ามาก การระบายความ
ร้อนของเครื่องยนต์ก็ต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าเก่า



การระบายความร้อนด้วยนํ้า ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆดังต่อไปนี้ คือ

1. หม้อนํ้า
2. ท่อนํ้าเข้า - ออก/เข็มขัดรัด
3. ปั๊มนํ้า/สายพานปั๊มนํ้า
4. เทอร์โมสตาร์ท
ในส่วนของหม้อนํ้านั้นมีหน้าที่ คือ
1. เก็บและรวบรวมนํ้าในระบบ
2. สร้างความดันอากาศให้สูงกว่าความดันบรรยากาศ
3. ระบายความร้อนของนํ้าหล่อเย็น

ระบบการระบายความร้อนด้วยนํ้า คือ การใช้ปั๊มนํ้าสร้างแรงขับดันนํ้าเข้าสู่เครื่องยนต์ แล้วพาความ
ร้อนออกจากเครื่องยนต์ด้วยวิธีการ Heat Convection แล้วนํ้าก็จะออกจากเครื่องยนต์มาที่หม้อนํ้า
ซึ่งนํ้าตอนขาออกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าตอนก่อนเข้าเครื่อง นํ้าร้อนนี้ก็จะถูกถ่ายเทความร้อนให้กับ
อากาศภายนอกที่หม้อนํ้านั่นเอง เมื่อนํ้าหล่อเย็นมีการถ่ายเทความร้อนออกสู่บรรยาอากาศ ที่หม้อนํ้าแล้ว
ก็จะมีอุณหภูมิตํ่าลงอีกครั้ง แล้วก็หมุนเวียนเข้าสู่เครื่องยนต์อีกเพื่อถ่ายเทความร้อนเป็นวัฏจักร เครื่องยนต์ขณะทำงานมีอุณหภูมิบริเวณห้องเผาไหม้จะสูงถึงกว่า 100 องศาเซลเซียส แน่นอนว่านํ้าที่ออกจากเครื่องยนต์จะมี อุณหภูมิหลายร้อยองศา แต่ทำไมนํ้าในหม้อนํ้าจึงไม่เดือดและระเหยออกจากระบบ ถ้าคุณเคยต้มนํ้าในสภาวะความดันบรรยากาศปกติ นํ้าจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส แต่ถ้าคุณต้มนํ้าบนยอดเขาสูง ซึ่งมีความดันบรรยากาศตํ่ากว่าความดันบรรยากาศ ที่ระดับพื้นดิน จุดเดือดของนํ้าจะ
ตํ่ากว่า 100 องศาเซลเซียส (นํ้าเดือดเร็ว) แต่ถ้าคุณต้มนํ้าที่บรรยากาศสูงๆ จุดเดือดของนํ้าก็จะสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส (นํ้าเดือดช้า)จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ภายในหม้อนํ้าจะถูกออกแบบให้มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศหลายเท่า นํ้าหล่อเย็นในระบบจะมีอุณหภูมิขณะที่เครื่องยนต์ทำงานเกิน100 องศาเซลเซียส แต่จะไม่เดือด เพราะจุดเดือดของนํ้าก็จะสูงขึ้น ภายใต้ความดันบรรยากาศสูงๆ


เมื่อเราทราบแล้วว่าระบบระบายความร้อนด้วยนํ้านี้ อยู่ภายใต้สภาวะความกดดันสูงๆ ก็มีข้อควรระวัง คือ

1. อย่าเปิดฝาหม้อนํ้าขณะที่เครื่องยนต์ เพราะความดันสูง ภายในระบบจะดันนํ้าให้พุ่งออกมาสู่ความดันบรรยากาศ ทันทีที่เปิดฝาหม้อนํ้า
2. ท่อยางนำนํ้าเข้า - ออก ต้องขันแหวนรัดให้แน่นขึ้น มิฉะนั้นนํ้าจะรั่วซึมออกมา ควรขันในขณะที่เครื่องเย็น เพราะเหล็กและท่อยางจะหดตัว ทำให้ขันได้แน่นขึ้น
3. อย่าเติมนํ้ามากเกินปริมาณที่กำหนด เพราะนํ้าเดือดจะขยายตัวดันหม้อนํ้าแตกได้

หม้อนํ้ายุโรปมีความแตกต่างกับของรถญี่ปุ่นมาก ในรถญี่ปุ่นหม้อนํ้าจะมีถังพักนํ้าเป็นพลาสติกใสๆ เมื่อนํ้าในหม้อนํ้าเดือด ขยายตัวล้นออกมาก็จะมาอยู่ในถังพักนํ้าพลาสติกนี้ พอเครื่องยนต์เย็นหม้อนํ้าก็จะเกิดสูญญากาศดูดเอานํ้าจากถังพักนํ้าจนเต็ม ระบบเช่นเดิม ในรถยุโรป จะไม่มีถังพักนํ้าเช่นรถญี่ปุ่น แต่จะมีเพียงตัวหม้อนํ้าเท่านั้น ถ้าเติมนํ้ามากเกินกำหนดขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน นํ้าหล่อเย็นจะมีอุณหภูสูง และเกิดการขยายตัวดันหม้อนํ้าให้แตกได้ นอกจากนี้หม้อนํ้ารถยุโรปรุ่นใหม่จะทำจากอะลูมิเนียมแทน หม้อนํ้าแบบทองเหลือง ของรถทั่วๆไป เพราะหม้อนํ้าอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติในการถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่ามาก และมีนํ้าหนักเบาช่วยลดนํ้าหนักโดยรวมของรถลงได้และยังสามารถ Recycle ได้ แต่ก็มีข้อเสียก็คือ แตกง่าย การซ่อมแซมทำได้ยาก และมีราคาแพง เรื่องจุกจิกเกี่ยวกับหม้อนํ้านั้นก็มีเกิดขึ้นได้มากมายหลายสาเหตุ บางอาการก็ชวนปวดหัว หาสาเหตุรอยรั่วไม่เจอ บางคราวก็ยังทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัดจนเครื่องยนต์พังได้


การรั่วซึมตามจุดต่างๆ เช่น

1. ท่อยางต่างๆ ตามรอยต่อ ซึ่งรัดเข็มขัดไม่แน่น
2. ท่อยางแตก
3. ปะเก็นปั๊มนํ้า
4. รังผึ้งหม้อนํ้า
5. น๊อตถ่ายนํ้า
ตามจุดต่างๆ ที่กล่าวมานี้ สามารถตรวจสอบได้ง่าย โดยใช้ Radiator Tester ซึ่งจะเป็นตัวสร้างความดันให้กับระบบหล่อเย็น เมื่อระบบหล่อเย็นมีความดันสูงขึ้นนํ้าก็จะพุ่งฉีดออกมาตามรอยต่อรอยรั่ว ให้มองเห็นได้ชัดเจน หรือสังเกตจากคราบนํ้าที่เปื้อนอยู่ตามจุดต่างๆ ด้วยสายตาได้ง่าย



การรั่วซึมบางจุดยากจะตรวจพบและต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมนาน เช่น

1. รอยรั่วที่เป็นตามดเล็กๆ บริเวณรังผึ้ง เมื่อเครื่องยนต์ร้อน และหม้อนํ้าร้อนขึ้น โลหะขยายตัว นํ้าจะรั่วออกมา ซึ่งจะมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเครื่องเย็นจะไม่รั่วเพราะโลหะเกิดการหดตัวกลับสู่สภาพปกติ ซึ่งข้อบกพร่องนี้จะไม่เป็นปัญหาใหญ่โตถึงขนาดทำให้ เครื่องยนต์ร้อนจัด แต่ผู้ใช้จะต้องเติมนํ้าบ่อยกว่ารถปกติ ซึ่งจะสร้างความรำคาญใจ และการใช้ Radiator Tester ตรวจสอบก็ยากที่จะหาสาเหตุนี้พบ
2. การรั่วซึมที่รังผึ้งของ Heater ระบบทำความร้อนภายในห้องโดยสาร (Heater) จะใช้นํ้าหล่อเย็นจากเครื่องยนต์เป็นตัวทำความร้อน ภายในห้องผู้โดยสาร ซึ่งถ้าระบบหล่อเย็นเกิดการรั่วซึมขึ้นที่รังผึ้งของ Heater การใช้ Radiator Tester ตรวจสอบก็จะไม่พบสาเหตุนี้ เพราะขณะทำการทดสอบด้วย Radiator Tester เราไม่ได้สตาร์ทเครื่อง และเปิด Heater ดังนั้นวาล์วนํ้าจะเปิดทำให้ Radiator Tester ไม่สามารถสร้างแรงดันเข้ามาถึงระบบของ Heater ที่เกิดการรั่วซึมได้ จึงหาสาเหตุนี้ได้ยาก แต่ก็สามารถสังเกตได้จากกลิ่นของนํ้ยาหล่อเย็น ซึ่งจะส่งกลิ่นของนํ้าหล่อเย็นออกมาในจังหวะที่เปิด Heater แต่รถที่ใช้นํ้าเปล่าๆ หล่อเย็นโดยไปเติมนํ้ายาหล่อเย็นหรือนํ้ายากันสนิทนี้ก็จะไม่ทราบถึงกลิ่น นี้ และหาสาเหตุตรงจุดนี้ไม่พบ
3. การรั่วซึมที่หม้อนํ้า บริเวณส่วนที่ติดกับห้องนํ้ามันเกียร์ ในรถยนต์รุ่นใหม่ ที่ใช้เกียร์อัตโนมัตินํ้ามันเกียร์อัตโนมัติ จะถูกส่งผ่านท่อมายังหม้อนํ้า ซึ่งจะแบ่งเป็นห้องสำหรับนํ้ามันเกียร์ไว้ส่วนหนึ่ง แล้วใช้นํ้าในหม้อนํ้าไหลผ่านผนังกั้นห้องนํ้ามันเกียร์ (ไปรวมตัวกับนํ้ามันเกียร์) แล้วทำให้นํ้ามันเกียร์เย็นลง เพื่อให้อายุการใช้งานของเกียร์และนํ้ามันเกียร์นานขึ้น ถ้าผนังกั้นห้องนํ้ามันเกียร์เกิดรอยรั่ว นํ้าก็จะเข้ารวมตัวกับนํ้ามันเกียร์ ทำให้นํ้าหล่อเย็นพร่องบ่อย และนํ้ามันเกียร์ก็จะเปลี่ยนจากสีปกติ คือ แดงทับทิมเป็นสีคล้ายชาเย็น เมื่อเกิดการรวมตัวกับนํ้าที่รั่วเข้ามา อันนี้สามารถรู้ได้จากการดูสีของนํ้ามันเกียร์เท่านั้นการใช้ Radiator Tester จะตรวจสอบไม่พบเพราะรอยรั่วอยู่บริเวณภายในหม้อนํ้า ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตา
4. การรั่วซึมที่ปะเก็นฝาสูบ ไม่สามารถใช้ Radiator Tester ตรวจสอบได้เพราะรอยรั่วไม่ได้อยู่ในบริเวณที่มองเห็นได้ด้วยตา แต่สาเหตุนี้นํ้าจะแห้งอย่างรวดเร็วและเครื่องยนต์จะร้อนจัด ถ้าเครื่องยนต์ร้อนจัดจนเครื่องดับ ให้ทิ้งไว้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ให้ดับเครื่องยนต์เสียก่อน จึงจะเดิมนํ้าเข้าไปได้ การเติมนํ้าขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัดทันที จะทำให้ฝาสูบโก่งได้ ซึ่งจะต้องเสียเวลาปาดฝาสูบใหม่ แทนที่จะแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนปะเก็นฝาสูบเพียงอย่างเดียวที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นข้อควรระวังและวิธีการบำรุงรักษาหม้อนํ้า รวมทั้งปัญหาจุกจิกต่างๆ ของหม้อนํ้าซึ่งถ้าเราแก้ไขอย่างถูกต้อง และมีความเข้าใจเพียงพอ การใช้รถก็จะไม่ใช้เรื่องจุกจิกกวนใจแต่อย่างใด โดยเฉพาะเรื่องหม้อนํ้าที่หลายๆ คนวิตกกังวลกันอยู่ขณะนี้


ข้อมูลดีๆที่อยากแบ่งปันให้พี่น้องได้เพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับหม้อน้ำครับ