เทอร์โบ ทำหน้าที่อะไร

เทอร์โบ ทำหน้าที่อะไร

 

ตัวอย่างลักษณะการทำงานของเทอร์โบ

          สำหรับเจ้า เทอร์โบ หรือเทอร์โบชาร์จเจอร์(Turbocharger) นี้ มันคืออุปกรณ์ที่ติดอยู่กับเครื่องยนต์บางรุ่น แถมยังมีของแต่งที่ทางบริษัทผู้ผลิต ทำออกมาจำหน่ายมากมายเช่น HKS, GREDDY, TURBONETIC, GARRETT และ BORG WARNER และ อีกมายมาย ซึ่งมีหน้าที่อัดอากาศเข้าไปยังห้องเผาไหม้ให้มากกว่าเดิม และเมื่อไอดีมากขึ้น เชื้อเพลิงก็จะฉีดหนามากขึ้นตามมาด้วย ดังนั้นมันจึงส่งผลให้การจุดระเบิดในห้องเผาไหม้มีความรุนแรงมากขึ้น และนั่นมันก็คือหน้าที่การทำงานและประโยชน์ของเทอร์โบนั่นเอง

ตัวอย่างลักษณะการติดตั้งของเทอร์โบ

ส่วนประกอบของเทอร์โบ

1.ใบพัดเทอร์โบ



2.โข่งไอดี



3.โข่งไอเสีย



4.เวสเกต

             



 ตัวอย่างการทำงานของเทอร์โบ Turbo



ตัวอย่างเทอร์โบแต่งยี่ห้อต่างๆ

เทอร์โบ HKS T51R KAI


เทอร์โบ Greddy T88 38GK



ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก boxzaracing.com

10 เรื่องประวัติศาสตร์ของเทอร์โบ ที่คุณไม่เคยรู้

10 เรื่องประวัติศาสตร์ของเทอร์โบ  ที่คุณไม่เคยรู้


10 เรื่องประวัติศาสตร์ของเทอร์โบ ที่คุณไม่เคยรู้


เทอร์โบ หรือ หอย

          เมื่อพูดถึงรถซิ่งแล้ว สิ่งหนึ่งที่เพื่อนๆนึกถึงเลยคือ เทอร์โบ เป็นตัวทำให้เครื่องแรงขึ้น จนเป็นคำพูดติดปากที่ว่า “เครื่องแรงต้องมีเทอร์โบ” หรือที่ชาวรถซิ่ง เรียกกันเล่นๆว่า “หอย” เนื่องจากรูปร่างลักษณะที่ขดวงคล้ายหอยนั่นเองหลายคนอาจสงสัยว่า เทอร์โบมีความเป็นมาอย่างไร วันนี้มี 10 เรื่องประวัติศาสตร์ของ turbo มาให้เพื่อนๆได้รู้กันค่ะ

Alfred büchi วิศวกรชาวสวิสฯ ได้ประดิษฐ์ turbo ขึ้นมา
1. ในปี 1905, 20 ปีหลังจาก  Gottlieb Daimler คิดค้น เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันปิโตรเลียม  Alfred büchi วิศวกรชาวสวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้คิดค้น turbo ขึ้นมา

Mercedes 300SD
2. ถึงแม้ว่า เทอร์โบจะถูกใช้ใน รถไฟ, เรือ , รถบรรทุก ตั้งแต่ปี 1920 แต่การผลิตเทอร์โบดีเซลของรถนั้นเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี 1978 ในรถ Mercedes 300SD.

เครื่องยนต์ BMW Formula 1

3. เครื่องยนต์รถ BMW Formula 1 ในช่วงต้นปี 80 ผลิตแรงม้าได้ 1,500 bhp เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกันกับที่ใช้ใน BMW 318s แต่ระบบขับเครื่องยนต์เทอร์โบ BMW Formula 1 มีแรงดันอากาศถึง 5.5 bar (80 ปอนด์)

แกนกลางเทอร์โบ หรือ rollerbearing cores

4. เทคโนโลยีสมัยใหม่เกี่ยวกับเทอร์โบ เช่น แกนกลางเทอร์โบ (rollerbearing cores), ระบบหัวฉีดเทอร์โบแปรผัน (variable geometry nozzles) และระบบแบ่งอากาศเข้ากังหันเทอร์โบ (split pulse turbines) ทั้งหมดถูกคิดค้นมามากกว่า 50 ปีมาแล้ว

รถแข่งสมัยปี 1952 ที่สนาม Indianapolis Motor Speedway
5. ในปี 1952 เครื่องยนต์เทอร์โบดีเซลถูกนำมาใช้ ในการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบในรายการ Indy 500 ที่สนาม Indianapolis Motor Speedway เพื่อ สู้กับนักแข่งที่ขับเครื่องยนต์เบนซิน แต่ก็ต้องถอนตัวออก หลังจากที่ยางถูกของมีคมทิ่ม และเศษยางเข้าไปติดในเครื่องยนต์เทอร์โบทางท่อร่วมไอดีและถูกทำลาย

Ford Racing
6. ในปี 1966 ด้าน Ford Racing ได้ขอให้มีการสร้างเครื่องยนต์เทอร์โบในรถแข่ง แต่บอร์ดบริหารปฏิเสธ พร้อมบอกว่า ฟอร์ดไม่เคยสร้างเทอร์โบในรถโดยสาร

เครื่องยนต์รถ Offroad 2.6 ลิตร เทอร์โบ แรงถึง 1,000 แรงม้า
7. ในปี 1966 รถออฟโรดเครื่องยนต์ 2.6 ลิตร ขับเคลื่อนสี่ล้อที่มีเครื่องยนต์เทอร์โบ ติดตั้งไว้เมื่อปี 1933 ถูกใช้ในรถแข่งเพื่อการแข่งขัน และในช่วงต้นปี 70 สามารถปั่นม้าได้ถึง 1,000 ตัว

รถ Extreme แทรคเตอร์ในสนามแข่ง
8. ในรถแทรคเตอร์ที่ใช้ในการแข่งขันบางคัน ใช้แรงบูสท์ อัดอากาศเทอร์โบสูงถึง 17 บาร์หรือ 250 ปอนด์ อยู่ใน 10 อันดับของรถโมดิฟายที่มีแรงดันอากาศมากที่สุด

รถ Oldsmobile Jetfire Turbo
9. ในปี 1962 รถ Oldsmobile Jetfire Turbo มีการผลิตเครื่องยนต์ที่มีเทอร์โบรุ่นแรก เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ   the Rover V8  แต่โชคไม่ดีที่มันไม่ค่อยเสถียรและไม่ค่อยดีนัก

เครื่องบินทิ้งระเบิดหรือ Bombers ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง (WW2)
10. บางเครื่องยนต์เทอร์โบในรุ่นแรกๆที่เป็นเครื่องยนต์ปิโตรเลียมถูกใช้ใน เครื่องบินทิ้งระเบิด สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แต่วัสดุไม่ทนต่อความร้อนที่สูงมาก ลูกปืนใบพัดเทอร์โบมักจะยืดตัวในช่วงท้ายของการปล่อยไอเสีย

          นี่คือ 10 เรื่องประวัติศาสตร์ของTurbo  ที่ทำให้เราทราบว่ากว่าจะมาเป็นเทอร์โบ หรือ หอย ในสมัยนี้  เทอร์โบมีการใช้งานอย่างไรมาก่อนบ้าง ปัจจุบันมีเทอร์โบวางจำหน่ายในท้องตลาดมากมายหลายยี่ห้อ อาทิ HKSGREDDY,TURBONETICGARRETT และ BORG WARNER เป็น ต้น ซึ่งราคาก็จะมีตั้งแต่ หลักหมื่นจนถึงหลักแสน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ขนาด และคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัวของเทอร์โบรุ่นนั้นๆ ซึ่งเพื่อนๆสามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบ กำลังทรัพย์ และความเหมาะสมของรถด้วย ส่วนเพื่อนๆบางคนอาจจะยังสงสัยว่า เทอร์โบ ทำงานอย่างไร สามารถเข้าไปชมได้ที่ เทอร์โบทำหน้าที่อะไร ได้เลย

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.fastcar.co.uk/ และ http://www.boxzaracing.com -

10 เรื่องประวัติศาสตร์ของเทอร์โบ  ที่คุณไม่เคยรู้

ส่วนประกอบต่างๆในการระบายความร้อนเครื่องยนต์ / engine heat exchage components

ส่วนประกอบที่ช่วยในการระบายความร้อน



 

ปั๊มน้ำ

ปั้มน้ำ ระบบระบายความร้อนรถยนต์
ปั้มน้ำ ระบบระบายความร้อนรถยนต์

หน้าที่การทำงานของปั้มน้ำ

ทำให้น้ำหมุนเวียนจากเครื่องไปยังหม้อน้ำแล้วไหลกลับเข้า เครื่องการทำงานของ ปั๊มน้ำจะอาศัยสายพานจาก เครื่องยนต์มาหมุนและจะมีลูกปืน มารองรับในการหมุน

ปัญหาของปั้มน้ำ

สาเหตุที่ทำให้ปั๊มน้ำไม่ทำงาน สาเหตุแรกก็คือสายพานขาด เมื่อสายพานขาดปั๊มน้ำก็ไม่สามารถหมุน เมื่อปั๊มน้ำไม่หมุนก็ไม่มีการไหลเวียนของน้ำเพื่อเอาความร้อนออกจากเครื่องยนต์
สาเหตุอีกประการหนึ่ง คือการสึกหรอ หรือแตกของลูกปืนจะทำให้ปั๊มน้ำปิดตายไม่ยอมหมุน
หรือหมุนแบบแกว่งตัว ทำให้ส่วยอื่นของเครื่องยนต์เสียหายตามไปด้วย ส่วนปัญหาที่เจอกันบ่อยของปั๊มน้ำก็คือปั๊มน้ำรั่ว การตรวจสอบทำโดยการติดเครื่องและเร่งเครื่องยนต์จะทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าจะมีน้ำไหลออกมา
แต่ถ้าจอดรถไว้เฉย ๆ โดยไม่มีการติดเครื่องยนต์ หรือติดเครื่องในรอบเดินเบาน้ำจะไม่รั่วซึมให้เห็นการรั่วของปั๊มน้ำส่วนมาก มักจะเกิด
ในบริเวณซิลแกนหมุนน้ำจะไหลออกมาทางด้านหน้าและออกจากรูระบายอากาศ


วิธีดูแลรักษาปั้มน้ำ

1. ต้องคอยตรวจสอบสายพานให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ อย่าให้ขาด สายพานควรจะเปลี่ยนใหม่เมื่อมีการใช้งานรถเป็นระยะทาง 40,000 ก.ม
2. เมื่อลูกปืนปั๊มน้ำมีเสียงดังแสดงว่าลูกปืนสึกหรอควรรีบเปลี่ยนทันที
3. การตรวจสอบแบริ่งของปั้มน้ำ ทำโดยจับใบพัดทั้งส่วนบนและล่างและโยกไปมาข้างหน้าและข้างหลัง ถ้าใบพัดขยับได้แสดงว่าแบริ่งปั้มน้ำสึกหล่อ ต้องเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าปั๊มน้ำไม่มีใบพัด ให้จับบนพูลเลย์ ในบางครั้งซีลปั๊มน้ำรั่วจะมีน้ำไหลออกมา หรือแบริ่งมีเสียงก็ควรเปลี่ยนปั๊มน้ำใหม่

วาล์วน้ำ (เทอร์โมสตัท) / Water Value (Thermostat)

วาล์วน้ำ (เทอร์โมสตัท) / Water Value (Thermostat)
วาล์วน้ำ

หน้าที่การทำงาน

ทำหน้าที่ปิดกั้นทางเดินน้ำไม่ให้ไหลเข้าเครื่องเมื่อเครื่องยนต์เย็น เพื่อที่จะทำให้เครื่องยนต์ร้อนถึงอุณหภูมิการทำงานเร็วขึ้น

 ปัญหา

วาล์วน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ก็ยังมีโอกาสเสีย เช่น วาล์วน้ำไม่เปิดเมื่อร้อนเนื่องจากเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้เครื่องร้อนจัด(โอเวอร์ ฮีท) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทำได้โดยการถอดวาล์วน้ำออกชั่วคราว ก่อนถอดวาล์วน้ำออก ให้ถ่ายน้ำหล่อเย็นออกบางส่วน ถอดท่อน้ำออกจากโลหะ ถอดแป้นเกลียวที่ยึดฝาครอบวาล์วน้ำ ควรคลายแป้นเกลียวออกทีละน้อย ๆ เพื่อไม่ให้ฝาครอบบิดตัว ถ้าฝาครอบติดแน่นบนเสื้อหุ้ม ให้ใช้แท่งไม้ตอกเบา ๆ เพื่อให้ฝาครอบหลุดออกมา หลังจากนั้นยกวาล์วน้ำออกและควรใช้เศศษผ้าอุดช่องเปิดไว้ก่อน ขูดปะเก็นเก่าออกให้หมดแล้วทำความสะอาดผิวหน้าประกบและเปลี่ยนประเก็นใหม่ สังเกตว่าวาล์วน้ำเสียหรือไม่ดูจากจากการเปิดฝาหม้อน้ำแล้วติดเครื่องยนต์จนร้อนแล้วเร่งเครื่อง ถ้าเกจ์วัดความร้อนขึ้นสูงแต่ไม่มีการหมุนวนของน้ำอย่างเร็วโดยดูจากช่องฝาปิดหม้อน้ำที่เปิดไว้ แสดงว่าวาล์วน้ำมีปัญหา หรืออีกกรณีหนึ่งการที่วาล์วเปิดตลอดเวลาทำให้เครื่องยนต์ร้อนช้า ถ้าเปิดฝาหม้อน้ำแล้วเร่งเครื่องถึงแม้ว่าเครื่องยนต์จะเย็นก็ตามแต่จะมีการหมุนวนของน้ำอย่างเร็ว

วิธีดูแลรักษา

การตรวจสอบวาล์วน้ำทำโดยเริ่มตันจากการสตาร์ตเครื่องยนต์ในขณะที่เครื่องเย็น ใช้มือสัมผัสที่หม้อน้ำหรือท่อน้ำอันบน ซึ่งในช่วงแรกยังคงเย็นอยู่แต่ถ้าผ่านไปสัก 2 - 3 นาที จะร้อนขึ้นอย่างเร็ว แสดงว่าวาล์วน้ำทำงานผิกปกติ แต่ถ้าค่อย ๆ ร้อนขึ้นทีละหน่อย แสดงว่าวาล์วน้ำเปิดค้างตลอดเวลา แต่ถ้าร้อนขึ้นช้ามากและเครื่องเริ่มร้อนจัด แสดงว่าวาล์วน้ำปิดตายถ้าต้องการทราบว่าวาล์วน้ำทำงานได้หรือไม่ ทำโดยถอดวาล์วน้ำแล้วนำไปแช่ในน้ำร้อน เมื่อน้ำมีอุณหภูมิขึ้นจนมีค่าใกล้เคียงกับอุณหภูมิทำงานที่แสดงไว้บนวาล์ว วาล์วน้ำจะเปิดออก และเมื่อยกวาล์วน้ำขึ้นจากน้ำร้อนแล้วบ่อยให้เย็น วาล์วน้ำก็จะปิด

หม้อน้ำ

รังผึ้งหม้อน้ำรถยนต์
หม้อน้ำรถยนต์


หน้าที่การทำงาน

ระบายความร้อนของน้ำที่เดินทางมาจากเครื่องยนต์ โดยที่หม้อน้ำจะมีท่อทางเดินน้ำซึ่งคิดภาพเหมือนเป็นท่อน้ำที่ต่อระหว่างฝาบนกับฝาล่างของรังผึ้งหม้อน้ำ ส่วนตัวรังผึ้งหม้อน้ำนั้นก็จะมีแผ่นครีบระบายความร้อน หรือเรียกกันแผ่นฟินระบายความร้อน ซึ่งจะถ่ายเทความร้อนจากตัวท่อน้ำออกมาที่ครีบ และลมที่ปะทะตัวครีบ จะดึงความร้อนออกไปจากตัวหม้อน้ำ ทำให้อุญหภูมิน้ำในหม้อน้ำเย็นลง และส่งน้ำนั้นกลับเข้าไปในเครื่องยนต์ต่อไป

ปัญหา

การรั่วของหม้อน้ำ ถ้ารั่วตามตะเข็บตัวล่างจะทำให้สังเกตได้ยากเพราะเพราะส่วนของหม้อน้ำจะบังเอาไว ้แต่ถ้ามีการรั่วซึมในบริเวณอื่นจะสังเกตได้ง่าย ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของหม้อน้ำก็คือการอุดตัน
ถ้ามีการอุดตันของหม้อน้ำ ต้องมีการถอดหม้อน้ำออกมาทำความสะอาดโดยการทะลวงเอาสิ่งสกปรกออกมา แต่ถ้าเป็นหม้อน้ำรุ่นใหม่ที่เป็นอลูมิเนียมและใช้ฝาครอบพลาสติกจะใหญ่จะถอด ออกมาไม่ได้ การใช้น้ำยาล้างหม้อน้ำแก้การอุดตันของหม้อน้ำส่วนใหญ่จะได้ผลไม่ดีนัก ดังนั้นผู้ขับขี่ควรจะมีการป้องกันการอุดตันของหม้อน้ำ โดยการใช้น้ำยาหม้อน้ำของทางบริษัทรถ และมีการเปลี่ยนน้ำปีละครั้งหรือสองครั้งตามคำแนะนำของคู่มือรถ แต่เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา สำหรับรถใหม่ๆ ก็ยังทำได้อยู่คือเมื่อหม้อน้ำอลูมิเนียมรั่วแล้ว แทนที่จะไปเปลี่ยน ที่เป็นอลูมิเนียมเหมือนเดิม ซึ่งซ่อมบำรุงไม่ได้เลย ก็ไปเปลี่ยนเป็นหม้อน้ำทองเหลือง ทองแดง ซึ่งดูแลรักษาง่ายกว่า และหม้อน้ำนั้นสามารถซ่อมได้

ฝาปิดหม้อน้ำ

radiator cap
ฝาปิดหม้อน้ำรถยนต์

หน้าที่การทำงาน

ฝาหม้อน้ำสามารถเก็บแรงดันในหม้อ ทำให้จุดเดือดของน้ำเพิ่มสูงขึ้น เป็น 120 องศาเซลเซียส จากเดิม 100 องศาเซลเซียสปัญหา
ความดันของหม้อน้ำจะถูกควบคุมด้วยฝาหม้อน้ำ ดังนั้นต้องมีการตรวจสอบการทำงานของวาล์ว แหวนซีลต้องขยับตัวได้อิสระต้านกับแรงสปริง และแหวนยางต้องมีสภาพที่ดี แผ่นยางและสปริง เมื่อใช้งานไปนาน ๆ แผ่นยางจะเสื่อมไม่สามารถเก็บแรงดันได หรือสปริงเสื่อมแรงต้านลดลงไม่สามารถเก็บแรงดันได้สูง เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงจะไหลกลับไปยังถังพักน้ำ แต่จะไม่ไหลกลับเข้าหม้อน้ำเมื่อเมื่อเครื่องเย็น ทำให้น้ำในหม้อน้ำลดลง ขาดประสิทธิภาพในการระบายความร้อนทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูงกว่าปกติ

วิธีดูแลรักษา

ต้องทำการตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำเป็นประจำ ปกติระดับน้ำในหม้อน้ำจะเต็มเสมอ หากผู้ขับขี่ตรวจพบว่ามีการพร่องของน้ำในหม้อน้ำ แสดงว่ามีการรั่วของหม้อน้ำ หรือระบบระบายความร้อนมีปัญหา บางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากการปล่อยน้ำในถังพักน้ำแห้งเนื่องจากฝาหม้อเสื่อมสภาพ การเปลี่ยนฝาหม้อน้ำใหม่ จะต้องมีขนาดเขี้ยวล๊อคฝา และแรงดันเท่าเดิม ต้องสังเกตด้วยว่าเป็นหน่วยอะไร


ถังพักน้ำ

ถังพักน้ำ
ถังพักน้ำ

หน้าที่การทำงาน

เมื่อน้ำในหม้อร้อนและขยายตัว มันจะดันผ่านวาล์วฝาปิดหม้อน้ำไหลมาถังพักน้ำ เมื่อเครื่องยนต์เย็นน้ำและแรงดันในหม้อลดลง มันจะดูดน้ำจากถังพักน้ำไหลเข้าหม้อน้ำ

ปัญหา

ถ้าผู้ขับขี่พบว่าเวลาเคื่รองเย็นน้ำในถังพักน้ำมีปริมาณมากผิดปกติ โดยที่ไม่ได้เติมน้ำเกินขีดสูงสุด แสดงว่าปะเก็นฝาสูบอาจจะแตก ผู้ขับขี่สามารถตรวจเช็ค้ดวยการเปิดฝาหม้อน้ำเอาไว้ ติดเครื่องจนเครื่องร้อนแล้วเร่งเครื่อง สังเกตน้ำในหม้อน้ำถ้ามีฟองอากาศวิ่งผ่านแสดงว่าฝาปะเก็นสูบแตก ในทางกลับกันพบว่าน้ำในถังลดระดับเร็วจนต้องเติมน้ำบ่อย ๆ แสดงว่าฝาหม้อน้ำมีปัญหา หรือมีการรั่วในระบบระบายความร้อน

พัดลมระบายความร้อน

Radiator Fan

พัดลมระบายความร้อน

หน้าที่การทำงาน

มีหน้าที่ดูดลมให้ผ่านรังผึ้งหม้อน้ำ เพื่อระบายความร้อนน้ำหล่อเย็น พัดลมจะมีปะโยชน์เมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วต่ำหรือการจอดรถเป็นเวลานาน ๆ เช่น รถติด แต่ถ้ารถวิ่งด้วยความเร็วระดับ 60 กม./ชม.ขึ้นไป จะมีกระแสลมที่มาปะทะรังผึ้งหม้อน้ำ เครื่องยนต์ก็ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลม ในเวลารถติดถ้าพัดลมมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่เพียงพอ จะทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูง

ปัญหา

สาเหตุที่พัดลมมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่เพียงพอ เนื่องมาจาก ใบพัดเสื่อมสภาพไม่กินลม ชุดฟรีคลัทช์ของแกนใบพัดเสื่อม ทำให้ใบพัดหมุนช้าในรอบต่ำ

วิธีดูแลรักษา

เมื่อชุดฟรีคลัทช์ของแกนใบพัดเสื่อม วิธีแก้ไขต้องอัดน้ำยาประเภทพาราฟินเพิ่ม หรือเปลี่ยนชุดฟรีคลัทช์ใหม่ ส่วนรถที่ใช้พัดลมไฟฟ้า จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบควบคุมทำให้ใบพัดไม่หมุน หรือหมุนแต่ไม่เร็วพอเนื่องจากการเสื่อมสภาพของมอเตอร์ใบพัด หรือถ่านสึก ต้องซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่

สายพาน

หน้าที่การทำงาน

ทำหน้าที่ขับเคลื่อนปั๊มน้ำ พัดลมและอัลเทอร์เนเตอร์

ปัญหา

ถ้าสายพานตึงเกินไปอาจทำให้แบริ่งของปั๊มน้ำและอัลเทอร์เนเตอร์เสียได้ แต่ถ้าสายพานหย่อนเกินไปจะเกิดการลื่นไถล ทำให้พัดลม ปั๊มน้ำ และอัลเทอร์เนเตอร์ทำงานไม่เต็มที่และจะทำให้สายพานเสียหายในที่สุด

เมื่อพบความผิดปกติของสายพานควรเปลี่ยนใหม่ก่อนที่จะขาด สภาพสายพานที่ควรเปลี่ยนใหม่ คือ

1. สายพานหักเป็นช่วง ๆ ตรวจสอบโดยการดัดสายพานให้โค้งงอ จะเห็นร่องรอยการแตกหักเป็นช่วง ๆ
2. สายพานถูกน้ำหล่อลื่นหรือจารบีจับเป็นเวลานาน จนมีสภาพอ่อนนุ่มและยุ้ย
ยางสายพานแยกตัวออกจากเส้นใย
3. สายพานมีลักษณะเป็นเงามันเนื่องมาจากการลื่นไถล ถ้าลื่นไถลมากจะเงามาก
ถ้าสายพานเพิ่งเริ่มเป็นเงาเพียงเล็กน้อยควรปรับให้ตึงขึ้นเลํกน้อย จะช่วยให้ดีขึ้น
4. สายพานมีรอยขาด เส้นใยเริ่มสึกและขาดในที่สุด
5. สายพานแยกตัวเป็นชั้น ๆ และเส้นใยแตกเป็นฝอย ปล่อยไว้นาน ๆ จะทำให้สายพานขาด

             การปรับความตึงของสายพานต้องคลายสลักเกียวที่อัลเทอร์เนเตอร์ ที่ยึดติดกับเครื่องยนต์ด้วยแป้นยึดและ
สลักเกียวที่ก้านปรับซึ่งจะมี ร่องสำหรับการปรับระยะ ถ้าต้องการปรับสายพานให้ตึง
ใช้ไม้สอดเข้าไประหว่าง อัลเทอร์เนเตอร์กับเสื้อสูบ แล้วงัดเบา ๆ เมื่อสายพานตึงตามที่ต้องการแล้ว
ก็ให้ขันสลักเกียวของก้านปรับใหเฃ้แน่น หลังจากนั้นก็ตรวจสอบความตึงของสายพานอีกครั้ง
แต่ถ้าสายพานตึงเกินไป ให้ดันอัลเทอร์เนเตอร์เข้าหาเครื่อง
การเปลี่ยนสายพานต้องคลายสลักเกียวออกทุกตัวก่อนและดันให้อัลเทอร์เนเตอร์เข้าหาเครื่องยนต์แล้วดึง
สายพานออกจากพูลเลย์อันบนสุดและถอดสายพานออกจากพูลเลย์ของเพลาข้อเหวี่ยงและปั๊มน้ำ
แต่ถ้าเครื่องยนต์ติดตั้งแบบตามขวาง ต้องถอดสายพานให้ผ่านใบพัดของพัดลม

             สำหรับเครื่องยนต์บางรุ่นต้องถอดกำบังลมออกก่อน การเลือกสายพานใหม่ควรเลือกชนิดที่ผู้ผลิตกำหนด และต้องตรวจสอบเบอร์ของสายพาน ให้เท่ากับสายพานเก่า ก่อนใส่สายพานควรทำความสะอาดร่องพูลเลย์ก่อน แล้วคล้องสายพานเข้าไปในร่องพูลเลย์ถ้าไม่สามารถใส่สายพานเข้าร่องพูลเลย์ ได้ง่ายก็ให้หมุนพูลเลย
 ์โดยหมุนที่ใบพัดของพัดลมหรือใช้ประแจช่วยในการหมุนหลังจากนั้นตรวจดูว่าสายพานเข้าไป
ในร่องสายพานได้อย่างเหมาะสมและไม่บิดตัว แล้วปรับความตึงของสายพาน ควรตรวจสอบความตึงของสายพานหลังจากที่ใช้งานไปแล้ว 300 กิโลเมตร
เมื่อสายพานพัดลมมีเสียงดังเอี๊ยด ๆ อย่าใช้น้ำมันหล่อลื่นทาเด็ดขาดเพราะถ้าทาน้ำมันเสียงจะหายไปชั่วคราว แต่สายพานจะบวมหรือเหนียวจนใช้งานไม่ได้

ท่อยางตัวล่าง

ท่อยางตัวล่าง

ท่อยางตัวล่าง


หน้าที่การทำงาน

เป็นตัวนำน้ำจากหม้อน้ำที่เย็นลงบ้างแล้วกลับเข้าเครื่องยนต์

ปัญหา

จะเกิดการรั่วซึมของน้ำ ใช้มือบีบท่อน้ำตามความยาวของท่อให้สังเกตดูส่วนล่างของท่อยางหรือด้านล่างใต้ท่อยาง ว่ามีรอยของการรั่วซึมหรือการหยดของน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งและข้อต่อ ท่อน้ำต้องไม่นิ่มหรือแข็งกระด้าง หรือมีอาการบวมเพราะอาจจะทำให้ท่อแตกได้เมื่ออยู่ภายใต้ความดัน สายรัดท่อเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกับท่อ ควรมีการตรวจสอบสายรัดท่อด้วย

วิธีดูแลรักษา

ต้องตรวจเช็คสภาพและคอยเปลี่ยนเหมือนกับท่อยางตัวบน โดยเปลี่ยนท่อยางตัวบน 2 ครั้ง ต่อการเปลี่ยนท่อยางตัวล่าง 1 ครั้ง
การถ่ายน้ำหล่อเย็นควรทำทุก ๆ 2 - 3 ปี ควรทำในขณะที่เครื่องเย็น โดยการคลายปลั๊กถ่ายน้ำของหม้อน้ำออก ควรเปิดฝาหม้อน้ำด้วยเพื่อการไหลของน้ำเร็วขึ้น จากนั้นใส่ปลั๊กถ่ายน้ำเข้าที่เดิมแล้วเติมน้ำเข้าไปในหม้อน้ำ หลังจากนั้นก็ปล่อยให้เครื่องทำงานเพื่อที่จะไลฟอง่อากาศออกจากระบบ และอย่าลืมเติมน้ำในถังสำรองด้วย
เมื่อรถมีการใช้งานไปนาน ๆ น้ำหล่อเย็นจะหายไปบางส่วน การเติมน้ำหล่อเย็นไม่ควรทำในขณะที่เครื่องร้อนเพราะน้ำร้อนและไอน้ำภายใต้ ความดันจะพุ่งออกมา แต่ถ้าจำเป็นจริงก็ควรใช้ผ้าปิดบนฝาหม้อน้ำ และค่อย ๆ คลายออกทีละน้อยเพื่อให้ความดันออกมาทีละน้อย
ถ้าน้ำในถังสำรองลดลงมากก็เติมในถังน้ำสำรองได้ทันทีควรมีการเติมน้ำยาผสมลงไปในน้ำ หล่อเย็นด้วยเพื่อป้องกันการเกิดตะกรันและเพิ่มจุดเดือดของน้ำให้สูงขึ้น ปริมาณน้ำยาที่เติมลงไปในน้ำควรมีปริมาณที่เหมาะสมตามที่กำหนด

ท่อยางตัวบน

ท่อยางตัวบน
ท่อยางตัวบน

หน้าที่การทำงาน

เป็นทางไหลของน้ำที่ได้รับความร้อนจากเครื่องยนต์แล้วไหลมายังหม้อน้ำเพื่อที่จะระบายความร้อน อายุการใช้งานของท่อยางตัวบนมักจะสั้นและเกิดปัญหาบ่อย จึงควรมีการตรวจสอบของท่อยางเป็นประจำว่า มีการแข็งตัว มีรอยแตก รอยบวมหรือไม่ แต่ถ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 3 - 4 ปี ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่และควรจะเปลี่ยนพร้อมกับเหล็กรัดท่อยาง ไม่ควรที่จะใช้เหล็กรัดตัวเก่าเพราะอาจจะทำให้รัดไม่แน่น หรือมีการคลายตัวทีหลัง

ปัญหา

จะเกิดการรั่วซึมของน้ำ ใช้มือบีบท่อน้ำตามความยาวของท่อให้สังเกตดูส่วนล่างของท่อยางหรือด้านล่างใต้ท่อยาง ว่ามีรอยของการรั่วซึมหรือการหยดของน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งและข้อต่อ ท่อน้ำต้องไม่นิ่มหรือแข็งกระด้าง หรือมีอาการบวมเพราะอาจจะทำให้ท่อแตกได้เมื่ออยู่ภายใต้ความดัน สายรัดท่อเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกับท่อ ควรมีการตรวจสอบสายรัดท่อด้วย

วิธีดูแลรักษา

อายุการใช้งานของท่อยางตัวบนมักจะสั้นและเกิดปัญหาบ่อย จึงควรมีการตรวจสอบของท่อยางเป็นประจำว่า มีการแข็งตัว มีรอยแตก รอยบวมหรือไม่ แต่ถ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 3 - 4 ปี ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่และควรจะเปลี่ยนพร้อมกับเหล็กรัดท่อยาง ไม่ควรที่จะใช้เหล็กรัดตัวเก่าเพราะอาจจะทำให้รัดไม่แน่น หรือมีการคลายตัวทีหลัง ผู้ขับขี่ต้องมีการตรวจสภาพของท่อน้ำสภาพของท่อน้ำที่ควรจะเปลี่ยนใหม่
1. ท่อน้ำที่มีสภาพบวมโปร่ง ควรมีการเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะท่อน้ำอาจจะระเบิดได้ทุกเวลาเมื่อร้อนจัด หรืออยู่ภายใต้ความดันสูง การที่ท่อน้ำบวมมีสาเหตุจากบริเวณที่บวมมีคราบน้ำมันหล่อลื่นเปียกชื้นอยู่เสมอ
2. ท่อน้ำที่มีรอยแตกร้าวเป็นเส้นหรือแตกเป็นลาย ควรเปลี่ยนใหม่ทันทีเพราะถ้าปล่อยไว้นาน ๆ แล้วเส้นใยภายในท่อน้ำจะเริ่มขาดและท่อน้ำจะฉีกขาดในที่สุด
3. ปลายท่อน้ำชำรุดมีสาเหตุมาจากสายรัดท่อแน่นเกินไป กดยางจนเปื่อย หรือสายรัดหลวมเกินไป ทำให้มีน้ำรั่วออกมาในขณะที่เครื่องร้อน ปลายท่อจะบานและมีตะกอนจับ ดังนั้นควรใช้สายรัดท่อที่มีความกระชับพอดีกับขนาดท่อ
4. มีตะกอน ตะกรัน และสิ่งสกปรกอยู่ภายในท่อน้ำ ทำให้ท่อน้ำเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
5. ถ้าบีบท่อน้ำแล้วท่อน้ำนิ่มเกินไปหรือตีบแน่น หรือท่อน้ำแข็งจนบีบไม่ลง ควรเปลี่ยนใหม่

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก aisleberley.com

Audi A8L Hybrid / ออดี้ A8L ไฮบริท ใหม่ ราคาเบาๆ

Audi A8L Hybrid ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา เน้นขุมพลังไฮบริดแรงและประหยัดน้ำมัน เคาะราคาสุดยั่วใจเพียง 5.99 ล้านบาท

     บริษัท เยอรมัน มอเตอร์ เวิร์ค จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่าย AUDI อย่างเป็นทางการในไทย เปิดตัว The New A8L Hybrid รุ่นใหม่ล่าสุด หลังจากที่ได้เปิดตัว A3 Saloon ใหม่ไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยนางสาวอาภัสรา ประทีปะเสน
     ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เยอรมัน มอเตอร์ เวิร์ค จำกัด กล่าวว่า ออดี้ เอ8แอล ไฮบริด ใหม่ จะวางตำแหน่งทางการตลาดในกลุ่มรถยนต์ซุปเปอร์พรีเมี่ยมจากเยอรมันเพื่อแข่งขันโดยตรงกับรถสำหรับผู้บริหาร

     รูปลักษณ์ภายนอกของ Audi A8L Hybrid ถูกออกแบบอย่างสง่างามตามสไตล์ออดี้ กระจังหน้าเฟรมเดี่ยวเรียงกันอย่างเฉียบคม รับกับไฟหน้าแบบ Matrix LED ที่ปรับตามองศาการเลี้ยวและอุณหภูมิของแสง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่มีเฉพาะในออดี้เท่านั้น นอกจากนั้น ตัวถังภายนอกเป็นแบบ Audi Space Frame ซึ่งใช้โครงสร้างแบบอลูมิเนียมทั่วทั้งคัน ซึ่งน้ำหนักเบากว่าเหล็กถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่รองรับแรงบิดได้ดียิ่งขึน
     นอกจากนั้น ออดี้ได้ติดตั้งระบบระบายอากาศภายในห้องโดยสารที่ทำงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ “โซล่า รูฟ” (Solar Sunroof) เพื่อช่วยระบายความร้อนเมื่อจอดรถกลางแจ้งอีกด้วย

     ภายในห้องโดยสารติดตั้งระบบ MMI (Multi Media Interface) พร้อม ระบบควบคุมมัลติฟังก์ชั่นที่พวงมาลัย เครื่องเสียง BOSE รวมถึงระบบ Rear Seat Entertainment พร้อมจอ LCD ขนาด 10.2 นิ้ว และยังติดตั้งระบบผ่อนแรงปิดประตู ระบบปิดฝากระโปรงท้ายด้วยไฟฟ้า เป็นต้น

     เครื่องยนต์ที่ติดตั้งใน Audi A8L ใหม่ เป็นแบบไฮบริดขับเคลื่อนล้อหน้า ใช้เครื่อง ยนต์เบนซินความจุ 2.0 ลิตร 4 สูบ TFSI ระบบไดเร็คอินเจคชั่น ให้กำลังสูงสุด 211 แรงม้า ที่ 4,300-6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 350 นิวตัน-เมตร ที่ 1,500-4,200 รอบต่อนาที ทำงานคู่กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 54 แรงม้า ทำให้ A8L Hybrid มีกำลังสูงสุด 245 แรงม้า และแรงบิดสูงสุดรวม 480 นิวตัน-เมตร
     ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ Tiptronic 8 สปีด พร้อมมอเตอร์ไฟฟ้าในตัว ระบบกันสะเทือนแบบถุงล (Adaptive Air Suspension) และล้ออลูมิเนียมอัลลอยขนาด 19 นิ้ว

     Audi A8L Hybrid ยังโดดเด่นด้วย ระบบความปลอดภัยสุดล้ำอย่าง ระบบป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ Audi Pre Sense Basic, ระบบป้องกันแรงกระแทกด้านข้าง, ถุงลมนิรภัยคู่หน้าทำงาน 2 จังหวะ, ถุงลมนิรภัยด้านข้าง และม่านถุงลมนิรภัย , ระบบช่วยขับขี่กลางคืน (Night vision assistant), ระบบเบรค ABS, EBD และ Brake Assist, ไฟหน้าเปิด-ปิดอัตโนมัติพร้อมไฟส่องทางเมื่อล็อครถ ผ่านมาตรฐาน EuroNCAP ระดับ 5 ดาว

     Audi A8L Hybrid เคาะราคาจำหน่ายที่ 5.99 ล้านบาท มาพร้อมวารันตีนาน 5 ปี หรือ 1 แสนกิโลเมตร และรับประกันแบตเตอรี่ไฮบริดนานสูงสุด 5 ปี