Showing posts with label Radiator. Show all posts
Showing posts with label Radiator. Show all posts

หม้อน้ำคืออะไร มีไว้ทำอะไร

หม้อน้ำคืออะไร?

   หม้อน้ำคือตัวแลกเปลี่ยนความร้อน ใช้ในการระบายพลังงานความร้อนจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง เพื่อจะทำช่วยในการทำให้ระบบเย็นลง หรือ ร้อนขึ้น แล้วแต่ระบบนั้นๆจะใช้งาน หลักๆแล้วหม้อน้ำจะใช้กับ
  1. อุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น หม้อน้ำด้านหน้ารถยนต์ รถบบรทุก รถประจำทาง รถมอเตอร์ไซค์ 
  2. ตัวอาคาร เช่นการใช้งานในส่วนของเครื่องปั่นไฟ ซึ่งแล้วแต่ตัวขนาดอาคารว่าเล็กหรือใหญ่ และจะใช้ขนาดของเครื่องปั่นไฟที่แตกต่างกันไป หรือ ในกรณีที่ต่างประเทศ หม้อน้ำจะใช้ในการทำความร้อนให้กับตัวอาคาร ในช่วงฤดูหนาว
  3. ระบบอีเลคทรอนิค เช่น หม้อน้ำในระบบระบายความร้อนของน้ำจากหัวเครื่องเชื่อม หรือการระบายความร้อนในระบบอีเลคทรอนิค ที่มีการใช้การประมวลผลมากๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนมาก และการใช้แค่อากาศนั้นไม่เพียงพอสำหรับการทำความเย็นให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยกับตัวระบบ จึงต้องน้ำหม้อน้ำและปั้มน้ำเข้ามาช่วยในการระบายความร้อนของระบบ

หม้อน้ำมอเตอร์ไซค์ CPS
ตัวอย่างหม้อน้ำที่ติดอยู่ด้านหน้ารถมอเตอร์ไซค์
หม้อน้ำขนาดใหญ่ สำหรับเครื่องปั่นไฟ CPS
หม้อน้ำสำหรับเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่


หม้อน้ำนั้นส่วนหนึ่งของการระบายความร้อน หรือทำความร้อนในสภาพแวดล้อมที่มันอยู่ ในที่นี้หมายถึงการใช้หม้อน้ำในการช่วยทำให้สภาพแวดล้อมนั้นๆ ร้อนขึ้น หรือการทำให้ของเหลวหรือน้ำยาทำความเย็นที่อยู่ในตัวมัน เย็นลง เพื่อจะทำการระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ ตามชื่อมันแล้วในภาษาอังกฤษนั้น หม้อน้ำ หรือ radiator มันกับไม่ได้ทำงานตรงกับชื่อมันคือการไม่ได้ใช้หลัการแผ่รังสี (Radiation) แต่มันเป็นการแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยการสัมผัส (convection) ในที่นี้อาจจะหมายถึงการที่หม้อน้ำสัมผัสน้ำภายใน และระบายความร้อนออกมาสัมผัสกับอากาศภายนอก ซึ่งก็คือการแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดหนึ่งเหมือนกัน

ระบบการทำความร้อนหรือระบายความร้อนด้วยหม้อน้ำนั้น ถูกคิดค้นโดย Franz San Galli ซึ่งเป็นนักธุรกิจชาวรัสเซียที่เกิดในโปแลนด์ อาศัยอยู่ที่ เซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ในช่วงปี 1855 และ 1857

ด้านบนนี้เป็นข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับหม้อน้ำ เพื่อให้ทุกท่านได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ท่านได้ WOW ว้าว ไม่ส่วนใดก็ส่วนหนึ่งของเนื้อหานะครับ


เขียนโดย ธวัช สุธิรังกูร

หม้อนํ้า ปัญหาหม้อนํ้ารั่วซึม

หม้อนํ้า และปัญหาหม้อนํ้ารั่ว


ในอดีตรถยนต์รุ่นเก่าๆนั้น มีประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ตํ่า เครื่องยนต์มีขนาดเล็ก และแรงม้าน้อย
การระบายความร้อน
ด้วยอากาศ ก็นับว่าเพียงพอ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางวิศว-
กรรมยานยนต์มีความรุดหน้าอย่างรวดเร็ว เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูง แรงม้ามาก การระบายความ
ร้อนของเครื่องยนต์ก็ต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าเก่า



การระบายความร้อนด้วยนํ้า ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆดังต่อไปนี้ คือ

1. หม้อนํ้า
2. ท่อนํ้าเข้า - ออก/เข็มขัดรัด
3. ปั๊มนํ้า/สายพานปั๊มนํ้า
4. เทอร์โมสตาร์ท
ในส่วนของหม้อนํ้านั้นมีหน้าที่ คือ
1. เก็บและรวบรวมนํ้าในระบบ
2. สร้างความดันอากาศให้สูงกว่าความดันบรรยากาศ
3. ระบายความร้อนของนํ้าหล่อเย็น

ระบบการระบายความร้อนด้วยนํ้า คือ การใช้ปั๊มนํ้าสร้างแรงขับดันนํ้าเข้าสู่เครื่องยนต์ แล้วพาความ
ร้อนออกจากเครื่องยนต์ด้วยวิธีการ Heat Convection แล้วนํ้าก็จะออกจากเครื่องยนต์มาที่หม้อนํ้า
ซึ่งนํ้าตอนขาออกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าตอนก่อนเข้าเครื่อง นํ้าร้อนนี้ก็จะถูกถ่ายเทความร้อนให้กับ
อากาศภายนอกที่หม้อนํ้านั่นเอง เมื่อนํ้าหล่อเย็นมีการถ่ายเทความร้อนออกสู่บรรยาอากาศ ที่หม้อนํ้าแล้ว
ก็จะมีอุณหภูมิตํ่าลงอีกครั้ง แล้วก็หมุนเวียนเข้าสู่เครื่องยนต์อีกเพื่อถ่ายเทความร้อนเป็นวัฏจักร เครื่องยนต์ขณะทำงานมีอุณหภูมิบริเวณห้องเผาไหม้จะสูงถึงกว่า 100 องศาเซลเซียส แน่นอนว่านํ้าที่ออกจากเครื่องยนต์จะมี อุณหภูมิหลายร้อยองศา แต่ทำไมนํ้าในหม้อนํ้าจึงไม่เดือดและระเหยออกจากระบบ ถ้าคุณเคยต้มนํ้าในสภาวะความดันบรรยากาศปกติ นํ้าจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส แต่ถ้าคุณต้มนํ้าบนยอดเขาสูง ซึ่งมีความดันบรรยากาศตํ่ากว่าความดันบรรยากาศ ที่ระดับพื้นดิน จุดเดือดของนํ้าจะ
ตํ่ากว่า 100 องศาเซลเซียส (นํ้าเดือดเร็ว) แต่ถ้าคุณต้มนํ้าที่บรรยากาศสูงๆ จุดเดือดของนํ้าก็จะสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส (นํ้าเดือดช้า)จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ภายในหม้อนํ้าจะถูกออกแบบให้มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศหลายเท่า นํ้าหล่อเย็นในระบบจะมีอุณหภูมิขณะที่เครื่องยนต์ทำงานเกิน100 องศาเซลเซียส แต่จะไม่เดือด เพราะจุดเดือดของนํ้าก็จะสูงขึ้น ภายใต้ความดันบรรยากาศสูงๆ


เมื่อเราทราบแล้วว่าระบบระบายความร้อนด้วยนํ้านี้ อยู่ภายใต้สภาวะความกดดันสูงๆ ก็มีข้อควรระวัง คือ

1. อย่าเปิดฝาหม้อนํ้าขณะที่เครื่องยนต์ เพราะความดันสูง ภายในระบบจะดันนํ้าให้พุ่งออกมาสู่ความดันบรรยากาศ ทันทีที่เปิดฝาหม้อนํ้า
2. ท่อยางนำนํ้าเข้า - ออก ต้องขันแหวนรัดให้แน่นขึ้น มิฉะนั้นนํ้าจะรั่วซึมออกมา ควรขันในขณะที่เครื่องเย็น เพราะเหล็กและท่อยางจะหดตัว ทำให้ขันได้แน่นขึ้น
3. อย่าเติมนํ้ามากเกินปริมาณที่กำหนด เพราะนํ้าเดือดจะขยายตัวดันหม้อนํ้าแตกได้

หม้อนํ้ายุโรปมีความแตกต่างกับของรถญี่ปุ่นมาก ในรถญี่ปุ่นหม้อนํ้าจะมีถังพักนํ้าเป็นพลาสติกใสๆ เมื่อนํ้าในหม้อนํ้าเดือด ขยายตัวล้นออกมาก็จะมาอยู่ในถังพักนํ้าพลาสติกนี้ พอเครื่องยนต์เย็นหม้อนํ้าก็จะเกิดสูญญากาศดูดเอานํ้าจากถังพักนํ้าจนเต็ม ระบบเช่นเดิม ในรถยุโรป จะไม่มีถังพักนํ้าเช่นรถญี่ปุ่น แต่จะมีเพียงตัวหม้อนํ้าเท่านั้น ถ้าเติมนํ้ามากเกินกำหนดขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน นํ้าหล่อเย็นจะมีอุณหภูสูง และเกิดการขยายตัวดันหม้อนํ้าให้แตกได้ นอกจากนี้หม้อนํ้ารถยุโรปรุ่นใหม่จะทำจากอะลูมิเนียมแทน หม้อนํ้าแบบทองเหลือง ของรถทั่วๆไป เพราะหม้อนํ้าอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติในการถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่ามาก และมีนํ้าหนักเบาช่วยลดนํ้าหนักโดยรวมของรถลงได้และยังสามารถ Recycle ได้ แต่ก็มีข้อเสียก็คือ แตกง่าย การซ่อมแซมทำได้ยาก และมีราคาแพง เรื่องจุกจิกเกี่ยวกับหม้อนํ้านั้นก็มีเกิดขึ้นได้มากมายหลายสาเหตุ บางอาการก็ชวนปวดหัว หาสาเหตุรอยรั่วไม่เจอ บางคราวก็ยังทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัดจนเครื่องยนต์พังได้


การรั่วซึมตามจุดต่างๆ เช่น

1. ท่อยางต่างๆ ตามรอยต่อ ซึ่งรัดเข็มขัดไม่แน่น
2. ท่อยางแตก
3. ปะเก็นปั๊มนํ้า
4. รังผึ้งหม้อนํ้า
5. น๊อตถ่ายนํ้า
ตามจุดต่างๆ ที่กล่าวมานี้ สามารถตรวจสอบได้ง่าย โดยใช้ Radiator Tester ซึ่งจะเป็นตัวสร้างความดันให้กับระบบหล่อเย็น เมื่อระบบหล่อเย็นมีความดันสูงขึ้นนํ้าก็จะพุ่งฉีดออกมาตามรอยต่อรอยรั่ว ให้มองเห็นได้ชัดเจน หรือสังเกตจากคราบนํ้าที่เปื้อนอยู่ตามจุดต่างๆ ด้วยสายตาได้ง่าย



การรั่วซึมบางจุดยากจะตรวจพบและต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมนาน เช่น

1. รอยรั่วที่เป็นตามดเล็กๆ บริเวณรังผึ้ง เมื่อเครื่องยนต์ร้อน และหม้อนํ้าร้อนขึ้น โลหะขยายตัว นํ้าจะรั่วออกมา ซึ่งจะมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเครื่องเย็นจะไม่รั่วเพราะโลหะเกิดการหดตัวกลับสู่สภาพปกติ ซึ่งข้อบกพร่องนี้จะไม่เป็นปัญหาใหญ่โตถึงขนาดทำให้ เครื่องยนต์ร้อนจัด แต่ผู้ใช้จะต้องเติมนํ้าบ่อยกว่ารถปกติ ซึ่งจะสร้างความรำคาญใจ และการใช้ Radiator Tester ตรวจสอบก็ยากที่จะหาสาเหตุนี้พบ
2. การรั่วซึมที่รังผึ้งของ Heater ระบบทำความร้อนภายในห้องโดยสาร (Heater) จะใช้นํ้าหล่อเย็นจากเครื่องยนต์เป็นตัวทำความร้อน ภายในห้องผู้โดยสาร ซึ่งถ้าระบบหล่อเย็นเกิดการรั่วซึมขึ้นที่รังผึ้งของ Heater การใช้ Radiator Tester ตรวจสอบก็จะไม่พบสาเหตุนี้ เพราะขณะทำการทดสอบด้วย Radiator Tester เราไม่ได้สตาร์ทเครื่อง และเปิด Heater ดังนั้นวาล์วนํ้าจะเปิดทำให้ Radiator Tester ไม่สามารถสร้างแรงดันเข้ามาถึงระบบของ Heater ที่เกิดการรั่วซึมได้ จึงหาสาเหตุนี้ได้ยาก แต่ก็สามารถสังเกตได้จากกลิ่นของนํ้ยาหล่อเย็น ซึ่งจะส่งกลิ่นของนํ้าหล่อเย็นออกมาในจังหวะที่เปิด Heater แต่รถที่ใช้นํ้าเปล่าๆ หล่อเย็นโดยไปเติมนํ้ายาหล่อเย็นหรือนํ้ายากันสนิทนี้ก็จะไม่ทราบถึงกลิ่น นี้ และหาสาเหตุตรงจุดนี้ไม่พบ
3. การรั่วซึมที่หม้อนํ้า บริเวณส่วนที่ติดกับห้องนํ้ามันเกียร์ ในรถยนต์รุ่นใหม่ ที่ใช้เกียร์อัตโนมัตินํ้ามันเกียร์อัตโนมัติ จะถูกส่งผ่านท่อมายังหม้อนํ้า ซึ่งจะแบ่งเป็นห้องสำหรับนํ้ามันเกียร์ไว้ส่วนหนึ่ง แล้วใช้นํ้าในหม้อนํ้าไหลผ่านผนังกั้นห้องนํ้ามันเกียร์ (ไปรวมตัวกับนํ้ามันเกียร์) แล้วทำให้นํ้ามันเกียร์เย็นลง เพื่อให้อายุการใช้งานของเกียร์และนํ้ามันเกียร์นานขึ้น ถ้าผนังกั้นห้องนํ้ามันเกียร์เกิดรอยรั่ว นํ้าก็จะเข้ารวมตัวกับนํ้ามันเกียร์ ทำให้นํ้าหล่อเย็นพร่องบ่อย และนํ้ามันเกียร์ก็จะเปลี่ยนจากสีปกติ คือ แดงทับทิมเป็นสีคล้ายชาเย็น เมื่อเกิดการรวมตัวกับนํ้าที่รั่วเข้ามา อันนี้สามารถรู้ได้จากการดูสีของนํ้ามันเกียร์เท่านั้นการใช้ Radiator Tester จะตรวจสอบไม่พบเพราะรอยรั่วอยู่บริเวณภายในหม้อนํ้า ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตา
4. การรั่วซึมที่ปะเก็นฝาสูบ ไม่สามารถใช้ Radiator Tester ตรวจสอบได้เพราะรอยรั่วไม่ได้อยู่ในบริเวณที่มองเห็นได้ด้วยตา แต่สาเหตุนี้นํ้าจะแห้งอย่างรวดเร็วและเครื่องยนต์จะร้อนจัด ถ้าเครื่องยนต์ร้อนจัดจนเครื่องดับ ให้ทิ้งไว้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ให้ดับเครื่องยนต์เสียก่อน จึงจะเดิมนํ้าเข้าไปได้ การเติมนํ้าขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัดทันที จะทำให้ฝาสูบโก่งได้ ซึ่งจะต้องเสียเวลาปาดฝาสูบใหม่ แทนที่จะแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนปะเก็นฝาสูบเพียงอย่างเดียวที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นข้อควรระวังและวิธีการบำรุงรักษาหม้อนํ้า รวมทั้งปัญหาจุกจิกต่างๆ ของหม้อนํ้าซึ่งถ้าเราแก้ไขอย่างถูกต้อง และมีความเข้าใจเพียงพอ การใช้รถก็จะไม่ใช้เรื่องจุกจิกกวนใจแต่อย่างใด โดยเฉพาะเรื่องหม้อนํ้าที่หลายๆ คนวิตกกังวลกันอยู่ขณะนี้


ข้อมูลดีๆที่อยากแบ่งปันให้พี่น้องได้เพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับหม้อน้ำครับ

หม้อน้ำทองแดงทองเหลือง กัน หม้อน้ำอลูมิเนียม อันไหนดีกว่ากัน

หม้อน้ำในโลกเรานี้สำหรับ ใช้ในรถยนต์และอุตสาหกรรมต่างๆ นั้น เราจะใช้อยู่ไม่กี่รูปแบบ คือ หม้อน้ำที่ผลิตจากทองเหลืองทองแดง และ หม้อน้ำอลูมิเนียม ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าอะไรมีดีกว่ากัน อย่างไร ขอเน้นสำหรับรถยนต์ก่อนนะครับ ส่วนพี่ๆท่านใด ต้องการทราบสำหรับเครื่องจักรกลต่างๆ รออีกสักหน่อยนะครับ

หม้อน้ำ
ตัวอย่างหม้อน้ำจาก โรงงานหม้อน้ำ ชลประสิทธิ์ กรุ๊ป จำกัด

ตารางเปรียบเทียบหม้อน้ำทองแดงทองเหลืองกับหม้อน้ำอลูมิเนียม


หม้อน้ำ ทองแดง ทองเหลือง หม้อน้ำ อลูมิเนียม
ความทนทาน ทนมากใช้งานได้หลายปี
เพราะมีตะกั่วเป็นตัวประสาน
ตามแนวบัดกรี
อายุการใช้งานสั้นกว่า
เพราะฝาบนล่างใช้แบบหนึบ
กับฝาบนล่างที่เป็นพลาสติก
จึงทำให้มีโอกาสรั่วซึม
และแตกได้สูง
ยกเว้นที่เป็นอลูมิเนียมทั้งใบ
แบบนั้นยังถือว่าดี ใช้ได้
รูปภาพ
การระบายความร้อน ระบายความร้อนได้ดี ระบายความร้อนได้ดีมาก
การซ่อมแซม
บำรุงรักษา
ง่ายและมีร้านซ่อมหม้อน้ำ
มากมายที่ซ่อมได้
ซ่อมไม่ได้ เปลี่ยนลูกใหม่อย่างเดียว
ราคา ถูกกว่า
ยกเว้นขนาดใหญ่ๆจะแพง
แพงกว่าในรุ่นปรกติ

จากตารางด้านบนนี้เป็นเพียงความคิดเห็นของผมเอง ซึ่งเป็นผู้ผลิตทั้งหม้อน้ำอลูมิเนียมและหม้อน้ำทองแดงทองเหลือง ก็แล้วแต่ว่าคุณๆท่านๆจะชอบแบบไหน

ใครที่ชอบเดิมๆแบบของศูนย์ก็เข้าศูนย์เปลี่ยนครับ แต่ถ้าใครเน้นประหยัดๆหน่อยก็ใช้หม้อน้ำทองเหลืองทองแดง เพราะเวลามีปัญหา หรือรั่วซึม ก็จะได้เข้าร้านหม้อน้ำที่มีอยู่ทั้วประเทศ ซ่อมให้ได้สบายมากใช้เวลาก็ไม่นาน (ถ้ามีของอยู่) จะเป็นการเปลี่ยนเฉพาะรังผึ้งหม้อน้ำก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งใบ แต่อย่าลืมมองหา หม้อน้ำยี่ห้อ CPS นะครับ อันนี้แตกต่างเพราะว่า หม้อน้ำทองแดงทั้วไปจะเคลือบดีบุกหรือตะกั่วแค่ด้านนอกของท่อน้ำ แต่ของ CPS ท่อน้ำในหม้อน้ำจะเคลือบทั้งด้านในด้านนอก เหตุผล เพื่อจะช่วยกันการกัดกร่อนภายในท่อน้ำ ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น

Written by
Tawat Suthirangkoon

อยากซื้อรถ จะซื้อรถยี่ห้ออะไรดีน้า?

คำตอบที่ให้ได้ก็คงต้องบอกว่า ยี่ห้ออะไรก็ได้ เพราะแต่ละยี่ห้อนั้นก็จะมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น มิตซูบิชิ โตโยต้า ฮอนด้า มาสด้า นิสสัน ฟอร์ด อีซูซุ เชฟโลเล็ท เบนซ์ BMW วอลโว่ ฮุนได ออดี้ ซูซูกิ สโกด้า สมาทคาร์ ฯลฯ และอีกมากมายหลายยี่ห้อ ท่านก็เลือกเอาว่าท่านชอบรถยุโรป หรือรถเอเชีย ก่อนเลยเป็นอย่างแรก ถ้าอยากได้ถึกๆ แน่นๆ ไฮเทค โคตะระ ก็ยุโรปจัดไปได้ แต่ถ้าชอบความเร็ว เบาๆ ถูกๆหน่อย แต่วิ่งได้ แต่งได้เยอะ ก็ เอเชียไป หรือรถญี่ปุ่นนั้นเอง มาลองดูตัวอย่างจากยี่ห้อดังๆกันก่อนแล้วกันนะครับ ก็ลองๆอ่านดูนะครับ

  UPDATE ราคารถคนใช้เยอะ ลองเข้าไปดูกัน



ตัวอย่างแรก TOYOTA หรือ โตโยต้า โตโยต้า หวังว่าทุกท่านคงจะคุ้นกับตราสินค้านี้นะครับ ก็อย่างที่ทราบกันว่าเป็นยี่ห้อที่ซื้อสบายกระเป๋าไม่หนักจนเกินไป และเวลามีปัญหาที่ซ่อมก็เยอะเหมือน 7-11 อิอิ เว้อไปนิด แต่ก็ประมาณนั้น แถมเวลาคิดจะขาย ราคาก็ไม่ตกมาก เสียอยู่อย่างเดียวเพราะความที่มันราคาถูกมาก จึงทำให้ท่านนักธุรกิจบนท้องถนน นำรถโตโยต้านี้มาทำเป็นพี่แท๊กซี่ซะเยอะเลย เช่นรถโตโยต้า vios ถ้าท่านอยู่ใน กรุงเทพฯ ก็คงพอจะเห็นภาพเดียวกับที่ผมได้กล่าวไป แต่อย่างไรก็ดี สำหรับท่านๆที่อยู่ต่างจังหวัดและยังคงมองหารถที่ราคาไม่สูงมาก และใช้บรรทุกของเยอะๆ ก็ยังพอไหวครับ (แต่อย่าขับเร็วนะ น่ากลัว ^^) สำหรับรถกระบะโตโยต้าวีโก้

อ๋ออีกอย่างครับบล็อกนี้เกี่ยวกับหม้อน้ำจะไม่พูดถึงเลยคงจะไม่ได้ สำหรับหม้อน้ำโตโยต้าแล้วนั้น ก็อย่างที่ได้ชี้แจงไปแล้ว ไม่ว่าท่านจะไปเข้าศูนย์ หรือซ่อมตามร้านซ่อมหม้อน้ำ ด้วยรถโตโยต้าเป็นรถตลาดจึงทำให้ราคาหม้อน้ำและอะไหล่ต่างๆไม่แพง จะว่าถูกเลยก็ว่าได้ แต่ก็แล้วแต่จะเลือกนะครับ มีตั้งแต่ถูกม๊ากๆๆ (คุณภาพต่ำ) ไปจนถึงคุณภาพขั้นเทพ จะทำด้วยทองเหลืองทองแดง หรือ อลูมิเนียมก็แล้วแต่ถนัดเลยครับ ไว้ผมจะพูดเรื่องหม้อน้ำสองชนิดนี้ให้ฟังอีกทีครับ

 ยี่ห้อต่อไป MITSUBISHI หรือ มิตซูบิชิ มิตซูบิชิ เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ไม่พูดถึงก็คงไม่ได้ ถึงแม้พี่แกจะแพงไปหน่อยในสายรถญี่ปุ่น เป็นอีกหนึ่งยี่ห้อที่ถ้าท่านมองหารถที่ตัวถังแข็ง ทรงตัวดี แรงพอตัว และไม่ค่อยมีคนนำไปทำเป็นพี่แท๊กสักเท่าไหร่ เพราะค่อนข้างแพง เมื่อนำมาเทียบกับรถโตโยต้า ส่วนข้อเสียเด่นเลยของรถมิตซู คือ เมื่อขายราคาจะตกเยอะ เพระาคนไม่ค่อยเล่นกัน ถ้าจะเล่นจริงๆก็จะเป็นตัวเก่าๆที่นำมาลงเครื่องใหม่กันและก็แต่งให้เป็น อีโว(EVO) ซะ

ส่วนเรื่องหม้อน้ำของรถมิตซู ก็ไม่ต้องพูดถึง แพงกว่าของรถยี่ห้ออื่นๆแน่นอนถึงแม้ว่าจะขนาดเท่าๆกัน(อันนี้คือในกรณีที่เอารถเข้าศูนย์นะ แต่ถ้าซ่อมตามร้านหม้อน้ำทั่วๆไปก็ไม่ต่างกันมาก)

ต่อมา หรู ดูไฮไปอีกแบบ นั่นคือ HONDA หรือ ฮอนด้า ฮอนด้า เป็นอีกยี่ห้อที่พูดได้ว่า ซื้อง่ายขายได้ราคาดี แต่เมื่อมีปัญหา หรือเสียที่ก็เข้าศูนย์โลด เพราะข้างนอกหาอะไหล่ยากหน่อย ไม่ค่อยมีคนขายในท้องตลาด แต่อย่าพึ่งตกใจไปนะ เข้าศูนย์ฮอนด้า ไม่น่ากลัวอย่างที่เราๆท่านๆคิดอีกต่อไป เขาได้พัฒนาแล้วนิ มีการปรับราคาจนเกือบจะถูกที่สุดในบรรดารถญี่ปุ่น (ถ้าได้เทียบราคาอะไหล่แท้ของห้างด้วยกัน)

ยกตัวอย่าง รถ HONDA JAZZ กับพี่ใหญ่ ACCORD โฉมปัจจุบันกันทั้งคู่นะ ตามด้านล่างนี้เลย




JAZZ ราคา/บาทACCORD ราคา/บาท
ไฟหน้าทั้งโคม1,659(โคมใส)
1,755 (โคมสีเดียวกับตัวรถ)
* 3,788 (ฮาโลเจน)
**10,165 (HID โคมใส)
***12,466 (HID โคมดำ)
ไฟท้ายทั้งโคม1,5942,996
กันชนหน้า2,354 (เครื่องยนต์ IDSI)
2,461 (เครื่องยนต์ V TEC)
3,745
ฝากระโปรงหน้า3,4248,121

เป็นอย่างไรบ้างครับกับราคา คงจะไม่ทำให้ท่านตัวเบามากนะ เพราะมันไม่ได้แพงอย่างที่คิด

ส่วนเรื่องหม้อน้ำนั้นก็เช่นกัน ถ้าท่านเข้าศูนย์ก็หนักหน่อย แต่ถ้าหาหม้อน้ำฮอนด้าตามร้านซ่อมหรือสั่งทำหม้อน้ำจากโรงงานโดยตรงก็จะประหยัดกว่าเยอะเลยทีเดียว

ส่วนรถฝั่งยุโรปนั้นก็คล้ายกันคือ...

สมรรถนะดี เกาะถนนขั้นเทพ ชอบอากาศเย็นๆ (บ้านเราก็ต้องรอหน้าหนาวสักปี)
และตรงนี้ต้องยกเครดิตให้กับเขาไปเต็มๆ เลย ตรงที่
ความโก้มักเป็นต่อ ความหล่อไม่เป็นรองใคร
อายุการใช้งานก็ทนทานมาก และเน้นความปลอดภัยสูงสุด
สวยหรู ดูดี มีชาติตระกูล ขับแล้วดู อินเตอร์ขึ้นมาเลยที่เดียว

แต่อย่าพูดถึงเรื่องขายต่อ รับรองได้ว่ารับไม่ได้แน่นอน เพราะราคาจะรุดยาวเลยครับพี่น้อง

และสำหรับงานหม้อน้ำ ก็ตามยี่ห้อเลย เมื่อรถหรู หม้อน้ำก็จะแพงไปด้วย มันวิ่งตามกับไป เพราะเหตุที่ว่ารถขายน้อย ทำให้ผลิตน้อย และเมื่อผลิตน้อยก็ ทำให้ราคาวิ่งสูงไปด้วย

ไว้ว่ากันต่อในหัวข้อนี้ หวังว่าทุกท่านจะพอได้ความรู้ไปบ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ ขอบคุณครับ ที่อ่านจนจบ


เขียนโดย
ธวัช สุธิรังกูร