ส่วนประกอบของ หม้อน้ำ
ส่วนวิธีการที่จะกำจัดสนิมใน หม้อน้ำ ให้หมดไปอย่างถาวร ยังไม่มีใครคิดค้นขึ้นมาได้ เพราะในความเป็นจริงสนิมที่พบในน้ำหล่อเย็นไม่ได้เกิดขึ้นมาจาก หม้อน้ำ เพราะ หม้อน้ำ สมัยใหม่ผู้ผลิตรถจะใช้ หม้อน้ำอลูมิเมียม เป็นโครงสร้างในส่วนของ รังผึ้งหม้อน้ำ และ ท่อทางเดินน้ำ ส่วนชิ้นส่วนที่เป็นท่อนล่างและท่อนครอบด้านบนของ หม้อน้ำ หรือเรียกอีกอย่างว่าแท๊งค์ ก็จะใช้วัสดุประเภทพลาสติกฉีดที่เห็นเป็นสีดำๆ
สนิมที่พบในน้ำ จากระบบหล่อเย็น มีที่มาจากท่อทางเดินน้ำบริเวณข้าง เสื้อสูบเป็นส่วนใหญ่ เพราะ เสื้อสูบของรถยนต์ ส่วนมากผลิตมาจากเหล็กหล่อที่เกิดสนิมได้ง่าย ซึ่งท่อทางเดินน้ำบริเวณข้างเสื้อสูบจะเป็นช่องทางเล็กๆที่ลดเลี้ยวซอกซอนไป มา คล้ายทางเดินของมดหรือปลวก
ยุคก่อนมีคนแนะนำให้ใช้ผงซักฟอกผสมลงไปในน้ำที่ใช้ใน ระบบหล่อเย็น แต่คำแนะนำของผู้ผลิตในปัจจุบันนี้ห้ามไม่ให้ใช้ผงซักฟอกหรือสารที่เกิดฟอง เพราะเกรงว่าหากมีสารที่ก่อให้เกิดฟองตกค้างอยู่ในระบบ จะทำให้เกิดการสูญเสียของอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิได้
วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการทำความสะอาด หม้อน้ำ และ ระบบหล่อเย็นด้วยตนเองคือการ ขยันถ่ายน้ำใน หม้อน้ำ ระบบบ่อยๆ และควรถ่ายน้ำในขณะที่อุณหภูมิของน้ำยังอุ่นๆอยู่เพาระาสิ่งสกปรกและสนิมจะยังไม่ตกตะกอนนอนก้น จะมีโอกาศถูกถ่ายทิ้งออกมาได้ง่ายกว่า การถ่ายตอนที่น้ำในระบบเย็นหมดแล้ว
หากพบว่าหลังจากถ่ายน้ำไปแล้วยัง มีสนิมหลงเหลืออยู่ใน หม้อน้ำ ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นเรื่องปกติธรรมชาติที่สนิมยังคงอยู่บ้าง ถ้าไม่สบายใจจริงๆก็ต้องนำรถไปหาช่างที่ ร้านหม้อน้ำ ให้เขาทำการ ล้างหม้อน้ำ ด้วยการใช้แรงดันน้ำเข้าไปไล่สิ่งสกปรกรวมทั้งสนิม ออกมาแต่หากไม่ตะขิดตะขวงใจจริงๆก็ปล่อย มันไว้อย่างนั้นเถอะ ไม่เสียเงินและไม่ต้องกลัวผลกระทบด้านลบที่ตามมาที่หลังอีกด้วย
รู้ได้อย่างไรว่า ฝาหม้อน้ำ เสีย
ให้สังเกตดูระดับน้ำใน หม้อน้ำ และ หม้อพักน้ำ ถ้าพบว่าน้ำใน หม้อพักน้ำ ไม่ยุบแต่น้ำใน หม้อน้ำ ยุบลงกว่าปรกติ หรือน้ำใน หม้อพักน้ำ ต้องเติมบ่อยๆแต่ไม่มาก นั่นคืออาการของ ฝาหม้อน้ำ เสียแล้ว ให้เปลี่ยนใหม่เลย(ให้ใช้ของแท้)
ฝาหม้อน้ำ ทำหน้าที่ควบคุมความดันภายใน หม้อน้ำ ในขณะที่เครื่องยนต์ กำลังทำงาน และช่วยเพิ่มจุดเดือดของน้ำหล่อเย็นในระบบให้สูงขึ้น ในขณะที่น้ำหล่อเย็นมีอุณหภูมิสูงขึ้น น้ำจะเกิดการขยายตัว เพื่อดันตัวเองออกสู่ภายนอก หม้อน้ำ สปริงวาล์วของ ฝาหม้อน้ำ จะต้านทานแรงดันนี้ไว้ได้ระดับหนึ่ง หากน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีก แรงดันที่เกิดขึ้นจะมากว่าแรงต้านทานที่ฝาหม้อน้ำจะรับได้ แรงดันนี้จะดัน สปริงวาล์ ฝาหม้อน้ำ ให้เปิดออก แล้วน้ำก็จะไหลออกไปทางรูน้ำล้นที่อยู่ด้านข้างของ ปากหม้อน้ำ ซึ่งจะมีสายต่อ ท่อน้ำล้นออกไปสู่ถังน้ำสำรอง (Coolant reserve tank) ในทางกลับกัน ขณะที่อุณหภูมิน้ำลดลง ความดันน้ำใน หม้อน้ำ จะลดลงด้วย ก็จะเกิดภาวะสุญญากาศใน หม้อน้ำ ลดลงด้วย ก็จะเกิดภาวะสุญญากาศใน หม้อน้ำ ทำการดูดน้ำที่อยู่ในถังน้ำสำรองกลับคืนสู่ หม้อน้ำ ดังเดิม
ข้อสำคัญอยู่ที่ต้องตรวจระดับน้ำใน ระบบหล่อเย็น อย่างน้อยสัปดาห์ละ ครั้งและขณะขับรถต้องหมั่นสังเกตมาตรวัดความร้อนเสมอๆ เท่านั้นเอง
โดย ชลประสิทธิ์ หม้อน้ำ
ขอขอบคุณที่มาภาพและบทความ : นิตยสาร รถวันนี้