ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง จะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแบบไหนดี / engine oil

รถคุณเหมาะกับน้ำมันเครื่องแบบไหน?
น้ำมันเครื่องแบบไหน เหมาะกับรถคุณนะ

ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง จะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแบบไหนดี


      น้ำมันเครื่องที่อยู่ในระบบเครื่องยนต์ของรถคุณนั้น มีหน้าที่ดูแลชิ้นส่วนโลหะต่างๆภายในเครื่องยนต์ ระบายความร้อนกระบอกสูบ และส่วนต่างๆ ลดการเสียดสี เวลาเดินเครื่อง เพื่อให้อายุการใช้งานของเครื่องยนต์ยาวนานขึ้น และเดินเครื่องไม่ติดขัด ลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ ยังช่วยเคลือบช่องว่างระหว่างผิวสัมผัส ช่วยทำความสะอาดเขม่าที่เกิดจากการจุดระเบิดภายในกระบอกสูบ และเศษโลหะที่อาจหลุดจากผนังภายใน ป้องกันกำลังอัดของเครื่องยนต์รั่วไหลภายในเครื่องยนต์ ที่สำคัญป้องกันการกัดกร่อนจากสนิม และกรดต่างๆ ถ้าหากคุณใช้น้ำมันเครื่องที่ดีมีคุณภาพสูง และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเป็นประจำตามกำหนดระยะทาง หรือเวลา จะช่วยให้ยืดอายุการทำงานของเครื่องยนต์ได้นานขึ้น โดยคุณสามารถเลือกใช้น้ำมันเครื่องได้ดังนี้
น้ำมันเครื่องที่คุ้นเคยตามการใช้งานมี 3 ชนิด

       1. น้ำมันเครื่องชนิดธรรมดา มีระยะเวลาใช้งานประมาณ 4,000 กิโลเมตร
       2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ มีระยะเวลาใช้งานประมาณ 7,000 กิโลเมตร
       3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ มีระยะเวลาใช้งานประมาณ 10,000 กิโลเมตร

ตัวอย่างการเลือกซื้อ เช่น รหัส 5w - 30

       ตัวเลข 5w หมายถึงค่าความข้นใส การทนต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็น ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งทนได้มากขึ้น และตัวเลขมากจะเหมาะสำหรับอุณหภูมิสูงๆ ครับ

       ตัวเลข 30 หมายถึงค่าความหนืด ยิ่งน้อย ยิ่งมีความหนืดน้อย หรือลื่นมากนั่นเอง ถ้าหากรถคุณมีอาการกินน้ำมันเครื่องจากการใช้เครื่องยนต์หนัก หรือเครื่องยนต์มีอายุมาก ก็ให้เพิ่มเลขท้ายเป็นเบอร์ 40-50 ได้เลย เพื่อเพิ่มความหนืดน้ำมันเครื่อง ป้องกันการรั่วของกำลังอัด สำหรับอากาศประเทศไทยให้ดูเลขท้ายน้ำมันเครื่องเป็นหลักครับ

เกรดน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน


       สังเกตตัวอักษร S คือ เครื่องยนต์เบนซิน ตามหลังคำว่า API และจะนำหน้าเกรดของน้ำมันเครื่องนั้นๆ ซึ่งจะเรียงลำดับจาก เกรดที่ต่ำสุด-เกรดที่สูงสุด เช่น น้ำมันเครื่องตัวนี้ระบุเกรด L ตัวอักษรข้างกระป๋องก็จะระบุว่า API SL คือ S เครื่องเบนซิน เกรด L เป็นต้น

เกรดน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ ดีเซล


       สังเกตตัวอักษร C คือ เครื่องยนต์ดีเซล ตามหลังคำว่า API และจะนำหน้าเกรดของน้ำมันเครื่องนั้นๆ ซึ่งจะเรียงลำดับจากเกรดที่ต่ำสุด-เกรดที่สูงสุด เช่น น้ำมันเครื่องตัวนี้ระบุเกรด Lตัวอักษรข้างกระป๋องก็จะระบุว่า API CL คือ C เครื่องดีเซล เกรด L เป็นต้น

       สำหรับการถ่ายน้ำมันเครื่องไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก หากคุณใช้งานปกติก็บำรุงรักษาตามคู่มือรถได้เลย ส่วนจะเลือกถ่ายน้ำมันเครื่องที่ศูนย์บริการ หรือมีอู่ประจำก็เลือกได้ตามสะดวก ส่วนใครที่มีความเป็นช่างก็สามารถเปลี่ยนถ่ายเองได้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก อย่าลืมน้ำมันเครื่องเก่าเอาไปขายได้นะครับ

ขอบคุณบทความดีๆ จาก sanook.com
สนับสนุนเนื้อหาSilkspan - จะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแบบไหนดี