อยากขับรถประหยัดน้ำมัน 10 เทคนิคง่ายๆ นิดเดียวเอง คนญี่ปุ่นชอบทำ แสดงว่าใช้ได้ / how to save money while driving

  การขับขี่ประหยัดน้ำมันถือ ว่าเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าราคาน้ำมันจะถูกลงมากก็ตาม แต่พลังงานเหล่านี้กำลังจะหมดไปในอีกไม่ช้า ดังนั้นจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการขับขี่แบบประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะสายเกินไป วันนี้ขอนำเสนอวิธีการขับรถ ที่ช่วยคุณๆ ประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น โดยวิธีเหล่านี้ คนญี่ปุ่นชอบใช้ ยังไงเราก็ลองดูไม่เสียหาย
   

1.ออกตัวไม่รีบร้อน ค่อยๆเร่งไป ไม่ต้องรีบเหยีบ เพื่อแข่งออกตัวกับคนข้างๆ
     ผู้ขับขี่หลายคนเร่งความเร็วออกตัวจากจุดหยุดนิ่ง รวดเร็วเกินความจำเป็น ซึ่งช่วงเร่งความเร็วนั้น ถือเป็นจังหวะที่เครื่องยนต์สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากที่สุด ดังนั้นจึงไม่ควรออกตัวอย่างรีบร้อนหากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ค่อยๆ ให้รอบมันขึ้นไป

2.ใช้ความเร็วคงที่ให้มากเท่าที่ทำได้ และรักษาระยะห่างกับรถคันหน้าอย่างเหมาะสม
     ควรเลี้ยงความเร็วให้คงที่อยู่เสมอ โดยเฉพาะการขับขี่ในกรุงเทพนั้น แม้จะเร่งความเร็วขนาดไหน ก็ไปติดสัญญาณไฟแดงข้างหน้าอยู่ดี ทางที่ดีควรใช้ความเร็วไม่เกินกฎหมายกำหนด รวมถึงควรเว้นระยะห่างจากคันหน้าอย่างเหมาะสม เพื่อจะไม่ต้องเหยียบเบรกบ่อยครั้งเกินไป ซึ่งเมื่อลดความเร็วลงแล้ว ก็จะต้องเพิ่มความเร็วกลับไปอีกครั้ง ทำให้เสียเชื้อเพลิงโดยไม่จำเป็น

3.ปล่อยไหลแทนการกดเบรก โดยเฉพาะเวลาจะกำลังถึงไฟแดง หรือ เวลารถติดๆ
     ข้อนี้ต่อเนื่องมาจากข้อที่แล้ว คือควรเว้นระยะห่างจากคันหน้าอย่างเหมาะสม หากจี้คันหน้ามากเกินไป จะทำให้ต้องเหยียบเบรกอยู่เป็นระยะ ส่งผลต่ออัตราสิ้นเปลืองโดยตรง

drive save
ขับรถให้ประหยัดน้ำมันทำไงดีน้า
4.ปรับอุณหภูมิแอร์ให้เหมาะสม
     แม้ว่าบ้านเราเป็นเมืองร้อน แต่การปรับอุณหภูมิให้เย็นเจี๊ยบตลอดเวลาก็อาจเกินความจำเป็นไป ทางที่ดีเร่งความเย็นเฉพาะช่วงขึ้นมานั่งบนรถใหม่ๆ ก็พอ เมื่อความเย็นได้ที่แล้วก็ปรับเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเล็กน้อย หากรู้สึกร้อนให้ลองเพิ่มความแรงลมดูก่อน ก็จะช่วยให้รู้สึกเย็นสบายขึ้นได้แล้ว เพราะยิ่งตั้งอุณหภูมิต่ำ คอมแอร์ ยิ่งทำงานหนักต่อเนื่อง ซึ่งก็จะทำให้กินแรงเครื่องมากขึ้น พอกินแรงมากขึ้น รอบเครื่องสูง ก็กินน้ำมันตามระเบียบ

5.ไม่วอร์มเครื่องยนต์โดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะบ้านเราเป็นเมืองร้อน ดังนั้นการวอร์มเครื่องก็ไม่จำเป็นต้องนานจนเกินไป
     การวอร์มเครื่องยนต์ไม่จำเป็นต้องสตาร์ทเครื่อง ยนต์อยู่กับที่ แต่สามารถขับออกไปได้ทันที เพียงแต่ต้องใช้ความเร็วต่ำเสียก่อน ทางที่ดีไม่ควรเร่งเครื่องยนต์เกิน 2 พันรอบต่อนาที ในขณะที่เครื่องยนต์เย็นอยู่ ซึ่งก็ถือว่าเป็นความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่เพียงพอกับการใช้งานโดยทั่วไป แล้ว


6.วางแผนเส้นทางเลี่ยงรถติด
     ปัญหารถติดถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สิ้นเปลือง เชื้อเพลิงเช่นกัน ทางที่ดีควรใช้เส้นทางเลี่ยงรถติด หรือเปลี่ยนเวลาในการเดินทางหากเป็นไปได้ เช่น กลับบ้านดึกขึ้นอีกนิดหน่อย เพื่อเลี่ยงการจราจรอันแสนสาหัสยามเย็น เป็นต้น

7.เช็คลมยางสม่ำเสมอ
     ลมยางที่อ่อนเกินไปจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนัก โดยไม่จำเป็น เนื่องจากมีแรงเสียดทานกับพื้นถนนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงควรเติมลมยางในระดับที่เหมาะสม และต้องไม่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ยางเกิดความเสียหายได้ คำว่าเหมาะสม สำหรับบางท่านที่ไม่รู้ว่าจะเติมเท่าไหร่ดี ก็เริ่มจากมาตราฐานของรถที่ปรกติเขาจะติดเป็นสติกเกอร์ไว้ข้างคนขับ เวลาเราเปิดประตูรถไป จะเห็นติดอยู่ ลองอ่านดูจากตรงนั้น แล้วพอเราลองใช้ๆไป ถ้ารถกระด้าง หรือ มันกระเด้งมาก สำหรับรถบ้านๆ ก็ลดแรงดันลมลงนิดหน่อยได้ ปรกติ ก็ อยู่ช่วง 28-30 ก็กำลังดี ไม่ยวบยาบ ทุกของได้นิดหน่อย และก็โดยสารได้หลายคนอยู่

8.เอาสิ่งของไม่จำเป็นออกจากรถ
     ลองสำรวจดูว่าท้ายรถของคุณผู้อ่านมีสิ่งของไม่จำ เป็นหรือไม่ เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะทำให้สมรรถนะลดลง แถมกินน้ำมันมากขึ้นอีกต่างหาก

9.ปฏิบัติตามระเบียบการจอดรถ
     การจอดรถอย่างเป็นระเบียบจะช่วยให้ประหยัดน้ำมัน ขึ้นได้เช่นกัน เพราะผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องขยับรถเพื่อหลีกเลี่ยงใบสั่ง แถมยังอาจทำให้โดนค่าปรับอีกด้วย

10.เช็คอัตราสิ้นเปลืองอยู่เมสอ
     รถยนต์รุ่นใหม่ๆจะติดตั้งหน้าจอ MID ซึ่งสามารถแสดงอัตราสิ้นเปลืองได้ ควรหมั่นตรวจสอบและรีเซ็ตค่าอยู่เสมอ เพื่อคอยเช็คว่ารถมีอัตราสิ้นเปลืองอยู่ในระดับปกติหรือไม่

     เหล่านี้คือเทคนิคช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองของรถยนต์ที่ได้รับการปฏิบัติจากชาว ญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ซึ่งแม้ว่าไทยและญี่ปุ่นจะมีสภาพการจราจรที่แตกต่างกัน แต่เชื่อว่าหากสามารถทำให้เพียงบางส่วน ก็จะถือเป็นการสร้างจิตสำนึกขับขี่ประหยัดน้ำมันที่ดี และช่วยเซฟเงินในกระเป๋าได้หลายสตางค์อยู่เหมือนกันครับ ต้องลองเองนะ

ขอบคุณบทความดีๆ จาก sanook.com

น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำ เติมยังไง จำเป็นต้องเติมมั้ย? Radiator Coolant

coolant
น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำ จำเป็นมั้ย?
น้ำยาหล่อเย็น (Coolant ) น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำอลูมิเนียม และ น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำทองแดง คืออะไร จำเป็นต่อระบบเครื่องยนต์มากแค่ไหน ทำไมถึงต้องเติมเข้าไปในระบบหม้อน้ำ ใช้แค่น้ำเปล่าอย่างเดียวไม่ได้เหรอ ฯลฯ คำถามเหล่านี้ หลายๆ คนอาจรู้คำตอบดีอยู่แล้ว แต่กับบางคนที่เป็นมือใหม่ หรือขับเป็นอย่างเดียว แต่ดูแลไม่เป็น ลองมารู้จักกับมันดูก่อน เพื่อจะได้เข้าใจถึงความสำคัญ และความจำเป็นต่อระบบของน้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำมากขึ้น เพื่อจะยืดอายุการใช้งานหม้อน้ำรถของเราไปนานๆ ด้วยเหตุว่าสมัยนี้หม้อน้ำที่ติดมากับรถนั้นจะเป็นหม้อน้ำที่ผลิตจากวัตถุดิบ อลูมิเนียมเป็นหลัก(บางซะด้วย) ซึ่งเกิดสนิมและการกัดกร่อนภายในท่อน้ำได้ง่าย ดังนั้นเราควรดูแลมันให้ดี มิเช่นนั้นแล้วก็ต้องเสียหลายตังถ้าต้องเปลี่ยนหม้อน้ำใหม่ เพราะตัวหม้อน้ำอลูมิเนียมที่ติดมากับรถนั้น ซ่อมไม่ได้ ถึงแม้ใครบอกว่าได้ ก็ได้แค่ชั่วคราว สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนใบใหม่อยู่ดี แถมถ้าชอบของศูนย์ด้วย ราคายิ่งสูงไปกันใหญ่เลย
  
สำหรับ น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำ (Coolant) ส่วนประกอบหลักของมันจะมี น้ำ, สารหล่อเย็น(ETHYLENE GLYCOL), หัวเชื้อป้องกันสนิม และสีต่างๆ ฯลฯ ซึ่งถ้าพูดถึงคุณสมบัติจริงๆ ของมันแล้ว น้ำยาหล่อเย็น ไม่ได้มีหน้าที่ระบายความร้อน แต่จะช่วยทำให้จุดเดือดของน้ำที่ผสมน้ำยาหล่อเย็นสูงขึ้น ทำให้น้ำที่อยู่ในหม้อน้ำเดือดช้าลง

     น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำ (Coolant ) ยังมีประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย ดังนี้
     1. ป้องกันน้ำในระบบแข็งตัวเป็นน้ำแข็งในจังหวะสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ๆ ซึ่งในบ้านเราจะไม่เห็นผลเท่าใดนัก เพราะเป็นเมืองร้อน
     2. เพิ่มจุดเดือดน้ำ คือชะลอการระเหยของน้ำในระบบหล่อเย็นเมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะเวลาน้ำเดือดมันจะระเหยกลายเป็นไอที่ 100C ํ ซึ่งถ้าผสมน้ำยาหม้อน้ำลงไปก็จะระเหยที่ 105 / 110  / 115 องศาเซลเซียส ตามสัดส่วนที่เราผสมลงไป
     3. ป้องกันการเกิดสนิม ตะกรัน ตะกอน เพราะเมื่อมีสนิมมันก็จะผุ กร่อน มีตะกอน น้ำยาจึงช่วยไม่ให้มีการอุดตันในรังผึ้งของหม้อน้ำ
     4. หล่อลื่นปั๊มน้ำ ซีลปั๊มน้ำ และวาล์วน้ำ

     และนี่คือความสำคัญของ น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำ (Coolant) ที่มีประโยชน์ต่อเครื่องยนต์มากๆ ซึ่งหากเราไม่ใช้ หรือไม่เติมน้ำยา ใช้แค่น้ำเปล่าอย่างเดียวก็ได้ แต่มันจะส่งผลเสียต่อระบบระบายความร้อน และเครื่องยนต์อย่างรวดเร็ว เพราะหม้อน้ำรถยนต์ในปัจจุบันมักทำมาจากอะลูมิเนียม ทำให้สามารถเกิดสนิม ตะกรัน ตะกอน และเกิดการกัดกร่อนได้ง่าย โดยเราสามารถตรวจสอบได้ด้วยการถอดท่อยางที่ต่อจากหม้อพักน้ำออกมาดู จะเห็นได้ว่ามันจะมีคราบ และร่องรอยของการเกิดตะกรัน ซึ่งหากร้ายแรงมากๆ อาจถูกกัดกร่อนจนแตก ผุ แหว่ง และนี่เองจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หม้อน้ำ แผงหม้อน้ำ และทางเดินน้ำเกิดการอุดตัน หรือรั่วซึม จนทำให้ระบบระบายความร้อนออกมาได้ไม่ดี น้ำในหม้อน้ำแห้ง จนเครื่องร้อนจัด และความร้อนขึ้น หรือก็คือโอเวอร์ฮีทนั่นเอง
     ส่วนการผสมใช้งาน น้ำยาหล่อเย็น (Coolant) กับน้ำ ส่วนมากจะผสมกันในอัตราส่วน 50/50 หรือดูวิธีผสมได้ที่ข้างขวดของน้ำยายี่ห้อนั้นๆ และระยะการเปลี่ยนถ่ายก็ขึ้นอยู่กับรถแต่ละรุ่น หรือน้ำยาที่ใช้ด้วย เช่น บางรุ่นกำหนดไว้ทุกๆ 2 ปี หรือ 40,000 กิโลเมตร และบางรุ่นกำหนดไว้ที่ 100,000 – 200,000 กิโลเมตร ฯลฯ (ศึกษาดูเพิ่มเติมจากคู่มือยี่ห้อรถนั้นๆ)
     นอกจากนี้หากมีเวลา ควรเปิดฝากระโปรงหน้าอาทิตย์ละครั้งเพื่อสังเกตน้ำในหม้อน้ำ และหม้อพักน้ำสำรอง เพื่อจะได้รู้ทัน หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับหม้อน้ำ เช่น น้ำในหม้อน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับที่กำหนด, น้ำแห้งเร็วเกินไป, มีคราบของน้ำยาหล่อเย็นหยด หรือเปื้อนตามจุดต่างๆ ที่เครื่องยนต์ และบนพื้นที่จอด ฯลฯ (สีของน้ำยาหม้อน้ำที่รั่วซึมจะสังเกตได้ง่าย เพราะสีที่ผสมเข้าไป เช่น สีเขียว สีชมพู ฯลฯ)


รถแอร์ไม่เย็น ทำไงดี และ วิธีป้องกัน

รถแอร์ไม่เย็น ทำไงดี และ วิธีป้องกัน

ช่วงนี้หน้าร้อนแล้ว และก็ร้อนมากๆด้วย ดังนั้นวันนี้อยากจะมาแนะนำวิธีที่จะช่วยลดปัญหาเรื่องร้อนๆ บนรถมาฝากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกท่าน


แอร์เย็นๆ หน้าร้อน
ป้องกันปัญหา แอร์ไม่เย็น ช่วงหน้าร้อนนี้

 - เมื่อเปิดแอร์ หรือเครื่องยังเย็นอยู่ไม่ควรเปิดแอร์จนสุด เพราะควรให้คอมแอร์ได้วอร์มสักพักก่อนซัก 5 นาที ควรสตาร์ตเครื่องยนต์และให้เครื่องยนต์ถึงอุณหภูมิทำงาน พัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำทำงานก่อน จึงเปิดสวิตช์ระบบปรับอากาศ

     - ไม่ตั้งอุณหภูมิให้เย็นเกินไป เพราะจะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลา
     - เปิดสวิตช์พัดลมก่อนแล้วจึงกดสวิตช์ระบบปรับอากาศ (A/C) เปิดไปที่ความเร็วพัดลมสูงสุดระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงลดลงไปยังความเร็วน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น


ปุ่ม A/C
ตัวอย่าางปุ่ม A/C

     - หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอม หรือสเปรย์ปรับอากาศ เพราะไอระเหยของสารเคมีจะถูกดูดเข้าไปสะสมตัวที่ครีบเล็กๆ ของคอยล์เย็น สารเหล่านี้มีคุณสมบัติดูดความชื้น ทำให้ฝุ่นผงจับตัวที่ครีบระบายความเย็น ความสามารถในการถ่ายเทความร้อนจะลดลง คอมเพรสเซอร์จะทำงานมากขึ้น ให้ศูนย์บริการทำความสะอาดคอยล์เย็นเป็นครั้งคราวเมื่อรู้สึกว่าประสิทธิภาพในการทำความเย็นของระบบปรับอากาศลดลง
     - ไม่ควรนำน้ำหอมชนิดที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบไปเสียบไว้หน้าช่องแอร์ เพราะจะทำให้ตู้แอร์ผุกร่อนเร็วขึ้น
     - ก่อนถึงจุดหมายปลายทางประมาณ 15 นาที ปิดสวิตช์ระบบปรับอากาศ (A/C) เปิดพัดลมไปที่ความเร็วสูงสุด เพื่อลดการทำงานคอมเพรสเซอร์และไล่ความชื้นออกจากคอยล์เย็น
     - เมื่อนำรถจอดตากแดดเป็นเวลานานๆ ก่อนใช้รถควรเปิดลมเปล่าให้แรงสุด (ปิดสวิตช์ A/C) เพื่อไล่ความร้อนที่มีอยู่ในระบบแอร์ออกเสียก่อน แล้วจึงค่อยเปิดน้ำยาแอร์ (เปิดสวิตช์ A/C)
     - ก่อนจอดรถทิ้งไว้นานๆ เช่น จอดข้ามคืน ควรเปิดลมเปล่าให้แรงสุด (ปิดสวิตช์ A/C) ประมาณ 5 นาที เพื่อไล่ความชื้น ไล่น้ำ ที่ค้างอยู่ในตู้แอร์ออกก่อน เพราะตู้แอร์ทำจากอะลูมิเนียมจะเกิดการผุกร่อนได้ง่าย และจะทำให้ตู้แอร์ลดการเหม็นอับอีกด้วย
     - จงจำไว้ว่า ระบบแอร์เป็นระบบปิด ดังนั้น เมื่อรถต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยๆ แสดงว่าเกิดการรั่วของระบบแอร์แล้ว
     - ไม่ควรเปิดกระจกขับรถบ่อย เพราะจะทำให้ฝุ่นละอองจากภายนอกเข้ามาอุดตันในตู้แอร์ได้เร็วยิ่งขึ้น
     - เมื่อแอร์ไม่เย็น (กรณีเปิดน้ำยาแอร์แล้ว เปิดสวิตช์ A/C แล้ว) แต่ยังไม่เย็น ให้รีบปิดน้ำยาแอร์หรือสวิตช์ A/C ทันที เพราะอย่างน้อยๆ ถ้าเกิดการรั่วในระบบ น้ำยาแอร์และน้ำมันคอมเพรสเซอร์จะมีน้อยมากในระบบ จะทำให้คอมเพรสเซอร์พังมากขึ้นกว่าเดิม และควรนำรถไปเช็กให้เร็วที่สุด แต่กรณีนี้ใช้ลมเปล่าก่อนก็ได้
     - ควรล้างตู้แอร์ทุกๆ 2 ปี หรือถ้าใครเปิดกระจกขับรถบ่อย ให้ล้างทุกปี หรือตามเห็นสมควร
     - เมื่อมีเหตุจำเป็นที่ต้องเปิดกระจกขับรถ ควรปิดช่องแอร์บริเวณคอนโซลหรือจุดที่แอร์ออกให้หมดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ฝุ่นเข้าไปในระบบแอร์น้อยที่สุด

     ขอบคุณบทความดีๆ จาก: นสพ.มติชน