ส่วนประกอบต่างๆในการระบายความร้อนเครื่องยนต์ / engine heat exchage components

ส่วนประกอบที่ช่วยในการระบายความร้อน



 

ปั๊มน้ำ

ปั้มน้ำ ระบบระบายความร้อนรถยนต์
ปั้มน้ำ ระบบระบายความร้อนรถยนต์

หน้าที่การทำงานของปั้มน้ำ

ทำให้น้ำหมุนเวียนจากเครื่องไปยังหม้อน้ำแล้วไหลกลับเข้า เครื่องการทำงานของ ปั๊มน้ำจะอาศัยสายพานจาก เครื่องยนต์มาหมุนและจะมีลูกปืน มารองรับในการหมุน

ปัญหาของปั้มน้ำ

สาเหตุที่ทำให้ปั๊มน้ำไม่ทำงาน สาเหตุแรกก็คือสายพานขาด เมื่อสายพานขาดปั๊มน้ำก็ไม่สามารถหมุน เมื่อปั๊มน้ำไม่หมุนก็ไม่มีการไหลเวียนของน้ำเพื่อเอาความร้อนออกจากเครื่องยนต์
สาเหตุอีกประการหนึ่ง คือการสึกหรอ หรือแตกของลูกปืนจะทำให้ปั๊มน้ำปิดตายไม่ยอมหมุน
หรือหมุนแบบแกว่งตัว ทำให้ส่วยอื่นของเครื่องยนต์เสียหายตามไปด้วย ส่วนปัญหาที่เจอกันบ่อยของปั๊มน้ำก็คือปั๊มน้ำรั่ว การตรวจสอบทำโดยการติดเครื่องและเร่งเครื่องยนต์จะทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าจะมีน้ำไหลออกมา
แต่ถ้าจอดรถไว้เฉย ๆ โดยไม่มีการติดเครื่องยนต์ หรือติดเครื่องในรอบเดินเบาน้ำจะไม่รั่วซึมให้เห็นการรั่วของปั๊มน้ำส่วนมาก มักจะเกิด
ในบริเวณซิลแกนหมุนน้ำจะไหลออกมาทางด้านหน้าและออกจากรูระบายอากาศ


วิธีดูแลรักษาปั้มน้ำ

1. ต้องคอยตรวจสอบสายพานให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ อย่าให้ขาด สายพานควรจะเปลี่ยนใหม่เมื่อมีการใช้งานรถเป็นระยะทาง 40,000 ก.ม
2. เมื่อลูกปืนปั๊มน้ำมีเสียงดังแสดงว่าลูกปืนสึกหรอควรรีบเปลี่ยนทันที
3. การตรวจสอบแบริ่งของปั้มน้ำ ทำโดยจับใบพัดทั้งส่วนบนและล่างและโยกไปมาข้างหน้าและข้างหลัง ถ้าใบพัดขยับได้แสดงว่าแบริ่งปั้มน้ำสึกหล่อ ต้องเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าปั๊มน้ำไม่มีใบพัด ให้จับบนพูลเลย์ ในบางครั้งซีลปั๊มน้ำรั่วจะมีน้ำไหลออกมา หรือแบริ่งมีเสียงก็ควรเปลี่ยนปั๊มน้ำใหม่

วาล์วน้ำ (เทอร์โมสตัท) / Water Value (Thermostat)

วาล์วน้ำ (เทอร์โมสตัท) / Water Value (Thermostat)
วาล์วน้ำ

หน้าที่การทำงาน

ทำหน้าที่ปิดกั้นทางเดินน้ำไม่ให้ไหลเข้าเครื่องเมื่อเครื่องยนต์เย็น เพื่อที่จะทำให้เครื่องยนต์ร้อนถึงอุณหภูมิการทำงานเร็วขึ้น

 ปัญหา

วาล์วน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ก็ยังมีโอกาสเสีย เช่น วาล์วน้ำไม่เปิดเมื่อร้อนเนื่องจากเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้เครื่องร้อนจัด(โอเวอร์ ฮีท) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทำได้โดยการถอดวาล์วน้ำออกชั่วคราว ก่อนถอดวาล์วน้ำออก ให้ถ่ายน้ำหล่อเย็นออกบางส่วน ถอดท่อน้ำออกจากโลหะ ถอดแป้นเกลียวที่ยึดฝาครอบวาล์วน้ำ ควรคลายแป้นเกลียวออกทีละน้อย ๆ เพื่อไม่ให้ฝาครอบบิดตัว ถ้าฝาครอบติดแน่นบนเสื้อหุ้ม ให้ใช้แท่งไม้ตอกเบา ๆ เพื่อให้ฝาครอบหลุดออกมา หลังจากนั้นยกวาล์วน้ำออกและควรใช้เศศษผ้าอุดช่องเปิดไว้ก่อน ขูดปะเก็นเก่าออกให้หมดแล้วทำความสะอาดผิวหน้าประกบและเปลี่ยนประเก็นใหม่ สังเกตว่าวาล์วน้ำเสียหรือไม่ดูจากจากการเปิดฝาหม้อน้ำแล้วติดเครื่องยนต์จนร้อนแล้วเร่งเครื่อง ถ้าเกจ์วัดความร้อนขึ้นสูงแต่ไม่มีการหมุนวนของน้ำอย่างเร็วโดยดูจากช่องฝาปิดหม้อน้ำที่เปิดไว้ แสดงว่าวาล์วน้ำมีปัญหา หรืออีกกรณีหนึ่งการที่วาล์วเปิดตลอดเวลาทำให้เครื่องยนต์ร้อนช้า ถ้าเปิดฝาหม้อน้ำแล้วเร่งเครื่องถึงแม้ว่าเครื่องยนต์จะเย็นก็ตามแต่จะมีการหมุนวนของน้ำอย่างเร็ว

วิธีดูแลรักษา

การตรวจสอบวาล์วน้ำทำโดยเริ่มตันจากการสตาร์ตเครื่องยนต์ในขณะที่เครื่องเย็น ใช้มือสัมผัสที่หม้อน้ำหรือท่อน้ำอันบน ซึ่งในช่วงแรกยังคงเย็นอยู่แต่ถ้าผ่านไปสัก 2 - 3 นาที จะร้อนขึ้นอย่างเร็ว แสดงว่าวาล์วน้ำทำงานผิกปกติ แต่ถ้าค่อย ๆ ร้อนขึ้นทีละหน่อย แสดงว่าวาล์วน้ำเปิดค้างตลอดเวลา แต่ถ้าร้อนขึ้นช้ามากและเครื่องเริ่มร้อนจัด แสดงว่าวาล์วน้ำปิดตายถ้าต้องการทราบว่าวาล์วน้ำทำงานได้หรือไม่ ทำโดยถอดวาล์วน้ำแล้วนำไปแช่ในน้ำร้อน เมื่อน้ำมีอุณหภูมิขึ้นจนมีค่าใกล้เคียงกับอุณหภูมิทำงานที่แสดงไว้บนวาล์ว วาล์วน้ำจะเปิดออก และเมื่อยกวาล์วน้ำขึ้นจากน้ำร้อนแล้วบ่อยให้เย็น วาล์วน้ำก็จะปิด

หม้อน้ำ

รังผึ้งหม้อน้ำรถยนต์
หม้อน้ำรถยนต์


หน้าที่การทำงาน

ระบายความร้อนของน้ำที่เดินทางมาจากเครื่องยนต์ โดยที่หม้อน้ำจะมีท่อทางเดินน้ำซึ่งคิดภาพเหมือนเป็นท่อน้ำที่ต่อระหว่างฝาบนกับฝาล่างของรังผึ้งหม้อน้ำ ส่วนตัวรังผึ้งหม้อน้ำนั้นก็จะมีแผ่นครีบระบายความร้อน หรือเรียกกันแผ่นฟินระบายความร้อน ซึ่งจะถ่ายเทความร้อนจากตัวท่อน้ำออกมาที่ครีบ และลมที่ปะทะตัวครีบ จะดึงความร้อนออกไปจากตัวหม้อน้ำ ทำให้อุญหภูมิน้ำในหม้อน้ำเย็นลง และส่งน้ำนั้นกลับเข้าไปในเครื่องยนต์ต่อไป

ปัญหา

การรั่วของหม้อน้ำ ถ้ารั่วตามตะเข็บตัวล่างจะทำให้สังเกตได้ยากเพราะเพราะส่วนของหม้อน้ำจะบังเอาไว ้แต่ถ้ามีการรั่วซึมในบริเวณอื่นจะสังเกตได้ง่าย ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของหม้อน้ำก็คือการอุดตัน
ถ้ามีการอุดตันของหม้อน้ำ ต้องมีการถอดหม้อน้ำออกมาทำความสะอาดโดยการทะลวงเอาสิ่งสกปรกออกมา แต่ถ้าเป็นหม้อน้ำรุ่นใหม่ที่เป็นอลูมิเนียมและใช้ฝาครอบพลาสติกจะใหญ่จะถอด ออกมาไม่ได้ การใช้น้ำยาล้างหม้อน้ำแก้การอุดตันของหม้อน้ำส่วนใหญ่จะได้ผลไม่ดีนัก ดังนั้นผู้ขับขี่ควรจะมีการป้องกันการอุดตันของหม้อน้ำ โดยการใช้น้ำยาหม้อน้ำของทางบริษัทรถ และมีการเปลี่ยนน้ำปีละครั้งหรือสองครั้งตามคำแนะนำของคู่มือรถ แต่เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา สำหรับรถใหม่ๆ ก็ยังทำได้อยู่คือเมื่อหม้อน้ำอลูมิเนียมรั่วแล้ว แทนที่จะไปเปลี่ยน ที่เป็นอลูมิเนียมเหมือนเดิม ซึ่งซ่อมบำรุงไม่ได้เลย ก็ไปเปลี่ยนเป็นหม้อน้ำทองเหลือง ทองแดง ซึ่งดูแลรักษาง่ายกว่า และหม้อน้ำนั้นสามารถซ่อมได้

ฝาปิดหม้อน้ำ

radiator cap
ฝาปิดหม้อน้ำรถยนต์

หน้าที่การทำงาน

ฝาหม้อน้ำสามารถเก็บแรงดันในหม้อ ทำให้จุดเดือดของน้ำเพิ่มสูงขึ้น เป็น 120 องศาเซลเซียส จากเดิม 100 องศาเซลเซียสปัญหา
ความดันของหม้อน้ำจะถูกควบคุมด้วยฝาหม้อน้ำ ดังนั้นต้องมีการตรวจสอบการทำงานของวาล์ว แหวนซีลต้องขยับตัวได้อิสระต้านกับแรงสปริง และแหวนยางต้องมีสภาพที่ดี แผ่นยางและสปริง เมื่อใช้งานไปนาน ๆ แผ่นยางจะเสื่อมไม่สามารถเก็บแรงดันได หรือสปริงเสื่อมแรงต้านลดลงไม่สามารถเก็บแรงดันได้สูง เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงจะไหลกลับไปยังถังพักน้ำ แต่จะไม่ไหลกลับเข้าหม้อน้ำเมื่อเมื่อเครื่องเย็น ทำให้น้ำในหม้อน้ำลดลง ขาดประสิทธิภาพในการระบายความร้อนทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูงกว่าปกติ

วิธีดูแลรักษา

ต้องทำการตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำเป็นประจำ ปกติระดับน้ำในหม้อน้ำจะเต็มเสมอ หากผู้ขับขี่ตรวจพบว่ามีการพร่องของน้ำในหม้อน้ำ แสดงว่ามีการรั่วของหม้อน้ำ หรือระบบระบายความร้อนมีปัญหา บางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากการปล่อยน้ำในถังพักน้ำแห้งเนื่องจากฝาหม้อเสื่อมสภาพ การเปลี่ยนฝาหม้อน้ำใหม่ จะต้องมีขนาดเขี้ยวล๊อคฝา และแรงดันเท่าเดิม ต้องสังเกตด้วยว่าเป็นหน่วยอะไร


ถังพักน้ำ

ถังพักน้ำ
ถังพักน้ำ

หน้าที่การทำงาน

เมื่อน้ำในหม้อร้อนและขยายตัว มันจะดันผ่านวาล์วฝาปิดหม้อน้ำไหลมาถังพักน้ำ เมื่อเครื่องยนต์เย็นน้ำและแรงดันในหม้อลดลง มันจะดูดน้ำจากถังพักน้ำไหลเข้าหม้อน้ำ

ปัญหา

ถ้าผู้ขับขี่พบว่าเวลาเคื่รองเย็นน้ำในถังพักน้ำมีปริมาณมากผิดปกติ โดยที่ไม่ได้เติมน้ำเกินขีดสูงสุด แสดงว่าปะเก็นฝาสูบอาจจะแตก ผู้ขับขี่สามารถตรวจเช็ค้ดวยการเปิดฝาหม้อน้ำเอาไว้ ติดเครื่องจนเครื่องร้อนแล้วเร่งเครื่อง สังเกตน้ำในหม้อน้ำถ้ามีฟองอากาศวิ่งผ่านแสดงว่าฝาปะเก็นสูบแตก ในทางกลับกันพบว่าน้ำในถังลดระดับเร็วจนต้องเติมน้ำบ่อย ๆ แสดงว่าฝาหม้อน้ำมีปัญหา หรือมีการรั่วในระบบระบายความร้อน

พัดลมระบายความร้อน

Radiator Fan

พัดลมระบายความร้อน

หน้าที่การทำงาน

มีหน้าที่ดูดลมให้ผ่านรังผึ้งหม้อน้ำ เพื่อระบายความร้อนน้ำหล่อเย็น พัดลมจะมีปะโยชน์เมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วต่ำหรือการจอดรถเป็นเวลานาน ๆ เช่น รถติด แต่ถ้ารถวิ่งด้วยความเร็วระดับ 60 กม./ชม.ขึ้นไป จะมีกระแสลมที่มาปะทะรังผึ้งหม้อน้ำ เครื่องยนต์ก็ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลม ในเวลารถติดถ้าพัดลมมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่เพียงพอ จะทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูง

ปัญหา

สาเหตุที่พัดลมมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่เพียงพอ เนื่องมาจาก ใบพัดเสื่อมสภาพไม่กินลม ชุดฟรีคลัทช์ของแกนใบพัดเสื่อม ทำให้ใบพัดหมุนช้าในรอบต่ำ

วิธีดูแลรักษา

เมื่อชุดฟรีคลัทช์ของแกนใบพัดเสื่อม วิธีแก้ไขต้องอัดน้ำยาประเภทพาราฟินเพิ่ม หรือเปลี่ยนชุดฟรีคลัทช์ใหม่ ส่วนรถที่ใช้พัดลมไฟฟ้า จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบควบคุมทำให้ใบพัดไม่หมุน หรือหมุนแต่ไม่เร็วพอเนื่องจากการเสื่อมสภาพของมอเตอร์ใบพัด หรือถ่านสึก ต้องซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่

สายพาน

หน้าที่การทำงาน

ทำหน้าที่ขับเคลื่อนปั๊มน้ำ พัดลมและอัลเทอร์เนเตอร์

ปัญหา

ถ้าสายพานตึงเกินไปอาจทำให้แบริ่งของปั๊มน้ำและอัลเทอร์เนเตอร์เสียได้ แต่ถ้าสายพานหย่อนเกินไปจะเกิดการลื่นไถล ทำให้พัดลม ปั๊มน้ำ และอัลเทอร์เนเตอร์ทำงานไม่เต็มที่และจะทำให้สายพานเสียหายในที่สุด

เมื่อพบความผิดปกติของสายพานควรเปลี่ยนใหม่ก่อนที่จะขาด สภาพสายพานที่ควรเปลี่ยนใหม่ คือ

1. สายพานหักเป็นช่วง ๆ ตรวจสอบโดยการดัดสายพานให้โค้งงอ จะเห็นร่องรอยการแตกหักเป็นช่วง ๆ
2. สายพานถูกน้ำหล่อลื่นหรือจารบีจับเป็นเวลานาน จนมีสภาพอ่อนนุ่มและยุ้ย
ยางสายพานแยกตัวออกจากเส้นใย
3. สายพานมีลักษณะเป็นเงามันเนื่องมาจากการลื่นไถล ถ้าลื่นไถลมากจะเงามาก
ถ้าสายพานเพิ่งเริ่มเป็นเงาเพียงเล็กน้อยควรปรับให้ตึงขึ้นเลํกน้อย จะช่วยให้ดีขึ้น
4. สายพานมีรอยขาด เส้นใยเริ่มสึกและขาดในที่สุด
5. สายพานแยกตัวเป็นชั้น ๆ และเส้นใยแตกเป็นฝอย ปล่อยไว้นาน ๆ จะทำให้สายพานขาด

             การปรับความตึงของสายพานต้องคลายสลักเกียวที่อัลเทอร์เนเตอร์ ที่ยึดติดกับเครื่องยนต์ด้วยแป้นยึดและ
สลักเกียวที่ก้านปรับซึ่งจะมี ร่องสำหรับการปรับระยะ ถ้าต้องการปรับสายพานให้ตึง
ใช้ไม้สอดเข้าไประหว่าง อัลเทอร์เนเตอร์กับเสื้อสูบ แล้วงัดเบา ๆ เมื่อสายพานตึงตามที่ต้องการแล้ว
ก็ให้ขันสลักเกียวของก้านปรับใหเฃ้แน่น หลังจากนั้นก็ตรวจสอบความตึงของสายพานอีกครั้ง
แต่ถ้าสายพานตึงเกินไป ให้ดันอัลเทอร์เนเตอร์เข้าหาเครื่อง
การเปลี่ยนสายพานต้องคลายสลักเกียวออกทุกตัวก่อนและดันให้อัลเทอร์เนเตอร์เข้าหาเครื่องยนต์แล้วดึง
สายพานออกจากพูลเลย์อันบนสุดและถอดสายพานออกจากพูลเลย์ของเพลาข้อเหวี่ยงและปั๊มน้ำ
แต่ถ้าเครื่องยนต์ติดตั้งแบบตามขวาง ต้องถอดสายพานให้ผ่านใบพัดของพัดลม

             สำหรับเครื่องยนต์บางรุ่นต้องถอดกำบังลมออกก่อน การเลือกสายพานใหม่ควรเลือกชนิดที่ผู้ผลิตกำหนด และต้องตรวจสอบเบอร์ของสายพาน ให้เท่ากับสายพานเก่า ก่อนใส่สายพานควรทำความสะอาดร่องพูลเลย์ก่อน แล้วคล้องสายพานเข้าไปในร่องพูลเลย์ถ้าไม่สามารถใส่สายพานเข้าร่องพูลเลย์ ได้ง่ายก็ให้หมุนพูลเลย
 ์โดยหมุนที่ใบพัดของพัดลมหรือใช้ประแจช่วยในการหมุนหลังจากนั้นตรวจดูว่าสายพานเข้าไป
ในร่องสายพานได้อย่างเหมาะสมและไม่บิดตัว แล้วปรับความตึงของสายพาน ควรตรวจสอบความตึงของสายพานหลังจากที่ใช้งานไปแล้ว 300 กิโลเมตร
เมื่อสายพานพัดลมมีเสียงดังเอี๊ยด ๆ อย่าใช้น้ำมันหล่อลื่นทาเด็ดขาดเพราะถ้าทาน้ำมันเสียงจะหายไปชั่วคราว แต่สายพานจะบวมหรือเหนียวจนใช้งานไม่ได้

ท่อยางตัวล่าง

ท่อยางตัวล่าง

ท่อยางตัวล่าง


หน้าที่การทำงาน

เป็นตัวนำน้ำจากหม้อน้ำที่เย็นลงบ้างแล้วกลับเข้าเครื่องยนต์

ปัญหา

จะเกิดการรั่วซึมของน้ำ ใช้มือบีบท่อน้ำตามความยาวของท่อให้สังเกตดูส่วนล่างของท่อยางหรือด้านล่างใต้ท่อยาง ว่ามีรอยของการรั่วซึมหรือการหยดของน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งและข้อต่อ ท่อน้ำต้องไม่นิ่มหรือแข็งกระด้าง หรือมีอาการบวมเพราะอาจจะทำให้ท่อแตกได้เมื่ออยู่ภายใต้ความดัน สายรัดท่อเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกับท่อ ควรมีการตรวจสอบสายรัดท่อด้วย

วิธีดูแลรักษา

ต้องตรวจเช็คสภาพและคอยเปลี่ยนเหมือนกับท่อยางตัวบน โดยเปลี่ยนท่อยางตัวบน 2 ครั้ง ต่อการเปลี่ยนท่อยางตัวล่าง 1 ครั้ง
การถ่ายน้ำหล่อเย็นควรทำทุก ๆ 2 - 3 ปี ควรทำในขณะที่เครื่องเย็น โดยการคลายปลั๊กถ่ายน้ำของหม้อน้ำออก ควรเปิดฝาหม้อน้ำด้วยเพื่อการไหลของน้ำเร็วขึ้น จากนั้นใส่ปลั๊กถ่ายน้ำเข้าที่เดิมแล้วเติมน้ำเข้าไปในหม้อน้ำ หลังจากนั้นก็ปล่อยให้เครื่องทำงานเพื่อที่จะไลฟอง่อากาศออกจากระบบ และอย่าลืมเติมน้ำในถังสำรองด้วย
เมื่อรถมีการใช้งานไปนาน ๆ น้ำหล่อเย็นจะหายไปบางส่วน การเติมน้ำหล่อเย็นไม่ควรทำในขณะที่เครื่องร้อนเพราะน้ำร้อนและไอน้ำภายใต้ ความดันจะพุ่งออกมา แต่ถ้าจำเป็นจริงก็ควรใช้ผ้าปิดบนฝาหม้อน้ำ และค่อย ๆ คลายออกทีละน้อยเพื่อให้ความดันออกมาทีละน้อย
ถ้าน้ำในถังสำรองลดลงมากก็เติมในถังน้ำสำรองได้ทันทีควรมีการเติมน้ำยาผสมลงไปในน้ำ หล่อเย็นด้วยเพื่อป้องกันการเกิดตะกรันและเพิ่มจุดเดือดของน้ำให้สูงขึ้น ปริมาณน้ำยาที่เติมลงไปในน้ำควรมีปริมาณที่เหมาะสมตามที่กำหนด

ท่อยางตัวบน

ท่อยางตัวบน
ท่อยางตัวบน

หน้าที่การทำงาน

เป็นทางไหลของน้ำที่ได้รับความร้อนจากเครื่องยนต์แล้วไหลมายังหม้อน้ำเพื่อที่จะระบายความร้อน อายุการใช้งานของท่อยางตัวบนมักจะสั้นและเกิดปัญหาบ่อย จึงควรมีการตรวจสอบของท่อยางเป็นประจำว่า มีการแข็งตัว มีรอยแตก รอยบวมหรือไม่ แต่ถ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 3 - 4 ปี ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่และควรจะเปลี่ยนพร้อมกับเหล็กรัดท่อยาง ไม่ควรที่จะใช้เหล็กรัดตัวเก่าเพราะอาจจะทำให้รัดไม่แน่น หรือมีการคลายตัวทีหลัง

ปัญหา

จะเกิดการรั่วซึมของน้ำ ใช้มือบีบท่อน้ำตามความยาวของท่อให้สังเกตดูส่วนล่างของท่อยางหรือด้านล่างใต้ท่อยาง ว่ามีรอยของการรั่วซึมหรือการหยดของน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งและข้อต่อ ท่อน้ำต้องไม่นิ่มหรือแข็งกระด้าง หรือมีอาการบวมเพราะอาจจะทำให้ท่อแตกได้เมื่ออยู่ภายใต้ความดัน สายรัดท่อเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกับท่อ ควรมีการตรวจสอบสายรัดท่อด้วย

วิธีดูแลรักษา

อายุการใช้งานของท่อยางตัวบนมักจะสั้นและเกิดปัญหาบ่อย จึงควรมีการตรวจสอบของท่อยางเป็นประจำว่า มีการแข็งตัว มีรอยแตก รอยบวมหรือไม่ แต่ถ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 3 - 4 ปี ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่และควรจะเปลี่ยนพร้อมกับเหล็กรัดท่อยาง ไม่ควรที่จะใช้เหล็กรัดตัวเก่าเพราะอาจจะทำให้รัดไม่แน่น หรือมีการคลายตัวทีหลัง ผู้ขับขี่ต้องมีการตรวจสภาพของท่อน้ำสภาพของท่อน้ำที่ควรจะเปลี่ยนใหม่
1. ท่อน้ำที่มีสภาพบวมโปร่ง ควรมีการเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะท่อน้ำอาจจะระเบิดได้ทุกเวลาเมื่อร้อนจัด หรืออยู่ภายใต้ความดันสูง การที่ท่อน้ำบวมมีสาเหตุจากบริเวณที่บวมมีคราบน้ำมันหล่อลื่นเปียกชื้นอยู่เสมอ
2. ท่อน้ำที่มีรอยแตกร้าวเป็นเส้นหรือแตกเป็นลาย ควรเปลี่ยนใหม่ทันทีเพราะถ้าปล่อยไว้นาน ๆ แล้วเส้นใยภายในท่อน้ำจะเริ่มขาดและท่อน้ำจะฉีกขาดในที่สุด
3. ปลายท่อน้ำชำรุดมีสาเหตุมาจากสายรัดท่อแน่นเกินไป กดยางจนเปื่อย หรือสายรัดหลวมเกินไป ทำให้มีน้ำรั่วออกมาในขณะที่เครื่องร้อน ปลายท่อจะบานและมีตะกอนจับ ดังนั้นควรใช้สายรัดท่อที่มีความกระชับพอดีกับขนาดท่อ
4. มีตะกอน ตะกรัน และสิ่งสกปรกอยู่ภายในท่อน้ำ ทำให้ท่อน้ำเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
5. ถ้าบีบท่อน้ำแล้วท่อน้ำนิ่มเกินไปหรือตีบแน่น หรือท่อน้ำแข็งจนบีบไม่ลง ควรเปลี่ยนใหม่

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก aisleberley.com

Audi A8L Hybrid / ออดี้ A8L ไฮบริท ใหม่ ราคาเบาๆ

Audi A8L Hybrid ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา เน้นขุมพลังไฮบริดแรงและประหยัดน้ำมัน เคาะราคาสุดยั่วใจเพียง 5.99 ล้านบาท

     บริษัท เยอรมัน มอเตอร์ เวิร์ค จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่าย AUDI อย่างเป็นทางการในไทย เปิดตัว The New A8L Hybrid รุ่นใหม่ล่าสุด หลังจากที่ได้เปิดตัว A3 Saloon ใหม่ไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยนางสาวอาภัสรา ประทีปะเสน
     ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เยอรมัน มอเตอร์ เวิร์ค จำกัด กล่าวว่า ออดี้ เอ8แอล ไฮบริด ใหม่ จะวางตำแหน่งทางการตลาดในกลุ่มรถยนต์ซุปเปอร์พรีเมี่ยมจากเยอรมันเพื่อแข่งขันโดยตรงกับรถสำหรับผู้บริหาร

     รูปลักษณ์ภายนอกของ Audi A8L Hybrid ถูกออกแบบอย่างสง่างามตามสไตล์ออดี้ กระจังหน้าเฟรมเดี่ยวเรียงกันอย่างเฉียบคม รับกับไฟหน้าแบบ Matrix LED ที่ปรับตามองศาการเลี้ยวและอุณหภูมิของแสง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่มีเฉพาะในออดี้เท่านั้น นอกจากนั้น ตัวถังภายนอกเป็นแบบ Audi Space Frame ซึ่งใช้โครงสร้างแบบอลูมิเนียมทั่วทั้งคัน ซึ่งน้ำหนักเบากว่าเหล็กถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่รองรับแรงบิดได้ดียิ่งขึน
     นอกจากนั้น ออดี้ได้ติดตั้งระบบระบายอากาศภายในห้องโดยสารที่ทำงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ “โซล่า รูฟ” (Solar Sunroof) เพื่อช่วยระบายความร้อนเมื่อจอดรถกลางแจ้งอีกด้วย

     ภายในห้องโดยสารติดตั้งระบบ MMI (Multi Media Interface) พร้อม ระบบควบคุมมัลติฟังก์ชั่นที่พวงมาลัย เครื่องเสียง BOSE รวมถึงระบบ Rear Seat Entertainment พร้อมจอ LCD ขนาด 10.2 นิ้ว และยังติดตั้งระบบผ่อนแรงปิดประตู ระบบปิดฝากระโปรงท้ายด้วยไฟฟ้า เป็นต้น

     เครื่องยนต์ที่ติดตั้งใน Audi A8L ใหม่ เป็นแบบไฮบริดขับเคลื่อนล้อหน้า ใช้เครื่อง ยนต์เบนซินความจุ 2.0 ลิตร 4 สูบ TFSI ระบบไดเร็คอินเจคชั่น ให้กำลังสูงสุด 211 แรงม้า ที่ 4,300-6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 350 นิวตัน-เมตร ที่ 1,500-4,200 รอบต่อนาที ทำงานคู่กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 54 แรงม้า ทำให้ A8L Hybrid มีกำลังสูงสุด 245 แรงม้า และแรงบิดสูงสุดรวม 480 นิวตัน-เมตร
     ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ Tiptronic 8 สปีด พร้อมมอเตอร์ไฟฟ้าในตัว ระบบกันสะเทือนแบบถุงล (Adaptive Air Suspension) และล้ออลูมิเนียมอัลลอยขนาด 19 นิ้ว

     Audi A8L Hybrid ยังโดดเด่นด้วย ระบบความปลอดภัยสุดล้ำอย่าง ระบบป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ Audi Pre Sense Basic, ระบบป้องกันแรงกระแทกด้านข้าง, ถุงลมนิรภัยคู่หน้าทำงาน 2 จังหวะ, ถุงลมนิรภัยด้านข้าง และม่านถุงลมนิรภัย , ระบบช่วยขับขี่กลางคืน (Night vision assistant), ระบบเบรค ABS, EBD และ Brake Assist, ไฟหน้าเปิด-ปิดอัตโนมัติพร้อมไฟส่องทางเมื่อล็อครถ ผ่านมาตรฐาน EuroNCAP ระดับ 5 ดาว

     Audi A8L Hybrid เคาะราคาจำหน่ายที่ 5.99 ล้านบาท มาพร้อมวารันตีนาน 5 ปี หรือ 1 แสนกิโลเมตร และรับประกันแบตเตอรี่ไฮบริดนานสูงสุด 5 ปี

 

น้ำมันไฮดรอลิก \ Hydraulic Oil




น้ำมันไฮดรอลิก

น้ำมันไฮดรอลิก (Hydraulic Oil) ระบบ ไฮดรอลิกเป็นระบบที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุก ประเภท รวมทั้งในงานก่อสร้าง เช่น เครื่องอัดขึ้นรูป เครื่องพับม้วนและตัดแผ่นเหล็ก เครื่องกลึงและเจียระไน เครื่องฉีดพลาสติกและอลูมิเนียม รถตัก รถยก รถขุด ปั้นจั่น และรถแทรกเตอร์ต่างๆ เป็นต้น ระบบนี้จะใช้น้ำมันไฮดรอลิกเป็นสารตัวกลางในการถ่ายทอดหรือเปลี่ยนแปลง พลังงานของของไหลให้เป็นพลังงานกลได้ดีมาก ทั้งในรูปของการเคลื่อนที่ในแนวเชิงเส้นหรือในแนวหมุนเมื่อเปรียบเทียบกับ ระบบอื่นๆ เช่น สามารถหยุดชะงักเมื่อมีการรับโอเวอร์โหลดนานทำงานในลักษณะที่มีโหลดเปลี่ยน แปลง หรืองานที่ต้องการแรงม้ามากๆได้ดี ง่ายต่อการควบคุม และสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของกระบอกสูบหรือมอเตอร์ไฮดรอลิกได้ง่ายและได้ ทุกระดับ เป็นต้น ระบบนี้จะประกอบด้วยส่วนประกอบและอุปกรณ์พื้นฐาน 7 อย่างคือ

 1. ถังพักน้ำมันไฮดรอลิก ทำหน้าที่เก็บน้ำมัน ปรับสภาพน้ำมันให้สะอาดและมีอุณหภูมิพอเหมาะ
ถังน้ำมันไฮดรอลิค
ถังน้ำมันไฮดรอลิค


 2.  ออยล์คูลเลอร์ ทำหน้าที่ระบายความร้อนของน้ำมันในถังพัก เพื่อให้อยู่ในอุญหภูมิที่เหมาะสมกับการใช้งาน มีทั้งที่มีพัดลม กับ สามารถใช้ลมรอบๆตัวเป็นตัวช่วยดึงความร้อนออกจากตัวออยล์คูลเลอร์
ไฮดรอลิค ออยล์คูลเลอร์
ไฮดรอลิค ออยล์คูลเลอร์ / Hydraulic Oil cooler

3. ปั๊มไฮดรอลิก ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานของของไหล
4. วาล์วควบคุมชนิดต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมความดัน ทิศทางการไหล และปริมษรการไหลของน้ำมันไฮดรอลิกในระบบ
5. อุปกรณ์ทำงาน ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานของของไหลให้เป็นพลังงานกล เช่น กระบอกสูบหรือมอเตอร์ไฮดรอลิก
ถังน้ำมันไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค

6. ท่อทางไฮดรอลิก ทำหน้าที่เป็นทางไหลของน้ำมันไฮดรอลิกในระบบ
7. น้ำมันไฮดรอลิก
น้ำมัน ไฮดรอลิกถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของระบบ ถ้าเลือกใช้น้ำมันไฮดรอลิกผิดประเภทหรือไม่เหมาะสมกับอุปกรณ์ในระบบตามที่ บริษัทผู้ผลิตกำหนดก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้และถึงแม้ว่าเราจะเลือใช้ชนิด ของน้ำมันไฮดรอลิกได้อย่างถูกต้องแล้วก็ตาม ในขณะใช้งานก็ยังต้องดูแลบำรุงรักาน้ำมันไฮดรอลิกให้อยู่ในสภาพดี คือสะอาด มีอุณหภูมิพอเหมาะ และเปลี่ยนใหม่เมื่อถึงอายุการใช้งาน รวมทั้งควรตรวจสอบให้มีน้ำมันไฮดรอลิกอยู่ในระดับที่พอเพียงสำหรับการใช้งาน ในระบบอย่างสม่ำเสมอ ระบบจงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำมันไฮดรอลิกเป็นหัวใจของระบบไฮดรอลิก ทำหน้าที่หลักๆ 4 ประการคือ
        1. การ ส่งผ่านกำลัง น้ำมันไฮดรอลิกจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังงานจากจุดหนึ่งไปสู่ อีกจุดหนึ่งในระบบ เพื่อเปลี่ยนแปลงกำลังงานของของไหลให้เป็นกำลังงานกลโดยไม่เกิดความต้านทาน การไหลในระบที่มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการสูญเสียกำลังงานมาก และน้ำมันไฮดรอลิกจะต้องไม่ยุบตัวตามความดันมากเกินไปในขณะทำงาน
        2. การ หล่อลื่น น้ำมันไฮดรอลิกจะต้องทำหน้าที่เป็นตัวช่วยหล่อลื่นและลดแรงเสียดทานระหว่าง ชิ้นส่วนต่างๆ ที่สัมผัสกัน เช่น ฟิล์มของน้ำมันไฮดรอลิกช่วยหล่อลื่นและลดการเสียดสีของผิวสัมผัสระหว่างแกน วาล์วกับผนังภายในตัววาล์ว แผ่นฟิล์มน้ำมันดังกล่าวจะต้องมีความข้นใสพอเหมาะที่จะแทรกซึมเข้าไปใน รเล็กๆ และบริเวณรอยต่อของชิ้นส่วนภายในอุปกรณ์ได้ และสามารถรบน้ำหนักของชิ้นส่วนที่กดทับกันหรือรับแรงกดได้มากนั่นเอง นอกจากนี้ยังต้องมีคุณสมบัติในการลื่นไหลที่ดีด้วย เพื่อช่วยให้การเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเคลื่อนที่ไปได้อย่างคล่องตัว
        3. การ ซีล น้ำมันไฮดรอลิกจะทำหน้าที่เป็นซีลป้องกันการรั่วซึมภายในให้เกิดน้อยที่สุด เมื่อมีความดันเกิดขึ้นในระบบ เนื่องจากอุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิกส่วนมากจะออกแบบให้มีการซีลแบบโลหะต่อโลหะ (Metal to Metal หรือ Metal Seal) และการทำหน้าเป็นตัวซีลนี้จะขึ้นอยู่กับความข้นใสของน้ำมันไฮดรอลิกแต่ละชนิดด้วย
        4. การ ระบายความร้อน น้ำมันไฮดรอลิกจะช่วยระบายความร้อนของระบบโดยการไหลเวียนในขณะทำงาน ซึ่งจะรับการถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ต่างๆ อันเนื่องมาจากการสูญเสียกำลังงานในระบบเข้าสู่ตัวมัน และแผ่กระจายความร้อนนั้นผ่านผนังของถังพักเมื่อไหลลงสู่ถังพัก
คุณสมบัติที่จำเป็นในน้ำมันไฮดรอลิกมีดังนี้
1. มี ความข้นใสพอเหมาะและค่าดัชนีความข้นใสสูง น้ำมันไฮดรอลิกที่มีคุณภาพดีจะต้องมีคาความข้นใสคงที่แม้ว่าอุณหภูมิในการทำ งานจะเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ค่าความข้นใสของน้ำมันไฮดรอลิกยังมีผลต่อการหล่อลื่นระหว่างผิว สัมผัสของอุปกรณ์ต่างๆ กล่าวคือถ้าความข้นใสมากจะป้องกันการสึกหรอได้ดี อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีความข้นใสมากเกินไปก็ไม่เป็นผลดีต่อการหล่อลื่น เนื่องจากทำให้การเคลื่อนตัวของน้ำมันไหลไปมาไม่สะดวก
2. มี จุดข้นแข็งต่ำ น้ำมันไฮดรอลิกที่ดีควรมีจุดข้นแข็งต่ำกว่าอุณหภูมิที่ระบบไฮดรอลิกทำงานและ จุดข้นแข็งนี้จะมีปัญหาก็ต่อเมื่อระบบไฮดรอลิกต้องทำงานในที่ที่มีอุณหภูมิ ต่ำกว่าปกติ
3. คุณภาพของน้ำมันจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงมากนักถึงแม้อุณหภูมิในการทำงานจะสูง
4. มีคุณภาพการหล่อลื่นที่ดี
5. ต้านทานการเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่นได้ดีเยี่ยม
6. มีความคงที่และช่วยให้ไม่สิ้นเปลืองในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันบ่อยๆ
7.  มีคุณภาพคงที่ถึงแม้อุณหภูมิในการทำงานจะเปลี่ยนแปลงมาก
8. สามารถต้านทานการเกิดสนิม
9. ช่วย ป้องกันการกัดกร่อนโลหะ เนื่องจากชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบไฮดรอลิกส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะ ดังนั้นน้ำมันไฮดรอลิกจะต้องไม่มีคุณสมบัติของความเป็นกรดซึ่งจะมีอันตราย ต่ออุปกรณ์ได้
10.  สามารถเข้ากับยาง ซีล ปะเก็น และสีได้เป็นอย่างดี
11. ต้านทานต่อการเกิดฟอง
12. มีความสามารถแยกตัวจากน้ำได้ดี
13. ทนไฟ
14. มีค่าความสามารถในการอัดตัวต่ำ คือน้ำมันไฮดรอลิกต้องไม่ยุบตัวตามความดันเมื่อถูกอัดตัว
15.ไม่จับตัวเป็นก้อนหรือยางเหนียว
16. มีความเสถียร คือไม่เกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่นและไม่เสื่อสลายเพราะความร้อนได้ง่าย
17. สามารถผ่านไส้กรองขนาดละเอียดมากได้ดีโดยไม่เกิดการอุดตัน
น้ำมัน ไฮดรอลิกมีให้เลือกใช้มากมายหลายชนิด การเลือกใช้ให้ถูกต้องจะต้องพิจารณาถึงวิธีการทำงานของระบบเป็นหลัก รวมทั้งสภาพการทำงานของเครื่องด้วย โดยทั่วไปน้ำมันไฮดรอลิกถูกจัดแบ่งตามลักษณะการผลิตตามวัตถุประสงค์การใช้ งานได้ 2 ประเภทคือ ประเภทน้ำมันปิโตรเลียมหรือน้ำมันแร่และประเภทน้ำมันมนไฟ น้ำมันไฮดรอลิกที่กลั่นจากน้ำมันแร่จะมีความข้นใสใกล้เคียงกับน้ำมัน เทอร์ไบน์และประกอบด้วยส่วนผสมที่มีคุณสมบัติที่จำเป็นและต้องการในน้ำมัน ไฮดรอลิก ดังนั้นน้ำมันแร่และน้ำมันเทอร์ไบน์จึงเหมาะสำหรับระบบไฮดรอลิกทั่วไป แต่สำหรับระบบที่อยู่ในสภาพที่มีการรั่วและทำงานในอุณหภูมิสูงหรือน้ำมัน ระเหยได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเผาไหม้ได้ ก็ควรจะใช้น้ำมันไฮดรอลิกประเภทน้ำมันทนไฟ ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์แตกต่างจากน้ำมันปิโตรเลียม ส่วนความสามารถในการทนไฟนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันทนไฟที่ใช้กับระบบ
ชนิดต่างๆ ของน้ำมันไฮดรอลิกดังต่อไปนี้
1. น้ำมันปิโตรเลียม (Petroleum Base Fluids) เป็นน้ำมันที่นิยมใช้กับระบบไฮดรอลิก คุณสมบัตของน้ำมันปิโตรเลียมขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ
- ชนิดของน้ำมันดิบ
- วิธีการและระดับการกลั่น
- สารประกอบที่ใช้
โดย ทั่วไปน้ำมันไฮดรอลิกชนิดนี้มีคุณสมบัติในการหลื่อดีเยี่ยม โดยเฉพาะน้ำมันดิบบางชนิดมีคุณสมบัติในการต้านทานการสึกหรอ ต้านทานการเกิดสนิม ในอุณหภูมิสูงๆทีค่าดัชนีความข้นใสสูงและมีความสามารถในการซีลดีมากอย่างไร ก็ตามข้อเสียที่สำคัญของน้ำมันปิโตรเลียมก็คือเป็นน้ำมันที่ติดไฟ ดังนั้นจึงไม่เหมาะชะใช้กับงานที่อยูใกล้เปลวไฟ เช่น เครื่องหล่อแบบพิมพ์ เตาเผาเหล็ก เพราะถ้าเกิดท่อทางของน้ำมันไฮดรอลิกชนิดดังกล่าวเกิดการแตกหรือรั่ว น้ำมันอาจลุกติดไฟได้
2. น้ำมันทนไฟ (Fire Resistance Fluid) น้ำมัน ไฮดรอลิกชนิดนี้จะใช้ในกรณีที่ระบบต้องทำงานในที่ที่อุณหภูมิสูง หรือในที่ที่อาจจะมีการติดไฟได้ง่ายเมื่อมีการรั่วซึมของน้ำมันในระบบ น้ำมันทนไฟแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ น้ำมันที่ผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์ และน้ำมันที่มีน้ำผสมอยู่
        1. น้ำมันทนไฟประเภทผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์ (Synthetic Fluids) น้ำมันไฮดรอลิกที่ผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์นี้มีอยู่ 2 ประเภทคือ ฟอสเฟตเอสเทอร์ (Phosphate Ester) และโพลีเออร์เอสเทอร์ (Polyor Ester)
คุณสมบัติ ของน้ำมันที่ผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์นี้จะไม่มีส่วนผสมของน้ำอยู่เลย จึงสามารถใช้ได้ดีในขณะอุณหภูมิสูงๆ โดยไม่ทำให้สารประกอบระเหยไป และใช้ได้ดีในระบบที่มีความดันสูงๆ น้ำมันชนิดนี้มีค่าความถ่วงจำเพาะสูงที่สุด (น้ำหนักจึงมากที่สุด) ดังนั้นจึงต้องระวังรักษษท่อดูดของปั๊มให้อยู่ในสภาพดี น้ำมันชนิดนี้มีค่าดัชนีความข้นใสต่ำ คือประมาณ 80 VI ดังนั้นจึงควรใช้ในระบบที่มีอุณหภูมิการทำงานค่อนข้างคงที่เท่านั้น
นอก จากนี้ราคาของน้ำมันชนิดนี้ยังจัดว่าสูงที่สุดในบรรดาน้ำมันที่ใช้ในระบบ ไฮดรอลิก แต่น้ำมันชนิดนี้ไม่เหมาะกับซีลชนิดบูน่าร์-เอ็นและนีโอพรีน ดังนั้นถ้าเปลี่ยนมาใช้น้ำมันประเภทนี้จะต้องเปลี่ยนซีลที่มีอยู่เสียก่อน
ข้อแนะนำในการใช้น้ำมันประเภทสารเคมีสังเคราะห์มีดังนี้คือ
1.1      ฟอสเฟตเอสเทอร์ มีข้อสังเกตในการใช้งานดังนี้
        - ใช้ปั๊มที่เหมาะกับน้ำมันชนิดนี้
        - ความเร็วระบบที่ขับปั๊มไม่ควรเกิน 1200 รอบต่อนาที
        - ใช้สเตรนเนอร์ในท่อดูดที่มีอัตราการไหลตั้งแต่ 3 เท่าขึ้นไปของอัตรจ่ายของปั๊ม
        - ระดับน้ำมันในถังพักควรต่ำกว่าช่องต่อทาวเข้าปั๊มประมาณ 80 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แรงต้านทานการไหลในท่อดูดของปั๊มเพิ่มขึ้น
        - หลีก เลี่ยงการใช้ข้องอหรือข้อต่อแบบ 90 องศาในท่อทางดูดของปั๊ม เพื่อป้องกันไม่ให้แรงต้านทานการไหลในท่อดูดของปั๊มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ท่อดูดควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับช่องทางออกของปั๊มด้วย
         - ไม่ควรใช้สีทาภายในถังพัก
        - ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เคลื่อนไหวในระบบไม่ควรทำจากอะลูมิเนียม
        - ต้องระวังไม่ให้น้ำปะปนลงในน้ำมัน
1.2 โพลีเออร์เอสเทอร์ มีข้อสังเกตในการใช้งานดังนี
        -  ไม่ควรใช้สีประเภทฟีโนลิกเรซิน (Phenolic resin) ทาภายในถังพัก
        -   ห้ามใช้สารที่ทำจากยางบิวทิล (butyle)
2. น้ำมันทนไฟประเภทน้ำมันที่มีน้ำผสมอยู่ (water containing fluids) น้ำมันประเภทนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ ประเภทน้ำมันผสมไกลคอล (water-glycol type fluids) ประเภทมีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าน้ำมัน (water in oil type emulsions) และประเภทมีน้ำอยู่น้อยกว่าน้ำ (oil in water type emulsions)
2.1 น้ำมัน ประเภทน้ำผสมไกลคอล น้ำมันประเภทนี้ประกอบด้วยน้ำ 35-40 เปอร์เซนต์เพื่อเป็นสารต้านการติดไฟ ไกลคอลและสารประกอบจากน้ำที่เป็นยางเหนียวจะทำให้เกิดความหนืด นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่นที่ช่วยป้องกันการเกิดฟอง การเกิดสนิม การผุกร่อน และช่วยในการหล่อลื่น
น้ำมัน ประเภทนี้โดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติที่ดีในการต่อต้านการผุกร่อน แต่เนื่องจากมีน้ำหนักมากจึงทำให้เกิดการสุญญากาศมากในท่อดูดของปั๊ม จึงไม่เหมาะที่จะใช้กับระบบที่มีอุปกรณ์ทำด้วยสังกะสี แคดเมียม และแมกนีเซียม ส่วนซีลที่ไม่เหมาะสมกับน้ำมันประเภทนี้คือซีลที่ทำจากหนังและไม้ก๊อก ซึ่งจะดูดซึมน้ำที่อยู่ในน้ำมันได้ ดังนั้นจึงควรใช้ซีลที่ทำจากสารประกอบทางเคมีแทน
ข้อเสียของน้ำมันประเภทนี้ ได้แก่
        - ในระหว่างการใช้งาน จะต้องคอยตรวจสอบปริมาณของน้ำในน้ำมันให้อยู่ในระดับพอเหมาะเพื่อรักษาค่าความข้นใสของน้ำมันให้คงที่อยู่เสมอ
        - การระเหยของน้ำในน้มันอาจทำให้สารประกอบบางอย่างระเหยไปด้วย ซึ่งจะทำให้น้ำมันและอุปกรณ์บางอย่างมีอายุการใช้งานสั้นลง
         - อุณหภูมิในการทำงานจะต้องอยู่ในระดับต่ำ
         - มีราคาสูง
สำหรับ ระบบที่ใช้น้ำมันปิโตรเลียมมาก่อนแล้วจะเปลี่ยนมาใช้น้ำมันประเภทนี้ จะต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ทั้งหมดให้ดี รวมทั้งเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ทำจากสังกะสีหรือแคดเมียมด้วย
ข้อแนะนำในการใช้น้ำมันประเภทน้ำผสมไกลคอลมีดังนี้
- ใช้ปั๊มชนิดพิเศษที่เหมาะกับน้ำมันที่มีน้ำผสมอยู่
-  ความเร็วรอบที่ใช้ขับปั๊มไม่ควรเกิน 1,200 รอบต่อนาที
- อุณหภูมิของน้ำมันในขณะทำงานต้องไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส
- ใช้สเตรนเนอร์ในท่อดูดที่มีอัตราการไหลมากกว่า 4 เท่าของอัตราจ่ายของปั๊ม
-  ความต้านทานการไหลในท่อดูดของปั๊ม จะต้องต่ำกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท
-  ห้ามทาสีชนิดใดๆภายในถังพัก
-  ห้ามใช้อุปกรณ์ที่ทำจากอะลูมิเนียม แคดเมียม และสังกะสี
- ห้ามใช้สารที่ทำจากยางโพลียูรีเทน (polyurethane)
2.2  น้ำมัน ประเภทที่มีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าน้ำมัน น้ำมันประเภทนี้จัดว่ามีราคาถูกที่สุดในบรรดาน้ำมันประเภททนไฟ นอกจากน้ำและน้ำมันแล้วยังประกอบด้วยสารเคมีที่ช่วยให้น้ำกับน้ำมันผสมกลม กลืนกัน น้ำมันชนิดนี้นิยมใช้กันมากกว่าชนิดที่มีน้ำมันผสมอยู่น้อยกว่าน้ำ เนื่องจากมีค่าความข้นใสสูงกว่าและมีคุณสมบัติในการหล่อเย็นดีพอใช้ นอกจากนี้ยังอาจเติมสารประกอบที่ช่วยต้านทานการเกิดสนิมและการเกิดฟองได้ ด้วย โดยทั่วไปน้ำมันชนิดนี้จะประกอบด้วยน้ำประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อใช้ในระบบอาจเติมน้ำได้อีกเพื่อช่วยรักษาความข้นใสให้คงที่
ข้อสังเกตในการใช้น้ำมันประเภทที่มีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าน้ำมันมีดังนี้
-  ใช้ปั๊มชนิพิเศษที่เหมาะสมกับน้ำมันที่มีน้ำผสมอยู่
- ความเร็วรอบที่ใช้ขับปั๊มไม่ควรเกิน 1,200 รอบต่อนาที
-  อุณหภูมิของน้ำมันในขณะทำงานต้องไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส
-  สเตรนเนอร์ที่ใช้ในท่อดูดควรมีอัตราการไหลมากกว่า 3-4 เท่าของอัตราจ่ายของปั๊ม
-  ระบายน้ำที่แยกตัวออกมาที่ก้นถังอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
-  ความต้านทานการไหลในท่อดูดของปั๊มจะต้องต่ำกว่า 120 มิลลิเมตรปรอทล
-  ห้ามใช้อุปกรณ์ที่ทำจากอะลูมิเนียม แคดเมียม และสังกะสี
-   ห้ามใช้สารที่ทำจากยางโพลียูรีเทน
3. น้ำมัน ประเภทมีน้ำมันผสมอยู่น้อยกว่าน้ำ ประกอบด้วยน้ำมันน้อยกว่าน้ำจึงมคุณสมบัติคล้ายน้ำ สามารถต้านทานการลุกไหม้ได้ดี มีความข้นใสต่ำ และมีคุณสมบัติในการหล่อเย็นดีมาก แล้วยังมีส่วนประกอบของสารเคมีที่ช่วยทำให้น้ำกับน้ำมันผสมกันได้ดี น้ำมันชนิดนี้ก็จัดว่าเป็นน้ำมันทนไฟที่ทีราคาถูกที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้ยังอาจเติมสารประกอบที่ช่วยเพิ่มความหล่อลื่นและป้องกันการเกิด สนิมให้ดีขึ้น แต่ก่อนนิยมใช้น้ำมันประเภทนี้ในปั๊มขนาดใหย๋ที่มีความเร็วต่ำ ปัจจุบันสามารถใช้ได้กับปั๊มทั่วๆ ไป
ข้อแนะนำในการใช้น้ำมันประเภทมีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าน้ำมีดังนี้
- ใช้ปั๊มน้ำ
-  สำหรับวาล์วควบคุมทิศทาง ควรใช้แบบป็อปเป็ต (poppet)
- สำหรับวาล์วปลดความดันควรมีอะไหล่สำหรับเปลี่ยน
-  ห้ามใช้สารที่ทำจากยางโพลียูรีเทน
คุณสมบัติ อื่นๆ ของน้ำมันประเภทมีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าน้ำมันและประเภทมีน้ำมันผสมอยู่น้อย กว่าน้ำ คือ น้ำมันทั้งสองประเภทนี้เหมาะสำหรับระบบที่มีอุณหภูมิต่ำเพื่อป้องกันการ ระเหยและการเกิดออกไซด์ในน้ำมัน ข้อควรระวังในการใช้งานคือ ระบบการกรองจะต้องดีมาก และควรมีแม่เหล็กสำหรับดูดเศษโลหะที่ปนอยู่ในน้ำมันด้วย น้ำมันทั้งสองประเภทนี้ใช้ได้ดีกับซีลและโลหะทุกชนิดที่ใช้ในระบบไฮดรอลิก ที่ใช้น้ำมันปิโตรเลียม ถ้าต้องการเปลี่ยนน้ำมันในระบบมาใช้น้ำมัน 2 ประเภทนี้ จะต้องระบายและล้างอุปกรณ์ทั้งหมดให้สะอาด รวมทั้งเปลี่ยนซีลที่เป็นแบบเคลื่อนที่เสียก่อน
 การ ใช้งานของน้ำมันไฮดรอลิก น้ำมันไฮดรอลิกและปั๊มไฮดรอลิกเป็นหัวใจในการทำงานของระบบไฉดรอลิก การที่ระบบจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตัวปั๊มต้องอยู่ในสภาพดี และต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่สำคัญของน้ำมันไฮดรอลิกที่จะมีผลต่ออายุการ ใช้งานของปั๊มไฮดรอลิกด้วยดังต่อไปนี้
        - สภาพ ของน้ำมันไฮดรอลิกในขณะใช้งานมีความสำคัญต่ออายุการใช้งานของปั๊ม หากมีการปะปนของน้ำ ฝุ่น และเศษของแข็งจะทำให้ปั๊มสึกก่อนเร็วมาก
        - ชนิด ของน้ำมันไฮดรอลิก การเลือกใช้น้ำมันไฮดรอลิกให้เหมาะสมกับชนิดและการออกแบบของปั๊มไฮดรอลิก เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัณมาก เช่น น้ำมันไฮดรอลิกที่ผสมสารป้องกันการสึกหรอประเภทสังกะสีจะไม่เหมาะกับปั๊มที่ มีชิ้นส่วนทำด้วยเงินและทองบรอนซ์บางประเภท เพราะจะทำให้เกิดการกัดกร่อน เป็นต้น
        - อุณหภูมิ ของน้ำมันในระบบ ระบบไฮดรอลิกส่วนใหญ่มีการระบายความร้อนด้วยน้ำ ดังนั้นจึงต้องดูแลให้ระบบระบายความร้อนทำงานได้ดีเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิ ของน้ำมันไฮดรอลิกในระบบไม่ให้สูงเกินไป เพราะหากอุณหภูมิสูงมากน้ำมันจะเสือมสภาพเร็ว ซึ่งจะมีผลเสียต่อการหล่อลื่นและป้องกันการสึกหรอของปั๊มด้วย
        - การ หล่อลื่นปั๊ม จะทำได้ดีต้องได้น้ำมันที่ถูกชนิด สะอาดปราศจากสิ่งเจือปน และมีความข้นใสในระดับที่เหมาะสม และระดับน้ำมันในอ่างต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้
        - ความ ข้นใสของน้ำมันไฉดรอลิกต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการออกแบบของระบบไฮดรอลิก โดยเฉพาะปั๊มไฮดรอลิก หากน้ำมันข้นเกินไปเวลาเริ่มเดินปั๊มจะเกิดเสียงดังอันเนื่องมาจากการเกิด โพรงที่ว่างในเรือนปั๊มทำให้ปั๊มเกิดการสึกหรอและเสียหายได้ และในระหว่างการใช้งาน ฟองอากาศที่ปะปนในน้ำมันแยกตัวแกได้ช้าเนื่องจากน้ำมันข้น ก็จะเกิดเสียงและทำให้ปั๊มเสียหายเร็ว วาล์วเกิดการสึกกรอนเร็วด้วย และหากน้ำมันใสเกินไปประสิทธิภาพของปั๊มและระบบไฮดรอลิกจะต่ำลงเพราะเกิดการ รั่วกลับในเรือนปั๊ม โดยทั่วไปสำหรับระบบที่ใช้น้ำมันแร่เป็นน้ำมันไฮดรอลิก ความข้นใสที่ใช้จะอยู่ในระดับเบอร์ ISO 32, 46, 68 หรือ 100 ในขณะการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ อุณหภูมิการใช้งานควรจะอยู่ในราว 49-54 องศาเซลเซียส และไม่ควรเกิน 66 องศาเซลเซียส ความข้นใสจะอยู่ระหว่าง 13-54 เซนติสโตก ณ อุณหภูมิการใช้งาน
       - น้ำมันไฮดรอลิกคุณภาพดีมักเติมด้วยสารป้องกันการสึกหรอ จะเป็นสารซิงค์ไดไธโอฟอสเฟต (zinc dialkyl dithiophosphaste) (ZDDP) ซึ่งเป็นประเภทมีเถ้า หรือสารพวกไตรครีซิลฟอสเฟต (TCP) ซึ่งเป็นสารประเภทไม่มีเถ้าก็ได้
       - มีค่าดัชนีความข้นใสสูง และค่าความข้นใสไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมือ่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปมาก

ขอบคุณข้อความดีๆ จาก http://www.miller-thai.com

คุณสมบัติของน้ำมันไฮดรอลิค

คุณสมบัติของน้ำมันไฮดรอลิค

ระบบไฮดรอลิค คือ การใช้ของเหลวภายใต้แรงดันสูงๆ เพื่อส่งถ่ายกำลังจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งและในเวลาเดียวกันก็จะให้แรง เป็นเท่าทวีคูณด้วย ใช้กันแพร่หลายทั้งในอุตสาหกรรมและยานยนต์

น้ำมันไฮดรอลิค

น้ำมันไฮดรอลิค


 ของเหลวไฮดรอลิค

   1. น้ำ
   2. น้ำมันปิโตรเลียม
  3. ของเหลวอื่นๆ (สังเคราะห์) 

คุณสมบัติของน้ำมันไฮดรอลิค

1. ความหนืดพอเหมาะ และดัชนีความหนืดสูง
2. มีจุดข้นแข็งต่ำ (Pour Point)
3. คุณภาพของน้ำมันจะต้องไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงถึงแม้อุณหภูมิในการทำงานจะสูง
4. มีคุณภาพการหล่อลื่นที่ดี และไม่ทำปฏิกิริยากับยาง ซีล ปะเก็น และสี
5. ต้านทานการเกิดออกซิเดชั่นได้ดีเยี่ยม
6. ต้านทานการเกิดสนิม
7. ต้านทานการเกิดฟอง
8. มีความสามารถในการแยกตัวจากน้ำได้ดี
9. มีความสามารถในการอัดตัวต่ำ
10. ไม่จับตัวเป็นก้อนหรือยางเหนียว

ชนิดของน้ำมันไฮดรอลิก

1. น้ำมันปิโตรเลียม
 1.1 น้ำมันไฮดรอลิกทั่วไป (HYDRAULIC AW)
 1.2 น้ำมันเทอร์ไบน์
 1.3 น้ำมันไฮดรอลิกชนิดพิเศษ (HYDRAULIC  HVI)
 1.4 น้ำมันเครื่องเบอร์ SAE 10W หรือ SAE 30

2. น้ำมันทนไฟ
 2.1 ประเภทผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์ (Synthetic Fluids)
 2.2 ประเภทน้ำมันที่มีน้ำผสมอยู่ (Water Containing Fluids)



ข้อมูลดีๆจาก http://hydraulic-motor-circuit.blogspot.com

เพิ่มเติม

วิธีการเลือกใช้น้ำมันไฮดรอลิคและการดูแล


น้ำมันไฮดรอลิคอุตสาหกรรม (Hydraulic Fluid)
ประเภทน้ำมันไฮดรอลิคแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1. น้ำมันไฮดรอลิคแบบทั่วไป(Mineral oil Hydraulic Fluid)
2.น้ำมันไฮดรอลิคกันไฟ (Fire resistance Hydraulic Fliud)
3.น้ำมันไฮดรอลิคสังเคราะห์(Synthetic Hydraulic Fluid)
น้ำมันไฮดรอลิคส่วนใหญ่ที่นิยมใช้เป็น น้ำมันไฮดรอลิคแบบ Mineral Oil มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย น้ำมันมีราคาถูก แต่มีข้อจำกัดในการใช้งานเสี่ยงต่อการติดไฟ ส่วนการใช้งานที่มีการเสี่ยงต่อการติดไฟสามารถเลือกใช้น้ำมันไฮดรอลิคกันไฟ ได้ แต่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องเลือกประเภทไฮดรอลิคกันไฟ ซึ่งพบว่าน้ำมันไฮดรอลิคกันไฟมี 3 ประเภทคือ แบบแรก Water Base แบบที่2 Water Glycol แบบที่ 3 น้ำมันสังเคราะห์
น้ำมันไฮดรอลิคกันไฟ เป็นน้ำมันที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้งานและดูแลรักษา เพราะประสิทธิภาพการกันไฟจะเป็นผลจากสภาพการดูแล
เช่นหากใช้งานน้ำมันโดยไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันอาจมีสภาพความเป็นกรด กัดกร่อน อุปกรณ์ไฮดรอลิคเกิดความเสียหายได้
อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ประเภทของน้ำมันนั้น ผู้ใช้งานควรเลือกจากคู่มือการใช้ของเครื่องจักรที่แนะนำ
น้ำมันไฮดรอลิคมีค่าความหนืดหลายเบอร์ให้เลือก ตั้งแต่ ISO VG 32 , 46, 68,100  และ ISO VG 150
อายุการใช้งานของน้ำมัน  น้ำมันควรมีสีเหมือนน้ำมันใหม่ สีใส ไม่มีสีขุ่น ไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้ หากระหว่างใช้งานน้ำมันมีสีขุ่น หรือสีคล้ำและมีกลิ่นเหม็นไหม้ ควรพิจารณาเปลี่ยนทันที เพื่อป้องกันการเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น น้ำมันไฮดรอลิคโดยทั่วไป ควรพิจารณาเปลี่ยนทุกปี เพื่อป้องกันคราบยางเหนียวที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากใช้งานนานโดยไม่มีการ เปลี่ยนถ่าย

ข้อมูลดีๆจาก http://www.lubetools.com

Nissan UD 360 Gear Oil Cooler CPS / ออยล์คูลเลอร์น้ำมันเกียร์ CPS นิสสัน ยูดี 360

Nissan UD 360 Gear Oil Cooler / ออยล์คูลเลอร์น้ำมันเกียร์ CPS นิสสัน ยูดี 360


เป็นงานสั่ง ออยล์คูลเลอร์น้ำมันเกียร์ CPS นิสสัน ยูดี 360 ทำโดยใช้วัสดุเป็นอลูมิเนียมทั้งหมด แล้วพ่นสีดำ สามารถนำไปติดตั้งแทนตัวเดิมได้เลย เพราะขนาดเท่ากันเปะ

แป๊ปเป็นแป๊ปอลูมิเนียมแบบฉีด ทำให้ทนแรงดันได้ดี การไหลเวียนดี การใช้งานทนทาน ใช้กันได้ยาวๆ หัวก้นเป็นอลูมิเนียม พร้อมกับเชื่อมอาก้อน แข็งแรง พร้อมกับเช็ครั่ว 100% ทุกใบ

รูปงานตัวอย่างออยล์คูลเลอร์น้ำมันเกียร์ CPS นิสสัน ยูดี 360 เพื่อเพิมความมั่นใจ

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยที่ 086 345 2995, 038 795 096

Nissan UD 360 Gear Oil Cooler CPS

ออยล์คูลเลอร์น้ำมันเกียร์ CPS นิสสัน ยูดี 360

สินค้าคุณภาพจาก ชลประสิทธิ์ กรุ๊ป http://www.chonprasitgroup.com