สมรรถนะของคน สมรรถนะรถ


 ปัจจุบันนี้ถนนหลวงในประเทศไทยมีสภาพที่ทำให้รถสามารถใช้ความเร็วได้สูงมากขึ้นกว่ายุคก่อน ในขณะที่รถยนต์ก็มีความแตกต่างกันมากขึ้น
สมรรถนะของคน สมรรถนะรถ
สมรรถนะของคน สมรรถนะรถ


ทั้งขนาดของเครื่องยนต์, รูปร่างทางกายภาพ, และเจตนารมณ์ของการผลิตออกมาเพื่อใช้งานในสภาพและสภาวะที่ต่างกัน แต่รถทั้งหมดกลับถูกนำออกมาใช้งานบนพื้นถนนเดียวกันในเวลาเดียวกัน
ดัง นั้นหากผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถพยายามที่จะขับเคลื่อนรถของตนเองไปพร้อมกันกับ รถอื่น โดยที่ไม่เข้าใจถึงความแตกต่างในสมรรถนะของรถแต่ละคัน โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุก็ย่อมจะมีมากตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาคนที่เคยขับรถแต่ในเมืองกรุงหรือขับทางใกล้ๆ เมื่อมีแผนการเดินทางท่องเที่ยวไกลๆ ไปบนภูเขาสูง บวกกับรถของตนเองเป็นรถขนาดเล็กแถมเป็นเกียร์อัตโนมัติอีกต่างหาก คนกลุ่มนี้จะยิ่งมีความกังวลมาก และมักจะมีคำถามว่าการขับรถขึ้นเขาลงเขาควรใช้เกียร์อะไร
คำถามดัง กล่าวนั้นแสดงให้เห็นว่ามีผู้ขับรถจำนวนมากที่ไม่สามารถประเมินขีดความ สามารถในรถของตนเองได้ ทำให้หลายครั้งที่ผมต้องแนะนำไปว่าหากต้องการความปลอดภัย ก็ควรใช้บริการรถยนต์รับจ้างประจำท้องถิ่นจะดีกว่า และปลอดภัยมากกว่าที่จะขับขึ้นดอยด้วยตนเอง แม้ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างรถรับจ้างบ้าง แต่ก็ไม่ต้องไปจ่ายค่าสึกหรอรถของตนเอง ซึ่งย่อมมีมากกว่าการขับบนเส้นทางพื้นราบ เช่น ผ้าเบรกจะสึกมากกว่าปรกติหรืออาจจะร้อนจนกรอบไหม้ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งชุด จานเบรกอาจจะร้อนจนมีอาการคดงอ ถึงขั้นต้องถอดออกมาเจียรผิวหน้าของจาน หรืออาจจะต้องถึงขั้นเปลี่ยนจานเบรกใหม่ เป็นต้น
การขับรถบนทางสูงชันที่ คดเคี้ยวผู้ขับต้องมีประสบการณ์และต้องรู้จักสมรรถนะของรถเป็นอย่างดี สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการขับลักษณะดังกล่าว ผมแนะนำว่าควรหาช่วงวันเวลาที่รถยนต์บนถนนไม่มากนัก ไปทดลองขับเพื่อหาประสบการณ์อย่างน้อยสัก 3 หรือ 4 ครั้ง จะทำให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นเมื่อต้องไปขับในช่วงเทศกาลที่มีรถมากและการ จราจรจอแจ
เส้นทางที่อยากแนะนำให้ไปทดลองขับหาประสบการณ์ สำหรับการขับรถบนเขาสูงชันก็คือ เส้นทางขึ้นเขาใหญ่จากฝั่งจังหวัดปราจีนบุรี มาลงทางฝั่งถนนธนะรัชต์ จ.นครราชสีมา เพราะเส้นทางนี้อยู่ใกล้กรุงเทพและมีสภาพทางครบถ้วน ทั้งความสูงชันและความคดโค้งของถนน รวมทั้งคนที่อยู่ภาคอื่นๆ ก็ควรหาประสบการณ์ในวันเวลาที่รถบนท้องถนนไม่มากนักเสียก่อน จะดีกว่าไปเสี่ยงเอาในช่วงเทศกาลที่รถคับคั่งจอแจ
สิ่งที่ควรจำเอาไว้ ให้ดีก็คือการขับรถขึ้นเขาสูงชันนั้น แม้จะยากแต่มีอันตรายน้อย เพราะหากว่าขับไม่ถูกจังหวะหรือรถยนต์ที่ใช้มีกำลังน้อย อย่างร้ายที่สุดก็เพียงแค่ขึ้นเขาสูงชันไม่ไหวหรือเครื่องยนต์ร้อนจัดแบบที่ เรียกว่าโอเวอร์ฮีทเท่านั้น การขับขึ้นเขาสูงชันที่ถูกต้องคือใช้เกียร์ให้สัมพันธ์กับองศาความลาดชันของ ทาง
หากไม่แน่ใจให้ใช้เกียร์ต่ำๆ และขับขึ้นเขาช้า ชนิดไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเร่งเครื่องมาก อีกทั้งต้องคอยสังเกตเกจ์วัดความร้อนอยู่ตลอดเวลา หากพบว่าความร้อนสูงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของหน้าปัดให้จอดรถแวะข้างทางในที่ ปลอดภัย ปล่อยเครื่องยนต์ให้อยู่ในรอบเดินเบาจนระดับความร้อนลดลง จึงออกเดินทางต่อไปอย่างช้าๆ เช่นเดิม
และในขณะที่เราขับรถด้วยความ เร็วต่ำๆ อยู่นั้น หากมีรถคันอื่นตามมาข้างหลังด้วยความเร็วสูงกว่า ก็ควรเปิดไฟเลี้ยวซ้ายและหลีกไปวิ่งในช่องทางด้านซ้าย หรือหากไหล่ทางมีความกว้างเพียงพอ ก็หลีกลงไหล่ทางไปเลยจะดีที่สุดต่อตัวเราเองและผู้อื่น เพื่อให้รถคันนั้นแซงผ่านหน้าขึ้นไป อย่าไปขวางการเคลื่อนที่ของรถอื่นที่ใช้ความเร็วสูงกว่าเป็นอันขาด
ส่วน หลักการขับรถลงภูเขาหรือทางลาดชันนั้นมีอันตรายมากกว่า เพราะหากพลาดพลั้งจนทำให้เบรกเสื่อมประสิทธิภาพที่เรียกกันว่าเบรกแตก, เบรกเฝด จนไม่สามารถชะลอความเร็วของรถได้ รถอาจจะไหลตกเขาหรือพลิกคว่ำบริเวณทางโค้งได้ ดังนั้นจึงต้องขับรถด้วยความระมัดระวังสูง ต้องใช้เกียร์ต่ำให้สัมพันธ์กับความลาดชันของทางอย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงการใช้เบรกต่อเนื่องเพราะจะทำให้เบรกร้อน และเสื่อมประสิทธิภาพลงไปจนไม่สามารถหยุดรถได้
การใช้เกียร์ต่ำใน เกียร์แบบอัตโนมัตินั้นเป็นเรื่องยากสำหรับคนไม่คุ้นเคย เพราะแม้จะใช้เกียร์ต่ำแล้วแต่หากทางลาดชันมีองศาลาดชันและมีความยาวมาก เครื่องยนต์จะรัวและมีรอบการทำงานที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัดได้ง่ายๆ หรือไม่อย่างนั้นระบบก็จะทำการเปลี่ยนเกียร์อัตโนมัติให้ไปอยู่ในจังหวะ เกียร์ที่สูงขึ้น ส่งผลให้รถมีความเร็วเพิ่มขึ้นจนหยุดรถไม่ได้ จึงต้องใช้เกียร์ต่ำสลับกับการเบรกแบบเหยียบเบรกสั้นๆ เมื่อชะลอความเร็วลงแล้วก็ปล่อย เพื่อให้เบรกพักถ่ายเทความร้อนออกไปบ้าง ทำสลับกันไปมาเช่นนี้ตลอดระยะทาง
จะเห็นได้ว่าการขับรถลงเขาสูงชัน เป็นเรื่องที่ยากจะอธิบายกันทางตัวหนังสือหรือคำพูด และมีอันตรายมากกว่าการขับรถขึ้นภูเขามากนัก อีกทั้งยังทำให้เกิดความสึกหรอหรือมีความเสียหายได้ง่าย และมากกว่าการขับรถขึ้นเขาอีกด้วย
ก่อนที่จะตัดสินใจใช้รถยนต์ส่วนตัว เดินทางไปพักผ่อนบนเส้นทางภูเขา จึงควรประเมินสมรรถนะของรถและความชำนาญของผู้ขับเอาไว้ให้ดี หากไม่มั่นใจแม้เพียงแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็เปลี่ยนไปใช้รถรับจ้างประจำท้องถิ่น อย่างที่ผมได้แนะนำเอาไว้จะปลอดภัยกว่าครับ


บทความดีๆ นำมาฝากจาก ไว้เจออะไรดีๆ จะมาแบ่งปันให้พี่น้องได้ฟังกันอีกนะครับ วันนี้แค่นี้ก่อน
http://www.bangkokbiznews.com
โดย : คุณพัฒนเดช อาสาสรรพกิจ

Honda Accord Plug-In Hybrid ตัวไฮบริดขึ้นชื่อประหยัดสุดในหมู่ซีดานที่อเมริกา

ตั้งแต่เปิดตัวออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการรถยนต์  Honda Accord  ใหม่ เป็นรถยนต์อีกรุ่นที่ได้รับการจับตามากพอสมควรในฐานะอีกหนึ่งซีดานกลางที่ ได้รับความนิยมทั่วโลก และในรุ่นใหม่ก็มาพร้อมทางเลือกเครื่องยนต์ไฮบริดและฮอนด้าการันตีเรื่อง ความประหยัดหลังผ่านการทดสอบอัตราประหยัดอย่างเป็นทางการ
                การขึ้นชื่อว่าเป็นรถยนต์ที่ประหยัด ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ล่าสุดรถ Honda Accord Plug-In Hybrid ก็สามารถพิชิตตำแหน่งนี้ไปไดด้วยอัตราประหยัด  115   MPGe สูงที่สุดที่ สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมหรือ  Environmental Protection Agency (EPA) เคยจัดอันดับมา โดยในมีอัตราประหยัด ในเมือง 19.7  กิโลเมตร/ลิตร ส่วนบนทางหลวงได้อัตราประหยัด 19.3  กิโลเมตร/ลิตร ซึ่งมีอัตราประหยัดเท่ากับอัตราเฉลี่ย
 Honda Accord Plug-In Hybrid
                ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้าสามารถใช้ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าได้ไกลถึง 13  ไมล์ (20.8 กิโลเมตร) นอกจากนี้  Honda Accord Plug-In Hybrid ยังเป็นรถยนต์ไฮบริดรุ่นแรกที่มีการปล่อยเสียต่ำมากจนสามารถขับในเลนพิเศษ ซึ่งทำไว้ให้เฉพาะสำหรับรถที่ขับขี่พร้อมผู้โดยสารหลายคน(คาร์พูล) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
                ทั้งนี้ Honda Accord Plug-In Hybrid มาพร้อมเครื่องยนต์ใหม่ล่าสุดในรหัส Earth  Dream  ขนาด  2.0  ลิตร i-Vtec  ทำงานในแบบ Atkinson Cycle คู่กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 6.7  กิโลวัตต์ ส่งกำลังไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่แบบลิเธียมไอออน และสามารถชาร์จไฟการใช้กำลังจากแรงเบรก regenerative braking ในการปั่นไฟฟ้าคืนสู่ระบบ
                สำหรับบ้านเรา  Honda Accord  คาดว่าจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงปีนี้ ส่วนรุ่นไฮบริดจะมาวางจำหน่ายหรือไม่ คงต้องคอยติดตามกันเมื่อมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
คารางเปรียบเทียบ อัตราประหยัด ของHonda Accord Plug-In
Model
EPA Combined
MPGe Rating
EPA Fuel Economy City/Highway/Combined
Honda Accord Plug-In
115 MPGe
47/46/46
Ford Fusion Energi Plug-In
100 MPGe
44/41/43
Chevy Volt
98 MPGe
35/40/37
Prius Plug-In
95 MPGe
51/49/50


เรื่องโดย ทีมงาน Sanook! Auto 

งานที่ต้องใช้ ออยล์คูลเลอร์

ออยล์คูลเลอร์ 

เป็นตัวแปลสำคัญสำหรับงานที่ต้องใช้น้ำมัน ออยล์คูลเลอร์มีส่วนช่วยทำให้ระดับความร้อนของน้ำมันอยู่ในระดับที่ดี ทำให้เครื่องจักร หรือเครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังมีอายุการใช้งานได้นานอีกด้วย

ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับบริษัทที่ ผลิตออยล์คูลเลอร์ ว่าออยล์คูลเลอร์มีไว้ใช้สำหรับอะไรบ้าง

คำตอบที่ได้ยาวเป็นหางว่าวเลย

ทั้งสำหรับงานไฮดรอลิคต่างๆ ที่ต้องใช้ออยล์คูลเลอร์เข้าไปช่วยระบายความร้อนในระบบ ซึ่งร้อนมากๆ ให้ลดความร้อนลงมาอยู่ในระดับที่ทำให้เครื่องยังมีแรงทำงานหนักๆต่อไปได้

งานพวกรถขุดเจาะ หรือรถสว่าน ที่ต้องให้น้ำมันไฮดรอลิค ซึ่งเช่นเคย ก็ต้องใช้ออยล์คูลเลอร์เข้าไปช่วย

ระบบการทำงานของรถทั่วไป เช่น พวกน้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่อง ซึ่ง ก็สามารถหาออยล์คูลเลอร์ลูกเล็กๆ เข้าไปติดตั้งภายในห้องเครื่อง เพื่อช่วยในการลดความร้อนของน้ำมันส่วนต่างๆได้เป็นอย่างดี

และรายละเอียดที่คุยต่างๆ อีกมากมาย ถ้าท่านใดสนใจ อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองโทรเข้าไปคุย หรือ ไปที่บริษัท เขาได้เลย ไปพูดคุย ขอคำปรึกษาได้ เป็นกันเองมากๆ

อ๋อ ลืม ให้เบอร์ไว้ 086 345 2995 ชื่อบริษัท ชลประสิทธิ์ กรุ๊ป จำกัด

หรือเข้าไปที่ website : http://www.ccrthailand.com

ขอบคุณครับ